Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1958
Title: รูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้
Other Titles: Model of Developing Disability Support Service Provider In Higher Education Using Self Directed Learning And Knowledge Management Process
Authors: สุรินทร์, ยอดคำแปง
Keywords: การให้บริการช่วยเหลือสนับสนุน
บุคคลที่มีความพิการ
การศึกษาพิเศษ
การเรียนรวม
อุดมศึกษา
Disabilities Support Services
Persons with disabilities
Special Education
Inclusive Education
Higher Education
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ 2) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับ อุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ ระเบียบวิธีวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดี่ยววัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group มีวิธีดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอนคือ 1) จัดทำกรอบคุณลักษณะผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และการจัดการความรู้ กรอบรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ 3) ตรวจสอบยืนยัน (Validation) คุณลักษณะผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และการจัดการความรู้ และรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ 4) ศึกษานำร่อง (Try Out) และ5) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ นำรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับ อุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ที่ปรับปรุงแล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา จำนวน 54 คน แยกกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คะแนนคุณลักษณะผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ระดับสูง จำนวน 18 คน กลุ่มที่ 2 คะแนนคุณลักษณะผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ระดับปานกลาง จำนวน 18 คน และกลุ่มที่ 3 คะแนนคุณลักษณะผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ระดับต่ำ จำนวน 18 คน สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า t-test ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ขั้นตอนสร้างรูปแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาลักษณะผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ของผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา จากผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการเรียนรู้ 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษากลุ่มกลาง รูปแบบเอส ดี เอล และ เค เอ็ม (SDL & KM Model) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ระบุประเด็นการเรียนรู้ วางแผนการเรียนรู้ ดำเนินการค้นคว้า สะท้อนคิด แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ 2) รูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษากลุ่มสูง รูปแบบเอส ดี เอล และ เค เอ็ม (SDL & KM Model) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ระบุประเด็นการเรียนรู้ วางแผนการเรียนรู้ ดำเนินการค้นคว้า แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ 2. ขั้นตอนประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลทุกครั้ง การเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ 0.50 วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และวิเคราะห์คะแนนลักษณะผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ของผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาก่อน และภายหลังเข้าร่วมโครงการด้วยสถิติ Paired samples t-test ผลการทดสอบพบว่า ผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษามีระดับคะแนนความรู้ภายหลังการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนความรู้ก่อนการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีคะแนนเฉลี่ยลักษณะผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ของผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาภายหลังการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อรูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้อยู่ในระดับมาก ผลจากการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาผู้ให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการความรู้ได้
Description: The research on model of developing disability support service providers in higher education using self directed learning and knowledge management process was aimed at 1) Create a model for developing of disability support service providers in higher education using self directed learning and knowledge management process. 2) Evaluating the efficiency of the model of developing disability support service providers in higher education using self directed learning and knowledge management process. This research was composed of 5 procedures. 1) Survey of literature relating to self directed learning and knowledge management process. The purposes of the survey were to build up a framework of aspects of self directed learning and knowledge management process. 2) To build up a model of developing disability support service providers in higher education using self directed learning and knowledge management process. 3) Validation, self directed learning feature and knowledge management and the model of developing disability support service providers in higher education using self directed learning and knowledge management process. 4) Try Out and 5) Evaluate the efficiency of the developing model of disability support service providers in higher education using self directed learning and knowledge management process. Implement the developing model of disability support service providers. Higher education by means of self directed learning and knowledge management process to be used as a sample of disability support service providers who work in the disability support service center in higher education. In the tertiary level, 54 people. The sample group was divided into 3 groups: group 1, self directed learning feature and high level knowledge management, 18 students, group 2, self directed learners and moderate knowledge management, 18 students, Group 3, Characteristics scores of 18 self directed learners and low level knowledge management, using a single group experimental design, first and last measure trials. Statistics for data analysis are median, interquartile range, Mean, Standard Deviation, t-test, statistical significance level at 0.01 level and using content analysis The research findings were as follows : 1. Step to create a pattern the objective is to set the framework for the development of disability support service providers at the tertiary level by using self directed learning and knowledge management. To develop the characteristics of self directed learning and knowledge management disability support service providers in higher education based on the results of the research, the learning styles are 2 types: 1) the development model of disability support service providers in higher education, intermediate groups SDL & KM Model, which consists of 6 learning activities, namely learning issues Learning plan conduct research, reflect, think, share, exchange knowledge and synthesize new knowledge. 2) The development model of in higher education. SDL & KM Model, which consists of 5 learning activities, namely learning issues Learning plan Conduct research, share knowledge exchange And synthesize new knowledge 2. The process of evaluating the efficiency of the development model of disability support service providers at the tertiary level by using self-directed learning and knowledge management. The researcher analyzes the effectiveness index every time. Learning is higher than the criteria of 0.50. Analyzing data comparing learning achievement and analyze the self directed learner characteristics and knowledge management of disability support service providers in higher education first And after joining the program with statistics, Paired samples t-test disability support service providers in the tertiary level, with a higher level of knowledge score after joining the project than the knowledge score before participating in the project. Which differed significantly at the level of 0.01, with the average score of self directed learners and knowledge management of disability support service providers in higher education after joining the average program higher than before joining the project Which is significantly different at the 0.01 level self and knowledge management are at a high level. The results of the research show that the model of development for disability support service providers in higher education by self directed learning methods and effective knowledge management. Can develop disability support service providers in higher education by self learning and knowledge management methods.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1958
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)542.82 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)389.9 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)549.06 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่ 1)442.24 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่ 2)1.55 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่ 3)879.44 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่ 4)2.45 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่ 5)457.95 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)647.96 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.