Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1251
Title: การพัฒนารูปแบบกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Authors: ณฐ, นารินทร์
Nat, Narinth
จรินทิพย์, ตรัยตรึงตรีคูณ
Jarintip, Tritrungthreekoon
Keywords: กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
ยุติธรรม
สมานฉันท์
ส่วนร่วมของชุมชน
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยได้ทำการศึกษารูปแบบการดำเนินงานของศูนย์ยุติธรรชุมชนตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และรูปแบบการดำเนินงานการจัดการปัญหาที่มีผลกระทบต่อชุมชนของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลแม่ตื่น ได้แก่ หมู่ที่ 2 บ้านแม่ตื่นน้อย หมู่ที่ 5 บ้านห้วยหล่อดูก หมู่ที่ 15 บ้านห้วยดินหม้อ และ หมู่ที่ 3 บ้านแม่ตื่นน้อย ทั้งนี้ ได้อาศัยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ในขั้นต้นนั้น ยังไม่สามารถใช้รูปแบบกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ที่ชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาที่มีผลกระทบต่อชุมชน เนื่องจากผู้ทำหน้าที่ประจำศูนย์ขาดความความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การดำเนินงานของศูนย์ ควรมีการแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่ประจำศูนย์ ให้แก่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาในชุมชนของแต่ละหมู่บ้านอย่างทั่วถึง และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในชุมชนตำบลแม่ตื่นให้ได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่การดำเนินงานของศูนย์เพื่อช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในชุมชน อนึ่ง เมื่อได้ศึกษาถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อชุมชนของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลแม่ตื่น ทั้ง 4 หมู่บ้าน พบปัญหาที่สำคัญได้แก่ 1. ปัญหายาเสพติด 2. ปัญหาการทะเลาะวิวาท 3. ปัญหาผลประโยชน์ในที่ดิน และ 4. ปัญหาหนี้สิน จึงได้นำปัญหาเหล่านี้เข้าสู่การค้นหารูปแบบวิธีการแก้ไขปัญหา โดยให้แต่ละหมู่บ้านนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งพบว่าในแต่ละหมู่บ้านมีรูปแบบการแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ที่คล้ายคลึงกัน มีผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ของแต่ละหมู่บ้านเป็นแกนนำที่สำคัญ ใช้รูปแบบการประนอมข้อพิพาทเป็นหลักเพื่อการอำนวยความยุติธรรม มีระบบการสอดส่องโดยชุมชน มีกฎหมู่บ้าน มีวิธีการเยียวยาชดใช้การกระทำความผิด มีการฟื้นฟูสภาพจิตใจเพื่อให้กลับตัวแก้ไข การคืนความสัมพันธ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นรูปแบบกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ซึ่งประชาชนในหมู่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้มีส่วนร่วมเพื่อการแก้ไขปัญหาของชุมชนตำบลแม่ตื่น ซึ่งศูนย์ยุติธรรมตำบลแม่ตื่นสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษานี้ไปพัฒนาเป็นรูปแบบการการดำเนินงานของศูนย์ยุติธรรมชุมชน อย่างไรก็ตาม หน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องควรทำการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และให้การสนับสนุนส่งเสริมแนะนำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ความรู้ทางกฎหมายและควรเพิ่มช่องทางการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลางกับศูนย์ฯ ในกรณีที่เกิดปัญหา เพื่อให้ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลแม่ตื่นสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมแก่ชุมชนได้ต่อไป
Description: This research has objectives to learn and to develop model of restorative justice by participation of community, learning the model management of Mae-Tuen Community Justice, Omkoi District, Chiang Mai Province, and the model management problems affecting the community of the villages residing nearly Mae Tuen Community Justice are Moo 2 Ban Mae-Tuen Noy, Moo 5 Ban Huay-Lor-Duk, Moo 5 Ban Huay Din Mor and Moo 3 Ban Mae-Tuen Noi. For the Purpose of qualitative research as the results that Mae-Tuen Community Justice, Omkoi District, Chiang Mai Province initially, cannot use the model of restorative justice by participation of community for management problems affecting community because authority at the Community Justice lacked of understanding into the role for manage the Community Justice. This should be appointment the authority whose have knowledge to deal with problem in community of each other villages thoroughly and should be publicize information to people in community to give them understand into the role of managing at the Community Justice for helping people justice in community. Furthermore, after learned about the problems affecting community of the villages that residing Mae Tuen Community Justice all 4 villages that found the important problems as 1. Drug problem, 2. Battery problem, 3. Land Benefit problem and 4. Debt problem. According to those problems, brought it to find the resolving model by the villages present resolving methods found that each villages have resolving model by using restorative justice similarly, as having community leaders, sub-district headman, village headman of each villages to be the significant leaders, using conciliation method for helping justice, having surveillance system by community, having the rule of the village, having remedy compensation for the offense, having mental rehabilitation for reform, relationship reform. All these things considered as restorative justice that all 4 villager of 4 villages have participated for resolving problems at Mae-Tuen sub-district that MaeTuen Community Justice can bring the result for develop into the management model of community justice. However, central government should be follow up and evaluation the performance and support promote advice the method in practice about resolving problems, law knowledge and increase the way to contact between central government and the community justice in case of problem exists for Mae Tuen community justice can be management for helping people justice.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1251
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover245.84 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract728.35 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent678.67 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1675.3 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-2901.27 kBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3530.46 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-42.13 MBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-5635.51 kBAdobe PDFView/Open
9.Bibliography.pdfBibliography591.18 kBAdobe PDFView/Open
10.Appendix-1.pdfAppendix-1161.11 kBAdobe PDFView/Open
11.Appendix-2.1.pdfAppendix-2.1276.15 kBAdobe PDFView/Open
12.Appendix-2.2.pdfAppendix-2.239.59 kBAdobe PDFView/Open
13.Appendix-3.pdfAppendix-31.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.