Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/765
Title: การจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของภาคชนบท และชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: สุระ, ดร.กาญจนา
SURA, Dr.KANCHANA
Keywords: การจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์
เชียงใหม่
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การศึกษาเรื่อง การจัดการการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการการเรียนรู้ในการสร้างความสำเร็จต่อการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่และการถอดองค์ความรู้ความสำเร็จในการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ การจัดการการเรียนรู้ในการถอดองค์ความรู้ของทรัพยากรมนุษย์ในท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างทีมวิจัย ทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาและชุมชนเป้าหมายที่เป็นต้นแบบจำนวน 10 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การบริหารจัดการและภาวะการนำในการถอดองค์ความรู้จากความสำเร็จของโครงการวิจัยในปี พ.ศ.2552 ที่ผ่านมา ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาได้แก่ นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและตัวแทนของชุมชนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการการจัดการเรียนรู้ในการสร้างความสำเร็จต่อการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ของชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ประกอบไปด้วย 1) การเรียนรู้ในการวิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง 2) การเสาะแสวงหาความรู้ 3) การนำเอาความรู้ที่ได้รับไปทดลองใช้และปฏิบัติจริง 4) การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อต่อยอดการพัฒนาศักยภาพของตนเอง สำหรับในส่วนขององค์ความรู้ที่สร้างความสำเร็จในการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประกอบไปด้วย 1) ศักยภาพ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์เดิมของบุคคล 2) การติดต่อสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 3) การนำของผู้นำและการคิดนอกกรอบ และ 4) การบริหารจัดการโดยทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาของชุมชนต้นแบบได้นำเอาองค์ความรู้ปรับประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานและก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของตนเองทั้งทางด้านทักษะ ความรู้ความสามารถและจิตใจอันก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจในส่วนของการเกษตร การท่องเที่ยวและในส่วนของด้านสังคมได้แก่ การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาสุขภาวะอนามัยและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
Description: Learning management to increase the potential capacity of human resource for enhancing local community in Chiang Mai has the objective to study learning management process that make the achievement for human resource and distill the body of knowledge of the success in enhancing the potential capacity of human resource. Participatory action research was conducted among researchers, experts and human resources who are the representative from 10 best practice of local organizations and 10 leaders from local communities who play important role to develop the socio-economic in communities. Participatory learning management and leading are the important concept to distill the body of knowledge for the success of development of the potential capacity of human resource. The study was that the process of learning management to create the success for increasing the potential capacity of human resource in Chiang Mai local communities consisted of 1) learning to analyze their potential capacity; 2) to search for knowledge 3) applying knowledge to practice and operate; and 4) continuing their learning to enlarge the development their potential capacity. Concerning the body of knowledge that create the success for increasing the potential capacity of human resource are 1) their potential capacity, knowledge, ability and experience; 2) their participatory communication; 3) their leading and creative thinking; 4) management. All of the human resources from 10 best practice of local communities applied the body of knowledge for their work so that it can enhance their potential capacity in thinking, skill, ability and minds. These create the socio-economic development in agriculture, local wisdom, hygiene and environment and the conservation as well as the development of natural resources in communities.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/765
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)417.27 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)388.61 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)466.08 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)456.04 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)592.34 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)416.43 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)788.09 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)447.89 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)428.92 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)396.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.