กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1294
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ต่ออาจารย์ประจำ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศุกร์พิรา, ทาอินต๊ะ
คำสำคัญ: การวิเคราะห์ค่าความแตกต่าง
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลา ต่ออาจารย์ประจำ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ต่ออาจารย์ประจำมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สัดส่วนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำในปัจจุบันกับเกณฑ์มาตรฐานที่ สกอ.กำหนด ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบ Common Data Set ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการคำนวณจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำของหน่วยงานระดับคณะ และนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ประจำปี 2560 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ประชากรในรูปแบบผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ต่ออาจารย์ประจำตามเกณฑ์มาตรฐานที่ สกอ.กำหนด และประชากรที่เป็นบุคลากรผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ องค์ประกอบที่ 1 ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด และหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานจำนวน 12 หน่วยงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 เครื่องมือตามกลุ่มประชากร ได้แก่แบบฟอร์มสรุปผลการวิเคราะห์ค่าความแตกต่างฯ และแบบสอบถามวัดระดับความรู้ ความเข้าใจ และความพึงพอใจต่อรูปแบบ Common Data Set พร้อมสอบถามปัญหา/อุปสรรค เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์ค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ต่ออาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2560 ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้ที่ สกอ. กำหนด พบว่า จากผลการวิเคราะห์สามารถแบ่งกลุ่มของคณะ/วิทยาลัย ได้ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับสูง คือคณะ/วิทยาลัยที่มีสัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ต่ออาจารย์ประจำเท่ากับหรือใกล้เคียงตามเกณฑ์มากที่สุดได้ค่าร้อยละที่น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 0 ประกอบด้วย คณะเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน วิทยาลัยนานาชาติ บันฑิตวิทยาลัย และสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับต้น คือ คณะ/วิทยาลัยที่มีสัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ต่ออาจารย์ประจำตามเกณฑ์ได้ค่าร้อยละที่มากกว่าร้อยละ 0 แต่น้อยกว่าร้อยละ 20 นำมาเทียบบัญญัติไตรยางศ์ตามสูตรได้ผลออกมาเป็นคะแนน คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ คณะ/วิทยาลัย ที่มีสัดส่วนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ต่ออาจารย์ประจำแตกต่างจากสัดส่วนของเกณฑ์มากเกินไป โดยมีค่าร้อยละความแตกต่างมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 20 ซึ่งทำให้การจัดการเรียนการสอนอาจไม่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือด้วยปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือการควบคุมจึงควรมีการปรับลดหรือเพิ่มอัตราอาจารย์ประจำ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อไป ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาการจัดการ เป็นต้น 2. ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนข้อมูลทั่วไป ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบ Common Data Set ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น และปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความรู้ ความเข้าในเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) ต่ออาจารย์ประจำ ระดับคณะ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 61.12 และมีผลประเมินความพึงพอใจต่อแบบฟอร์มสรุปผล Common Data Set ที่ผู้วิจัยพัฒนาให้หน่วยงานที่รับการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะ ได้ใช้งานในรอบการประเมิน ปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.20 3. ผลการนำค่าการวิเคราะห์ค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ต่ออาจารย์ประจำไปใช้ประโยชน์ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ในปีการศึกษา 2560 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พบว่า ผลการนำข้อมูลไปใช้ได้เป็นอย่างดี ผลสรุปค่าคะแนนการประเมินทั้งจากผู้วิจัย และจากคณะกรรมการประเมินมีความถูกต้อง และสอดคล้องกันมาก และมีข้อเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยจัดทำข้อมูลกลางที่เป็นข้อมูลการคำนวณเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมกับจัดโครงการอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานการใช้ข้อมูลในการคำนวณให้ถูกต้องครบถ้วนไปในทิศทางเดียวกัน
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1294
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1 Cover.pdf164.45 kBAdobe PDFดู/เปิด
2 Abstract.pdf235.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
3 Content.pdf443.96 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 1.pdf437.81 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 2.pdf436.19 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 3.pdf538.07 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 4.pdf680.49 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 5.pdf424.17 kBAdobe PDFดู/เปิด
4 Bibliography.pdf436.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
5 Appendix.pdf1.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น