Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/638
Title: บทบาทของสื่อชุมชนในการจัดการความรู้ของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The study into roles of community media in managing knowledge of community
Authors: วัฒนสิน, สุปราณี
Wattanasin, Supranee
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The study into roles of community media in managing knowledge of community aimed at studying pattern of activities in managing knowledge of community, government agencies, and private agencies concerned to take part in holding activities in managing knowledge of one’s own community and could build learning community and expand to be networks among communities with the researching issues in that the community media would be able to play roles in learning process and managing knowledge and changing to create knowledge that helps community to have happiness with the purpose to understand working procedures, methods of managing knowledge to community in best-practice communities including Sri Suwan Temple Community, and Hua Phai Community by studying procedure in managing knowledge and studying factors and conditions and roles of community media in the process of managing knowledge and implementing obtained pattern in trial community that was Ta Satoy Community. This study had stages in studying that were synthesis of knowledge concerned with learning procedures and conditions and factors concerned with managing knowledge, especially community media as a managing tool as follows: Stage 1 Understanding working procedures, methods of managing knowledge to community in best-practice communities including conditions of community media in determining procedures for managing knowledge to the community to be strong in various issues such as community business, social welfare, and intellect. Stage 2 Taking action to develop procedure, working method, and bringing local media to use in managing knowledge for the trial community by stimulating thoughts within the community and concerned agencies. It was found from the study that community media played a role in procedures for seeking for knowledge, creating knowledge, transferring knowledge and application in terms of message sender and message receiver, and being intermediate in building cooperation in community and community media including individual media, forum for talking and exchanging knowledge; the community radio would be driving force to stimulate the consciousness and to be a forum for the community to learn to manage media as a message sender and message sender to be consistent with community’s requirements and to have a chance that the message receiver would respond in all procedures of communication procedures.
Description: การศึกษาเรื่อง บทบาทของของสื่อชุมชนในการจัดการความรู้ของชุมชนในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมในการจัดการความรู้ในชุมชน และบทบาทของสื่อสาร สื่อชุมชนในฐานะเป็นเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน กลุ่มองค์กรในชุมชน หน่วยงานราชการ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วม เป็นเจ้าของกิจกรรมในการจัดการความรู้ในพื้นที่ชุมชนของตนเอง และสามารถสร้างให้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และขยายเป็นเครือข่ายระหว่างชุมชน โดยมีประเด็นคำถามวิจัยว่าสื่อชุมชนจะสามารถบทบาทในกระบวนการเรียนรู้ จัดการความรู้ดังกล่าว และเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ช่วยให้ชุมชนเกิดความสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ทำความเข้าใจกับกระบวนการทำงาน วิธีการในการจัดการความรู้กับชุมชน ในชุมชนตัวอย่าง (Best Practice) ได้แก่ ชุมชนวัดศรีสุพรรณ และชุมชนหัวฝาย โดยศึกษากระบวนการ ในการจัดการความรู้ และศึกษาปัจจัย และเงื่อนไข บทบาทของสื่อชุมชน ในกระบวนการ การจัดการความรู้ และนำรูปแบบที่ได้ไปปฏิบัติในชุมชนทดลอง ได้แก่ ชุมชนท่าสะต๋อย การศึกษาครั้งนี้มีขั้นตอนในการศึกษาคือการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน การเรียนรู้ และเงื่อนไขปัจจัยที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ โดยเฉพาะสื่อชุมชนในฐานะเป็นเครื่องมือในการจัดการ ดังนี้ ระยะที่ 1 ทำความเข้าใจกับกระบวนการทำงาน วิธีการในการจัดการความรู้กับชุมชน ในชุมชนตัวอย่าง (Best Practice) รวมทั้งเงื่อนไข ของสื่อชุมชน ในการกำหนดกระบวนการ การจัดการ ความรู้ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในประเด็น ต่างๆ อาทิ ธุรกิจชุมชน สวัสดิการสังคม และภูมิปัญญา ระยะที่ 2 ปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนการ วิธีการทำงาน การนำสื่อท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการความรู้กับชุมชนทดลอง โดยการจุดประกายความคิดภายในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าสื่อชุมชนมีบทบาทใน กระบวนการการแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ของการเป็นผู้ส่งสาร และผู้รับสาร อีกทั้งยังเป็นตัวกลาง ในการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในชุมชน สื่อชุมชนไม่ว่าจะเป็น สื่อบุคคล เวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิทยุชุมชน ก็จะเป็นตัวขับเคลื่อน กระตุ้นให้เกิดสำนึก และเป็นเวทีให้ชุมชนสามารถเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการ สื่อในฐานะเป็นผู้ส่งสาร และผู้รับสารได้ อย่างตรงกับความสอดคล้องต้องการของชุมชน และมีโอกาสที่ผู้รับสารจะโต้ตอบกลับมาได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/638
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)526.07 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)472.87 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)474.61 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)441.05 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)750 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)798.73 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)527.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)584.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-6.pdfChapter-6 (บทที่6)442.25 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)429.7 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)808.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.