กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/652
ชื่อเรื่อง: การวัดมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์ชุมชนเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ภาคชนบท และชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คำใจ, กมลทิพย์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: Learning management to measure the value added of communities’ assets for developing economic and social of urban and rural of Chiang Mai has objective to create learning for local people in order to build the stability of communities’ assets management and also to know the value added gained from social and economic development under the main research project “Learning management for developing economic and social of rural and urban in Chiang Mai”. Participatory action research and learning management for managing communities’ assets were conducted in order to look for the potential and value added regarding social and economic with 42 sub-district administrative organizations from 18 districts in Chiang Mai based on four developmental plan of social and economic; economic, agriculture, tourism, social, education, hygienic and environment. The study was that communities could learn to build their own management stability in communities ‘assets, could analyze and look for the potential of communities regarding their own communities’ assets. They could understand the important value of communities’ assets particularly in human capital. As human capital is the main factor to drive for communities’ development, learning management to increase the potential of human capital for enhancing the economic and social of local communities is recommended by researchers. The guideline for learning management is to increase the skill for human capital particularly in self-reliance including building groups of human capital as well as to increase their potential in order to form group of human capital and enlarge to become the organizational network. The result of analyzing the value added of research project last year was that researchers could measure the value added in economic by using the indicators; “The achievement of income and the worthiness of finance”. This can increase the efficiency and effectiveness of the value of products and services for 48 percentages and 55 percentages consecutively. Concerning the social issue, people in local communities could have a better life. This can be measured from their physical and mental health particularly in their consciousness to participate in communities’ development, rendering love and unity to each other. This value is increased by 86 percentages because people are very satisfied with this learning in order to develop social and economic in their own communities.
รายละเอียด: การจัดการเรียนรู้เพื่อวัดมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์ชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาค ชนบทและชุมชนเมือง จ.เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่นในการ สร้างความมั่นคงด้านการจัดการสินทรัพย์ชุมชน อีกทั้งยังสามารถทราบถึงมูลค่าเพิ่มที่ได้จากการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินงานวิจัยชุดโครงการ “การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชนบทและชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่” ในปี2551 มีวิธีการศึกษา โดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) โดยใช้รูปแบบของการจัดการเรียนรู้ใน การจัดการสินทรัพย์ชุมชนเพื่อค้นหาศักยภาพและหามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมกับ กลุ่มเป้าหมาย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 42 แห่ง ใน 18 อำเภอ ทั่วจังหวัดเชียงใหม่ ตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ การเกษตร และการท่องเที่ยว ด้านสังคม ด้านการศึกษาและด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงด้านการจัดการ สินทรัพย์ชุมชนของตนเองได้เป็นอย่างดี ชุมชนสามารถวิเคราะห์และค้นหาศักยภาพของชุมชน เกี่ยวกับสินทรัพย์ของชุมชนที่มีอยู่ โดยเข้าใจถึงคุณค่าของสินทรัพย์ชุมชนที่สำคัญยิ่งคือ “ทุนบุคคล หรือทุนมนุษย์” นักวิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพิ่มเพิ่มศักยภาพของทุนบุคคล ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นอันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนนั้นต่อไป เพราะ ปัจจัยทุนบุคคลนี้เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนนั้นเอง แนวทางในการ จัดการเรียนรู้ได้แก่การเพิ่มทักษะของทุนบุคคลโดยเฉพาะในประเด็นของการพึ่งตนเอง รวมถึงการ สร้างกลุ่มทุนบุคคลและเพิ่มศักยภาพให้เป็นองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งจนเติบโตเป็นเครือข่ายองค์กรที่ ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน สำหรับผลการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของโครงการวิจัยที่ได้ดำเนินงานในปีที่ผ่านมา นักวิจัย สามารถวัดมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจด้วยตัวชี้วัด “ผลสัมฤทธิ์ทางรายได้และความคุ้มค่าทาง การเงิน” ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลถึง ร้อยละ 48 และร้อยละ 55 ตามลำดับ และในด้านสังคมนั้น ผลการศึกษาพบว่า ตัวชี้วัดมูลค่าเพิ่มทาง สังคมที่เพิ่มขึ้นคือ คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัดได้จากสุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิตของ คนในชุมชน โดยเฉพาะจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในลักษณะของความรักและ ความสามัคคีของคนในชุมชน มีค่าเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 86 ทั้งนี้เพราะคนในชุมชนมีความพึงพอใจ เป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ร่วมกันที่จะนำพาชุมชนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ของตนเอง
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/652
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover (ปก)423.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)387.67 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent (สารบัญ)401.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)438.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)560 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)474.25 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)537.19 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)702.17 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-6.pdfChapter-6 (บทที่6)819.15 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-7.pdfChapter-7 (บทที่7)438.84 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)441.72 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)1.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น