กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1273
ชื่อเรื่อง: แนวทางการสร้างเครือข่ายการให้บริการช่วยเหลือสนับสนุน นักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรินทร์, ยอดคำแปง
คำสำคัญ: แนวทางการสร้างเครือข่าย
บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษา
พิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการสร้างเครือข่ายการให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระบบการให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการสร้างเครือข่ายการให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) มีการเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานโยตรง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ได้แก่ นักศึกษาที่มีความพิการ ผู้อำนวยการ (หัวหน้า) ศูนย์ช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวม ผู้ให้การบริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการ และอาสาสมัครช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวม จำนวนทั้งสิ้น 64 คน จากมหาวิทยาลัยที่มีศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวม จำนวน 16 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจุบันได้เน้นการบริการระดับมหาวิทยาลัยเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เกิดความแออัด ในศูนย์บริการระดับมหาวิทยาลัย มีแนวโน้มในด้านการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดาเนินการจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มเงินบำรุงของศูนย์บริการระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังพบว่าการจัดการสนับสนุนนี้ไม่สม่ำเสมอในแต่ละศูนย์บริการระดับมหาวิทยาลัย และแตกต่างกันในแต่ละศูนย์บริการระดับมหาวิทยาลัย 2) ระบบบริการเป็นระบบที่จัดบริการในด้านการส่งเสริม การช่วยเหลือ การสนับสนุน และการฟื้นฟูสภาพอย่างผสมผสานแก่นักศึกษาที่มีความพิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีหน้าที่กำกับดูแลให้ระบบมีความเป็นธรรมทั่วถึง มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งระบบบริการประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ ซึ่งแต่ละระบบมีความเกี่ยวเนื่อง และสัมพันธ์กัน การที่ภาครัฐจัดให้มีบริการหลายระดับ ทำให้โอกาสในการเข้าถึงบริการที่มีความซับซ้อนที่จัดโดยบริการในระดับที่สูงขึ้นลดลง ซึ่งข้อเท็จจริง คือ บริการแต่ละระดับเชื่อมโยงกันด้วยระบบส่งต่อ (Referral System) หากระบบส่งต่อมีประสิทธิภาพ ปัญหาการเข้าถึงบริการในระดับที่สูงขึ้นก็จะหมดไป ระบบบริการจึงสามารถจัดแบ่งได้หลายระดับ โดยในแต่ละระดับจะมีจำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบแตกต่างกัน มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน และเชื่อมโยงกันด้วยระบบส่งต่อ เพื่อให้สามารถจัดบริการที่ให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3) ปัจจุบันมีความจำเป็นในการพัฒนาการจัดระบบในรูปแบบเครือข่าย แทนการขยายศูนย์บริการนักศึกษาที่มีความพิการ โดยใช้หลักการที่สามารถเชื่อมโยงบริการเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามสภาพข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ และการคมนาคม โดยไม่มีเส้นแบ่งของการปกครอง หรือการแบ่งเขตบริการเป็นตัวขวางกั้น ทั้งนี้ในการพัฒนาศูนย์บริการนักศึกษาพิการต่าง ๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายบริการ เพื่อให้ศูนย์บริการนักศึกษาพิการแต่ละแห่งเติบโตอย่างมีทิศทาง มีภารกิจ หน้าที่ชัดเจน มีจังหวะก้าว และเกื้อหนุนซึ่งกันและกันภายในเครือข่าย ซึ่งศูนย์บริการนักศึกษาพิการแม่ข่าย ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด โรงเรียนการศึกษาพิเศษ เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร ร่วมทั้งเครือข่ายภาคีมีภาระในการพัฒนาการให้บริการร่วม คือ ด้านการส่งเสริม ด้านการช่วยเหลือ ด้านการสนับสนุน ด้านการฟื้นฟูสภาพ
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1273
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
cover.pdfcover528.28 kBAdobe PDFดู/เปิด
abstract.pdfAbstract388.31 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent393.6 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-1.pdfChapter-1544.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-2.pdfChapter-21.99 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-3.pdfChapter-3532.01 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-4.pdfChapter-4498.33 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-5.pdfChapter-5606.74 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography695.56 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix560.99 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น