Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1232
Title: การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำาแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: พราวพรรณ, อาสาสรรพกิจ
Keywords: การจัดการทรัพยากรน้ำ
กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
Issue Date: 2560
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยการจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีจุดประสงค์หลัก เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมของการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แตง ในเขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา ประกอบด้วย ประปาหมู่บ้าน 7 แห่ง และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ 2 แห่ง ได้แก่ แม่น้ำปิงและแม่น้ำแม่งัด คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ในพื้นที่สามารถนำมาใช้เป็นน้ำในการอุปโภคได้แต่ไม่สามารถน้ำใช้ในการบริโภคได้ ซึ่งหากต้องการนำมาบริโภคต้องผ่านกระบวนการบำบัดเบื้องต้นก่อนเพื่อกำจัดสนิมเหล็ก แมงกานีส ความกระด้าง และของแข็งละลายน้ำซึ่งมีค่าเกินมาตรฐานอยู่เกือบทุกแหล่งน้ำ โดยพารามิเตอร์ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ การมีเหล็กละลาย อยู่ในน้ำมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน รองลงมา คือ ความกระด้าง และของแข็งละลายน้ำ ตามลำดับ ในส่วนของรูปแบบการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่เหมาะสมกับชุมชนที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย การเพิ่มความตระหนักและความรู้ให้กับชุมชนทำการวิเคราะห์ปัญหา สำรวจแหล่งทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของหมู่บ้านร่วมกัน การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในชุมชนจากแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคในชุมชน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง และการเขียนแผนชุมชนในการปรับปรุงระบบน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคที่มีปัญหาเรียงตามลำดับความรุนแรงของปัญหา และผลักดันเข้าสู่แผนพัฒนาของท้องถิ่น
Description: This research involved the Water Resource Management for Consumption and Water Supply by Participative Approach in Mae Tang Watershed, Chiang Mai Province. The main objective of this project was to study of the model and the pattern for rectifying water quality for consumption and regulation the proper pattern for this community also emphasizing to use the participatory action research. The result has shown that mostly water usage and consumption for people were from a local water supply without treated. The quantity of iron, manganese, hardness and suspended solids in water from water was higher from standard value brought water couldn’t be used for daily life. The pattern and way to improve the water quality which proper for water consumption of the people in this area consist of raising awareness and educating the community, A survey of water resources for the consumer together, analysis of water quality in water used for consumption in the community, organizing a workshop about improving water quality and the community plans to improve water systems for the consumption and water supply.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1232
Appears in Collections:Research Report



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.