Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/609
Title: การวัดมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์ชุมชนเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ภาคชนบท และชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: คำใจ, กมลทิพย์
Kumjai, Kamolthip
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The study of cost and benefit of free pesticide agriculture in Chiang Mai is to analyze and find the conclusion of doing free pesticide agriculture under the sufficiency economy concept. The result of study is to know the information of social capital, importance of quantity and types of vegetables leading to analyze the cost and benefit of producing free pesticide agriculture, importance of quantity and types of vegetables base on sufficiency economy concept. Participatory action research was conducted between groups of agriculturists from 10 districts in Chiang Mai; Sarapee , Sanpathong, Hangdong, Sankampheng, Doisaket, Muang, Maerim, Maeteng, Phraow and Sansai districts joining in this project. The Office of Sarapee district agriculture, the Chiang Mai Provincial agricultural office, the Office of Hangdong district agriculture, the Chiang Mai Provincial Public Health Office and Multiple Cropping Center of Chiang Mai University also attended in this project. The second phase of study found that the value of cost and rewards from free pesticide agriculture by arranging the 33 square wa of demonstration area where 33 agriculturist plant 33 types of vegetables help us know the clear value of production cost and the rewards gain from 28 types of vegetables. The ratio of profit per the least income is equal to 4 percentages and the ration of profit per the highest income is equal to 66 percentages. Analyzing production cost and rewards for agriculturists was that price mechanism , cost mechanism regarding to production’ area, fix cost value, variable cost and total cost of free pesticide vegetables have significant relationship for the opposite side. If the production’s income is high, the rewards will be high. If the production’s income is low, the rewards will be low too. If the agriculturists know and use the advantage of price to make the production’ plan, they thereby can get the worthwhile rewards for the four months of production period and this can help them to make a yearly production plan and solve the problems of marketing. For the benefit of free pesticide agriculture’ s production, agriculturists have the skill for production plan, investment and profit, marketing, knowledge base in agriculture which is advantageous for their health and environment. Knowledge network and free pesticide vegetable marketing among agriculturist will be created. Regarding to the outcome, agriculturists have at least 300-500 baht additional income per day. This can also enlarge their knowledge base and local wisdom by watering, forking up the ground, get rid of plant disease and insect disease base on the natural balance system. As a result, it can help them to decrease the cost and adjust the environmental balance resulting to both the physical and mental health of producers and consumers in the long run. Rewards and benefit of free pesticide vegetable production emphasized in self-reliance and found that human capital is the most important for agriculturists. Agriculturists can learn and develop their ability in production base on their knowledge background integrated with knowledge and understanding in production plan. Suggestion for agriculturists are that lack of knowledge and understanding of agriculturists including the importance of management particularly in production plan plays the important role for enhancing knowledge base of agriculturists.
Description: การวิจัยเรื่อง “การศึกษาต้นทุนและผลสัมฤทธิ์ของการเกษตรปลอดสารพิษในจังหวัด เชียงใหม่” เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปของการทำการเกษตรปลอดสารพิษ ของเกษตรกร ภายใต้ฐานแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาสรุปผลการวิจัยได้ตามวัตถุประสงค์ คือ ทราบข้อมูลทุนทางสังคม ความสำคัญของปริมาณและชนิดของผักได้ที่ทำการผลิต เพื่อนำไปสู่ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลสัมฤทธิ์ของการผลิตผักปลอดสารพิษบนความพอเพียง โดยใช้วิธีวิจัย และพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ระหว่างเกษตรกรในชุมชน ที่ เข้าร่วมการวิจัยจากพื้นที่ 10 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอสารภี อำเภอสันป่าตอง อำเภอหางดง อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอเมือง อำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง อำเภอ พร้าว และอำเภอสันทราย นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานเกษตรอำเภอสารภี สำนักงานเกษตรอำเภอหางดง หน่วยงานภาคีระดับจังหวัด ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เชียงใหม่ สำ นักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผลการศึกษาในระยะที่สองนี้ พบว่ามูลค่าต้นทุนและผลตอบแทนจากการเกษตรผลิตผัก ปลอดสารพิษ กับการจัดทำแปลงสาธิตที่ปฏิบัติด้วยวิธีทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (จีเอพี) ของ เกษตรกร 33 ราย กับผักเศรษฐกิจ 33 ชนิด ภายใต้ขนาดพื้นที่ 50 ตารางวา สามารถทราบมูลค่า ต้นทุนการผลิตที่ชัดเจนและทราบผลตอบแทนความคุ้มค่าได้ถึง 28 ชนิดของผักเศรษฐกิจ ที่อัตรา ผลกำไรต่อรายได้ต่ำสุดอยู่ที่ 4% และอัตราผลกำไรต่อรายได้สูงสุดที่ 66% ด้านการวิเคราะห์ปัจจัย ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน พบว่าด้วยกลไกลทางด้านราคา กลไกของ ปัจจัยการลงทุนในขนาดพื้นที่ของการผลิต มูลค่าของต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปรและต้นทุนรวม ในการผลิตผักปลอดสารพิษจะสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม คือ ถ้ารายได้จากการผลิตมีมูลค่า สูงผลตอบแทนจะสูง ถ้ารายได้จากการผลิตได้น้อยจะทำให้เกิดผลตอบแทนต่ำ ถ้าเกษตรกรทราบ ถึงความได้เปรียบของกลไกทางด้านราคา เป็นเป้าหมายในการวางแผนการผลิตจะทำให้ได้เกิด ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อหนึ่งรอบการผลิตในระยะเวลา 4 เดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ สามารถนำไปวางแผนการผลิตสำหรับทั้งปี ตลอดจนการแก้ปัญหาเรื่องไม่มีตลาดรองรับสินค้า ของผักปลอดสารพิษและการหาตลาดราคาของผักปลอดสารพิษที่มีราคาสูงได้ ด้านผลสัมฤทธิ์ของการเกษตรปลอดสารพิษ ในด้านผลผลิตเกษตรกรมีความรู้ในด้าน ทักษะการวางแผนการผลิต ด้านการเงินลงทุนและกำไร ด้านการตลาด ด้านองค์ความรู้ทาง การเกษตรที่เกิดผลประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และการเกิดเครือข่ายความรู้ และตลาด สินค้าผักปลอดสารพิษระหว่างเกษตรกรด้วยกันเพิ่มขึ้น ทางด้านผลลัพธ์ เกษตรกรมีรายได้เสริม หมุนเวียนต่อครอบครัวอย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่าวันละ 300-500 บาทต่อวัน และการขยายองค์ ความรู้และภูมิปัญญาของเกษตรกร ด้วยวิธีการดูแลการรดน้ำ พรวนดิน และกำจัดวัชพืช ศัตรูพืช ด้วยการระบบวิธีสมดุลทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นตามระยะเวลาและฤดูกาล ทำให้เกิดผลการลด ต้นทุน และปรับสมดุลให้กับสิ่งแวดล้อมซึ่งจะส่งผลต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของทั้ง ผู้ผลิตและผู้บริโภคในระยะยาวได้ขยายไปสู่เกษตรกรและผู้ที่สนใจได้รับทราบตลอดระยะเวลา การศึกษาวิจัย ผลตอบแทนและผลสัมฤทธิ์ ของการผลิตผักปลอดสารพิษได้เน้นถึงความสามารถในการ พึ่งพาตนเอง พึ่งพาอาศัยกัน โดยใช้ปัจจัยทุนทางสังคมและทุนในชุมชนของเกษตรกร พบว่าทุน ด้านบุคคลยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการเกษตรในปัจจุบัน เพราะเกษตรกรจะเกิดการเรียนรู้ พัฒนา ศักยภาพความสามารถทางด้านผลิตได้ดี เกิดจากระดับพื้นฐานความรู้ ภูมิปัญญาที่เป็นทุนเดิมของ แต่ละบุคคลมาบูรณาการร่วมกับความรู้ความเข้าใจทางด้านการบริหารจัดการทางด้านการวาง แผนการผลิตสู่การสร้างเป้าหมายกำไรกับความพอเพียง ข้อเสนอแนะที่พบ การขาดความรู้ความ เข้าใจของเกษตรกรกับความสำคัญของการบริหารจัดการด้านการวางแผนการผลิตยังเป็นส่วน สำคัญ การขยายผลเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ที่สำคัญสำหรับผู้ผลิตผักปลอดสารพิษอันจะนำไปสู่การ วิเคราะห์ต้นทุนและการวางแผนกำไรในระยะยาวได้
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/609
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)443.8 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)405.72 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)403.31 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)439.69 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)587.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)445.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)673.22 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)589.95 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-6.pdfChapter-6 (บทที่6)476.24 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-7.pdfChapter-7 (บทที่7)440.1 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)436.92 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)5.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.