Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1375
Title: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ ด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ปีที่ 2
Authors: ชัยรัตน์, นทีประสิทธิพร
Keywords: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ
ด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมของชุมชน
Issue Date: 2559
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อม ต่อการเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างแผนเพิ่มขีดความสามารถด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางเตรียมความพร้อมของชุมชนในด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อม กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณจะอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อประมวลยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านผลกระทบเชิงบวก มีทั้งหมด 17 ประเด็น ส่วนผลกระทบเชิงลบ มีทั้งหมด 17 ประเด็นเช่นกัน ผลการวิเคราะห์การเตรียมความพร้อมของชุมชนด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 18 ประเด็น โดยเฉพาะการจัดสรร งบประมาณสนับสนุนที่มากขึ้น โดยมีบุคลากรหรือหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ มีทั้งสิ้น 15 หน่วยงาน ผลการวิเคราะห์ในกระบวนการกำหนดกลยุทธ์แผนเพิ่มขีดความสามารถด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมของชุมชน สามารถกำหนดกลยุทธ์ ได้ 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์พลิกฟื้น คือ อปท. จัดสรรบุคลากรเพื่อมารับผิดชอบด้านสุขภาพ อนามัยและสิ่งแวดล้อม อปท. เตรียมความพร้อมในการวางแผนการใช้และเบิกจ่ายงบประมาณก่อนปีงบประมาณ อปท. ให้ชุมชนบริหารจัดการด้วยตนเอง ชุมชนจัดหางบประมาณจากหน่วยงานอื่น อปท. เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากขึ้น โดยให้ชุมชนร่วมวางแผนกิจกรรมและงบประมาณล่วงหน้า (2) กลยุทธ์ตัดทอน คือ ชุมชนเพิ่มการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น ๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านสุขภาพ อนามัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก (3) กลยุทธ์เชิงรุก คือ อปท. สร้างกลยุทธ์ในการเชื่อมต่อจากภายในสู่ภายนอก เพิ่มกิจกรรมด้านสุขภาพ อนามัยและสิ่งแวดล้อมในชุมชน เน้นวิสัยทัศน์ด้านสุขภาพ อนามัยและสิ่งแวดล้อมให้เป็นจุดเด่น ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ อนามัยและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น สร้างแกนนำและจิตอาสาด้านสุขภาพ อนามัยและสิ่งแวดล้อม และอปท. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจแก่ชุมชน และ (4) กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมในการสร้างความเข้มแข็งในชุมชนเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ในชุมชน หลังจากที่ชุมชนทราบกลยุทธ์ทั้ง 4 ประเภทข้างต้น ชุมชนได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่ได้สร้างไว้ เป็นการนำแผนไปสู่การดำเนินงาน ซึ่งโครงการที่ได้จัดทำมีจำนวนทั้งหมด 3 โครงการ คือ (1) “โครงการสุขภาพจิตกับการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน” (2) “โครงการผ่อดีดี” และ (3) “โครงการเสริมสร้างศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบล แม่ฮ้อยเงินมุ่งสู่อาเซียน” โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านการจัดทำแผนงานและโครงการผ่าน เทศบัญญัติขององค์กรชุมชน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งโครงการวิจัยในระยะต่อไปจะได้ดำเนินการปฏิบัติการและติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อม ในกรอบประชาคมอาเซียนซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นต่อไป
Description: This study aims to analyze the impact of health and hygiene as well as environment for enhancing the potential and strength of community and also suggest the guidelines to create plan for increasing the potential of Chiang Mai communities for health and hygiene under ASEAN community. It is qualitative research with the support from quantitative analysis. Primary data collected from 2,064 communities in Chiang Mai. Participatory action research (PAR) was used to analyze both positive and negative impact, advice and guidelines to prepare the readiness of communities in health, hygiene and environment, Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation were used. Content analysis were used to make the quantitative analysis to be completed. The result of study was that there are 17 positive impacts for health, hygiene and environment of Chiang Mai community and 17 issues of the negative impacts for communities. There are 17 issues for the preparation of the readiness in hygiene and environment. 15 offices are involved in providing the assistance to communities. Four strategies were set to raise the potential of health, hygiene and environment of Chiang Mai community; 1) turn around strategy; local administrative organization should allocate people to be responsible in hygiene and environment, prepare for budget disbursement before the fiscal year, emphasis in community participation; 2) retrenchment strategy such as community should enlarge and create network with other organizations and local administrative organizations should have the cooperation with other organizations in hygiene and environment ; 3)aggressive strategy is that local administrative organization should promote the activity of the hygiene and environment , create the volunteers of hygiene and environment and let people to share opinions in order to strengthen the understanding and 4) stability strategy is that local administrative organization should create the strategy of community to confront the change. The community had done the projects to enhance the potential of hygiene and environment. These projects consist of 1) mental health and coexistence in ASEAN community project 2) look carefully project and 3) promotion of health care project for Maehoyngern under ASEN community. All of these projects had already set and been supported by local administrative organization.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1375
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover953.16 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract390.66 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent419.74 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter 1421.31 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter 2489.11 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter 3448.5 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter 41.01 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdfChapter 5477.71 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography439.31 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.