Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/730
Title: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมสาขากระดาษของจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Applied an Edict of a King in Sufficiency Economy to Inherit the Local Knowledge in the Field of Handicrafts in Chiang Mai Province, the Department of Paper Making
Authors: โสมดี, รองศาสตราจารย์อัญชลี
Somdee, Assoc. Prof. Aunchalee
Keywords: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมสาขากระดาษของจังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาสินค้าท้องถิ่นสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่น หัตถกรรมสาขางานกระดาษในจังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมสาขากระดาษ ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นระดับชุมชนระดับประเทศ สู่สากล โดยได้ทำการสุ่มตัวอย่างทังหมด 10 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า (1) จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 กลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองคิดเป็นร้อยละ 40 อำเภอสันกำแพงคิดเป็นร้อยละ 40 และอำเภอสันทรายคิดเป็น ร้อยละ 20 สำหรับวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่มาจากจากพ่อค้าคนกลาง หรือวัตถุดิบของศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง ( ไม้ไผ่ กระดาษสา ) คิดเป็นร้อยละ 30 การจัดซื้อวัตถุดิบ จากแหล่งผลิตภายในชุมชน วัตถุดิบที่จัดซื้อคือ ไม้ไผ่ จากบ้านถวาย กระดาษสา จากตำบลต้นเปา และแหล่งผลิตภายนอกชุมชน (ไม้ไผ่ จากจังหวัดแพร่) ซึ่งมีค่าร้อยละเท่ากันคือร้อยละ 10 การจ้างแรงงานเป็นการจ้างแรงงานของสมาชิกภายในชุมชนคิดเป็นร้อยละ 60 การจ้างแรงงานสมาชิกภายในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 50 และการใช้แรงงานของผู้ประกอบการเอง คิดเป็น ร้อยละ 30 ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการนิยมทำการผลิตมากที่สุดคือ โคมล้านนาคิดเป็นร้อยละ 60 ผลิตภัณฑ์ประเภทตุงคิดเป็นร้อยละ 50 ผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษคิดเป็นร้อยละ 40 ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทร่มและประเภทอื่น ๆ (สมุดโน้ต พัด ของที่ระลึก ถุงกระดาษ) คิดเป็นร้อยละ 20 สถานที่ในการปฏิบัติงานใช้บ้านของผู้ประกอบการเอง คิดเป็นร้อยละ 50 สถานที่ของผู้ว่าจ้าง (ศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง) และการใช้สถานที่ของกลุ่มในการปฏิบัติงาน (ศูนย์การเรียนรู้หัตถกรรมพื้นบ้านสล่าสันทราย) มีค่าร้อยละเท่ากันคือ คิดเป็นร้อยละ 20 การออกแบบผลิตภัณฑ์จะออกแบบเองทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 50 โดยยึดลวดลายของงานหัตถกรรมตามแบบล้านนาดั้งเดิม สำหรับการผลิตสินค้าตามแบบของผู้ว่าจ้าง และการออกแบบโดยคิดค้นหรือดัดแปลงผลงาน จากที่ได้พบเจอมานั้น คิดเป็นร้อยละ 40 ในการกำหนดราคาผู้ประกอบกำหนดราคาเอง โดยตั้งตามราคากลางของทางกลุ่ม ราคาของท้องตลาด คิดเป็นร้อยละ 40 ผู้ประกอบการมีการประชาสัมพันธ์ สินค้าผ่านทางงานแสดงสินค้าต่าง ๆ (งานแสดงสินค้า OTOP) คิดเป็นร้อยละ 40 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Face book คิดเป็นร้อยละ30 และช่องทางที่ใช้ในการจัดจำหน่ายสินค้าคือ ช่องทางในการจัดจำหน่ายโดยวิธีอื่น ๆ (ถนนคนเดิน งานแสดงสินค้าต่าง ๆ) คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาเป็น การจำหน่ายที่ร้านค้าของผู้ประกอบการเอง คิดเป็นร้อยละ 40 ส่วนการจัดจำหน่ายโดยการใช้ตัวแทนจำหน่าย ( พ่อค้าคนกลาง) คิดเป็นร้อยละ 10 การวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ SWOT Analysis ในการบริหารจัดการธุรกิจ พบว่า จุดแข็งของผู้ประกอบการคือ ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมานั้นมีรูปแบบ ลวดลายที่สวยงามในรูปแบบของแบบดั้งเดิม หรือสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ศิลปะการตัดฉลุกระดาษด้วยกรรไกร การทำตุงที่ใช้ประกอบพิธีกรรมงานมงคล ได้แก่ ตุงค่าคิง ตุงไส้หมู ตุงสิบสองราศี ตุงเจดีย์ชาย เป็นต้น ราคาของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับราคาท้องตลาด มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แน่นอน โดยผ่านการจำหน่ายร้านค้าของผู้ประกอบการ ตัวแทนจำหน่าย ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์ผ่านงานแสดงสินค้า สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดอ่อนของผู้ประกอบการที่พบเจอคือ ผู้ประกอบการบางรายขาดความรู้ในเรื่องการวางแผนการจัดการด้านการตลาด ผู้สืบทอดด้านหัตถกรรมสาขางานกระดาษลดน้อยลง และขาดแคลนแรงงานผลิตในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร ส่วนโอกาสในการทำธุรกิจหัตถกรรมสาขางานกระดาษคือ ปัจจุบันรัฐบาลให้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและ ขนาดย่อมอย่าจริงจัง ผู้นำท้องถิ่นให้การสนับสนุนด้านการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งผลทำให้ เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สำหรับอุปสรรคที่พบเจอของธุรกิจ คือ มีคู่แข่งแข่งขันในตลาดเดียวกันเป็นจำนวนมาก สภาพอากาศแปรปรวนที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต และปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น (2) วิเคราะห์ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จากการอบรมให้ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ประกอบการกลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 กลุ่ม ได้นำเอาหลักการดำเนินงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตถกรรมกระดาษ ประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี เช่น ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น มีความพอเพียง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เข้มแข็งอดทน มีคุณธรรม ไม่ก่อหนี้สิน สร้างความเจริญเติบโตให้กับท้องถิ่น ส่งผลให้การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขากระดาษของ จังหวัดเชียงใหม่ ให้อยู่คู่กับรุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป (3) ด้านการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเผยแพร่ด้วยการจัดนิทรรศการ ตามสถานที่สำคัญหลายแห่ง โดยเชิญสล่า หรือพ่อครูแม่ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสาธิตให้ความรู้และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ อีกทั้งให้ความรู้ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมสัมมนา ในด้านบริหารจัดการธุรกิจธุรกิจ การออกแบบการสร้างตราสินค้า ฯลฯ จากการจัดของคณะผู้วิจัย รวมทั้งประสานกลุ่มตัวอย่างให้เข้าร่วมอบรมสัมมนา กับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนจัดขึ้น ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างเหมาะสม ตลอดจน มีการประสานกับศูนย์ส่งเสริมการส่งออก หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการส่งออกเพื่อการจำหน่ายสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยให้ผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายเจรจา ด้านการค้าโดยตรง รวมทั้งได้ประสานศูนย์การเรียนรู้ตามหมู่บ้านเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ตลอดจนจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เพื่อเป็นฐานข้อมูล องค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรม งานกระดาษในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ สู่สากล
Description: The purpose of this study aims to inherit local wisdom of the Department of Paper Making by utilizing Qualitative Research Method together with Participatory Action Research Method, in which the research’s purposes aim to (1) study the context and potential of local wisdom of the Department of Paper Making in Chiang Mai province, (2) analyze the consistency of Self-Sufficiency Economy and local wisdom of the Department of Paper Making in Chiang Mai province, and (3) inherit the local wisdom knowledge of the Department of Paper Making in Chiang Mai province in order to publicize and broadcast in local level, communal level, and international level by performing research from sample groups in 4 districts in chiangmai district as follows; Hang Dong District, San Sai district, San Kamphaeng district, and Mueang Chiang Mai district. According to 10 sample groups, it is found that the entrepreneurs mostly reside in San Kamphaeng district (40%), then Mueang Chiang Mai district (40%) and San Sai district (20%) respectively. Most of raw materials and equipment are from customer or employer (30%); e.g. (bamboo paper) raw materials and equipment are from locality and outside of Chiang Mai province (10%); e.g. bamboo from Ban Tawai and Prae province village, sa paper from Tonpao village, etc. Employment is a labor within a family (50%) and community members (60%) and do it by yourself (30%). And product type are popularity such as: Lanna Lantern (60%), Tung Lanna (50%), Paper Product (40%), Lanna Paper Umbrella and etc (notebook, fan, souvenir, paper bag) (20%). Sample groups’ production place mostly manufactures in their home (50%) and the groups’ places (20%) (Bo - Sang Handicrafts Centre) or employers places (20%) (Sansai Handicrafts Learning Centre), The format of product is mostly designed by the group by using conventional format (50)%, or designed by employers (40%). On price fixing, entrepreneurs are persons who fix the price by considering from the principal of the neutrally of groups’ price (40%), Quality of product (0%), purchasing power (0%), and marketing demand (0%). Regarding to the product’s distribution channel and public relation, it is distributed by the product exhibitions (40%) (OTOP exhibition) , electronic media (30%) (Website), and distributed by exhibition (50%) (Sat – Sun Walking street), community’s stores (40%), and agency (10%). According to the analysis based on SWOT (SWOT analysis) in the Department of Paper Making business management, it was found that the strength of the business owner is inheriting the knowledge about Paper Making from their ancestors. The prices are suitable for the market and products are guaranteed by the government. For the problems found during the process, some entrepreneurs still lack of knowledge and understanding in principle of marketing management, and lack of ability of labor to produce product in harvest season. For the opportunity of performing the business, the governmental sector has supported SME (Small and Medium Enterprises) more. However, the obstacles where the entrepreneurs are facing currently are economic issue, political issue, and there are lots of competitors in the same market. (2) According to the analysis of the consistency in Self-Sufficiency Economy Philosophy and local wisdom inheritance on Paper Marking, all entrepreneurs have applied Self-Sufficiency Economy Philosophy to their business operation with current situation by applying attitudes of running sufficient and stable business as principle in running their business, so that the entrepreneurs will be able to carry on their business with sustainability. (3) In inheriting folk intellect, the publication is done by exhibition. Sa-La or skilled elder people are invited to teach and show their skills. Products are exhibited for sales. This increases income to the groups. The sample groups can also get knowledge by attending the seminar arranged by the researcher or the researcher can cooperate with the government and individual organization in arranging seminar. The sample groups can apply the knowledge gained in their business properly. There is cooperation with the export center, chamber of commerce and related organization’s in order to export products overseas and let the business owners have the opportunity in bartering and trading directly. There is also organizing advertising media such as vinyl board, printed media and electronic media which can be information databases for anyone who is interested. This is also for inheriting folk intellect and paper marking to locality, country and international level.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/730
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)113.95 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)475.95 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)635.78 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)549.71 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)1.68 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)1.11 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)687.67 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)1.64 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)855.42 kBAdobe PDFView/Open
Chapter7.pdfChapter-7 (บทที่7)614.72 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)718.59 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)764.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.