กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2281
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเครื่องเงินในชุมชนพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Marketing Mix Strategy of Silverware in Phrabat Huaytom Community, Nasai Sub – district, Li District, Lamphun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชนก, ชัยศิรินวกาญจน์
นัทธ์หทัย, เถาตระกูล
คำสำคัญ: พระบาทห้วยต้ม--ลี้ (ลำพูน)
เครื่องเงิน--ลี้ (ลำพูน)
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเครื่องเงินในชุมชนพระบาทห้วยต้ม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเครื่องเงินในชุมชนพระบาทห้วยต้ม และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเครื่องเงินในชุมชนพระบาทห้วยต้ม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้ผลิตเครื่องเงิน จำนวน 10 คน และลูกค้าเครื่องเงิน จำนวน 300 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้ในการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย เพื่อหาความแตกต่าง ระหว่างค่าเฉลี่ย ของประชากรทั้ง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (t – test) วิเคราะห์หาความแปรปรวนทางเดียว ของประชากรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้ One – Way ANOVA (f – test) และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการศึกษา พบว่า ผลการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดระหว่างอุปสงค์และอุปทานของเครื่องเงินในชุมชนพระบาทห้วยต้ม พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ควรมีการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เครื่องเงินให้มีความหลากหลาย ด้านราคา (Price) ควรมีการปรับปรุงป้ายแสดงราคาสินค้าเครื่องเงินให้ชัดเจน ด้านช่องทางการจำหน่าย (Place) ควรมีการปรับปรุงที่ตั้งร้านจำหน่ายเครื่องเงินให้มีความสะดวกในการเดินทางและปรับปรุงให้มีสื่อออนไลน์ ด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) ควรมีการปรับปรุงให้มีของแถมและปรับปรุงบริการหลังการขาย
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2281
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
กมลชนก ชัยศิรินวกาญจน์_2562.pdf5.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น