Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2236
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกิตติยังกุล, รุ่งทิวา-
dc.contributor.authorKittiyangkul, Rungtiwa-
dc.date.accessioned2022-05-30T03:17:59Z-
dc.date.available2022-05-30T03:17:59Z-
dc.date.created2021-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2236-
dc.descriptionงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย เป็นการวิจัยและการพัฒนางานประจำ (Routine to Research, R2R) มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค ในการสร้างหลักสูตรออนไลน์ และความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย (2) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย (3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) ได้แก่ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ในการสรุปความต้องการของผู้ใช้งานและความ เป็นไปได้ในการพัฒนาระบบด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการคำนวณค่า IOC และระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ ในการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ ด้วยเครื่องมือแบบประเมินความพึงพอใจ ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการคำนวณค่า IOC และทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) สูตรสัมประสิทธิแอลฟา (Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) กลุ่มประชากร ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 595 คน และบุคลากรสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวนร้อยละ 5 จาก5 คณะ 2 วิทยาลัย ที่เข้าโครงการยกระดับทักษะการผลิตสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวม 29 คน และกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ อาจารย์ร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับทักษะการผลิตสื่อฯ จำนวน 90 คน และบุคลากรสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา จำนวน 5 คน รวม 95 คน การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยใช้ขั้นตอนวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) และ เทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) ด้วยชุดคำสั่งด้วยภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และความเป็นไปได้ นั้น ตารางวิเคราะห์เนื้อหาและแผนการออกแบบหลักสูตรออนไลน์ตามหลักทฤษฎี ADDIE Model ด้านการพัฒนา (Develop) กลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 96.55 เห็นด้วยว่า ตารางวิเคราะห์เนื้อหาช่วย วางแผนการผลิตสื่อการเรียน ทั้งที่จัดทำได้เอง และที่มีการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานอื่นในรูปแบบร่วมมือระหว่างหน่วยงาน หรือการจ้างบริษัทหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการผลิต (2) ด้านผลการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยได้ออกแบบการทำงานแบ่งตามประเภทผู้ใช้งาน ได้แก่ ผู้ใช้งาน ผู้ดูแลระบบ และผู้บริหาร โดยออกแบบสิทธิ์หรือหน้าที่รับผิดชอบเบื้องต้นจากข้อมูลผู้ใช้ในระบบฐานข้อมูลบุคลากรของมหาวิทยาลัย (3) ผลความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบในภาพรวมตามทฤษฎีการวัดคุณภาพการบริการเว็บไซต์ E-S-QUAL & E-RECS-QUAL อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.62 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ทั้งนี้พบว่าหากพิจารณารายด้านแล้ว ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจสูงสุดในด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) ระดับความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ ซึ่งมีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เลขคณิตเท่ากับ 4.72 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45th_TH
dc.description.abstractThe information systems for designing online courses and managing the cooperative production process is a Routine to Research, R2R the objectives were (1) to study the problems and possibility of developing the information systems for designing online courses and managing the cooperative production process. (2) to develop the information systems for designing online courses and managing the cooperative production process. (3) to study the satisfaction of users of The information systems for designing online courses and managing the cooperative production process. This research uses Mixed Methodology are qualitative research protocol to summary of user needs with structured Interview that has been inspected for the quality by experts with the IOC value (Index of Item Objective Congruence: IOC) and quantitative research protocol to study the satisfaction of users with survey form that has been inspected for the quality by experts with the IOC value and testing confidence reliability cronbach’s alpha. The population was 595 lecturers of Chiang Mai Rajabhat University and 9 personnel of Office of Digital Education. The qualitative sample group was 29 lecturers of Chiang Mai Rajabhat University that was 5 percent from 5 faculties, 2 colleges and the quantitative sample group consisted of 90 lecturers participating in the media production skills upskill project and 5 personnel of Office of Digital Education, all used purposive sampling method. The system has been applied to design and develop the acquisition system using System Development Life Cycle (SDLC) based on Web Application technology, which uses PHP as the programming language to develop the system and MySQL as the system database. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. This research was found (1) The qualitative sample group 96.55% agreed that the content analysis table according to the theory of ADDIE Model helped planning for the production of learning materials both can be prepared by yourself and that are developed with other agencies. (2) The results of the information systems for designing online courses and managing the cooperative production process, has designed the work to be divided according to the types of users, i.e. users, administrators, and executive by designing preliminary rights or responsibilities from user data in the university's personnel database. (3) Overall system user satisfaction result based on the theory of website service quality measurement E-S-QUAL & E-RECS-QUAL at the highest level It has an arithmetic mean is 4.62 and a standard deviation is 0.49. Users have the highest satisfaction in terms of privacy with the highest level of satisfaction, it has an arithmetic mean of 4.72 and a standard deviation is 0.45.th_TH
dc.description.sponsorshipกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.format.mediumapplication/pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherChiang Mai Rajabhat Universityth_TH
dc.rights@CopyRight มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่th_TH
dc.subjectบทเรียนออนไลน์th_TH
dc.subjectรายวิชาออนไลน์th_TH
dc.subjectวิเคราะห์ออกแบบบทเรียนth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศth_TH
dc.subjectOnline Coursesth_TH
dc.subjectDesigning Online Coursesth_TH
dc.subjectThe Information Systemth_TH
dc.titleการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และ บริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยth_TH
dc.title.alternativeThe information systems for designing online courses and managing the cooperative production processth_TH
dc.typeResearchth_TH
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)263.53 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)4.35 MBAdobe PDFView/Open
Bibiliography.pdfBibiliography (บรรณานุกรม)217.64 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1 (บทที่1)502.85 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)694.78 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3)611.62 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4)3.01 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่5)348.03 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)394.4 kBAdobe PDFView/Open
Cover.pdfCover(ปก)604.23 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.