Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1959
Title: การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
Other Titles: A study on the satisfaction of employers of graduates in the Bachelor’s Program in Thai Language
Authors: สนิท, สัตโยภาส
Keywords: ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต
คุณลักษณะของบัณฑิต
Satisfaction
Employers of Graduates
Qualifications of Graduates
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตของหลักสูตร ศศ.ม. สาขาวิชาภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการจัดการเรียนการสอนและปรับปรุงหลักสูตรจากผู้ใช้บัณฑิต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้าหน่วยงานและเพื่อนร่วมงาน ที่บัณฑิตของหลักสูตร ศศ.ม. สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปฏิบัติงานอยู่และจบหลักสูตร ปีพ.ศ. 2559 – 2560 จำนวน 40 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ “แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำผลการวิเคราะห์นำเสนอด้วยตารางประกอบการเขียนบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นผู้อำนวยการ/ผู้บังคับบัญชา ร้อยละ 40 รองลงมาเป็นเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 37.50 รองผู้อำนวยการ ร้อยละ 12.50 และน้อยที่สุดเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ร้อยละ 10 ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะของบัณฑิต แต่ละด้านตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ทั้ง 5 ด้าน พบว่า ผู้ใช้บัณฑิต มีความพึงพอใจต่อบัณฑิตหลักสูตร ศศ.ม. สาขาวิชาภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญาและด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ส่วนอยู่ในระดับมากมี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ และด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจด้านคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย (คนดีของท้องถิ่น) พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจคุณลักษณะด้านนี้มากที่สุด 4. ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของผู้ใช้บัณฑิตด้านความต้องการให้มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ พัฒนาคุณภาพบัณฑิตในทักษะการปฏิบัติงานนั้น พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่ต้องการให้บัณฑิตมีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ICT (ร้อยละ 25) รองลงมาเป็นด้านภาษาต่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับชุมชน ร้อยละ 12.50
Description: The objectives of this investigation were to examine the satisfaction of employers of graduates in the Bachelor’s Program in Thai Language and to explore suggestions and recommendations for pedagogical improvement of the program from the employers. The target group was 40 supervisors/colleagues of the graduates who worked for them from 2016 to 2017. The research instrument was a questionnaire on the satisfaction of employers with job performance and attributes of the graduates. The data were statistically analyzed for frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The analysis results are presented in tables with descriptions. The research findings are summarized as follows: 1. It was found that most of the respondents, 40%, were directors/supervisors, followed by 37.50% colleagues, 12.50% deputy directors, and 10% department heads respectively. 2. The analysis of the satisfaction with the five aspects of the graduates according to the 2009 Thailand Qualifications Framework revealed that the satisfaction with the graduates’ ethics and morality, intelligence, and interpersonal relationships and responsibility was at the highest level, while the satisfaction with their knowledge and numerical analysis, communication and technological skills was at a high level. 3. For their satisfaction with the attributes of the graduates according to the university identity (good local citizens), it was found that their satisfaction was at the highest level. 4. For the recommendations of the employers to improve the qualifications of the university graduates, it was revealed that most employers, (25%), required graduates with relevant knowledge, skills and ICT expertise, followed by 12.50% with foreign languages and relationships between oneself and community.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1959
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)422.25 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)387.71 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)404.21 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่1)375.65 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่2)632.04 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่3)388.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่4)588.39 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่5)382.74 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)390.75 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)942.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.