กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/767
ชื่อเรื่อง: การจัดการความรู้ทางการตลาดเพื่อพัฒนากลุ่มทอผ้าหมู่ 6 บ้านดงเจริญชัย ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Knowledge Management of Marketing for Community Weave Club Development in Moo 6 BanDhongcharoenchai , Nongyang District, Amphur Sansai , Chiangmai Province.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชชุศานต, นางเจิมขวัญ
Ratchusanti, Ms. Jermkhuan
สัตโยภาส, นางสาวพนิดา
Sattayopat, Miss Panida
พลอาจ, นางสาวเพียงตะวัน
Pol-Ard, Miss Piangtawan
เติมสงวนวงศ์, นายศุภธณิศร์
Termsnguanwong, Mr.Supathanish
คำสำคัญ: การจัดการความรู้ทางการตลาดเพื่อพัฒนากลุ่มทอผ้า
เชียงใหม่
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: Chang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การจัดการความรู้ทางการตลาดเพื่อพัฒนากลุ่มทอผ้า หมู่ 6 บ้านดงเจริญชัย ตำบล หนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีวตัถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้าน การตลาด เพื่อการพ่ึงพาตนเองของชุมชนและพัฒนารูปแบบการตลาดให้เป็นวิสาหกิจชุมชน ที่เหมาะสมสอดคล้องกับทรัพยากรของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือเก็บ รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการจัดทา เวทีชุมชน การสัมภาษณ์ประธานกลุ่ม การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกต การสัมภาษณ์ผู้บริหารร้านค้าและศูนยก์ารค้า พนกังานขาย กลุ่มผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ แบบ วิเคราะห์เอกสารเพื่อรวมรวมขอ้มูลการดำ เนินงานของกลุ่ม และการจัดโครงการฝึกอบรมเชิง ปฏิบตัิการ 6 โครงการ ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพด้านการตลาดและศกัยภาพการดา เนินการของกลุ่มที่ ร่วมโครงการ พบว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการตลาดของกลุ่มในปัจจุบันจะมีการผลิต ผ้าฝ้ายทอมือ โดยไม่มีตราสินค้าและไม่มีบรรจุภัณฑ์ รวมถึงไม่มีการทำกิจกรรมในการส่งเสริม การตลาดแต่อย่างใด ส่วนใหญ่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ซื้อตามสถานที่จัดจำหน่ายของภาครัฐ ทำให้อำนาจการตั้งราคาและการต่อรองราคากับผู้ซื้อมีอยู่ต่ำมาก กลุ่มประสบปัญหาด้านการตลาด ที่สำคัญ คือผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือขาดตลาดรองรับ ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ถูกกดราคาจากผู้ ซื้อ ผลิตภัณฑ์ยังขาดมาตรฐานรับรอง ปัญหาด้านต้นทุนในการเก็บรักษา ปัญหาความไม่ สม่ำเสมอในคุณภาพของผ้าฝ้ายทอมือ และปัญหาในการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ การพัฒนารูปแบบการตลาดวิสาหกิจชุมชนเพื่อหารูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ที่เหมาะสมกับกลุ่ม ทำโดยการใช้ชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจำนวน 6 โครงการ ได้แก่ โครงการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนด้วย SWOT โครงการสังเคราะห์แผนการตลาด โครงการ จัดทา บัญชีครัวเรือน โครงการให้ความรู้ดา้นบรรจุภณัฑ์ โครงการทศันศึกษาดูงาน และโครงการ ออกแบบบรรจุภณัฑ์ ตราสินค้า ป้ายฉลาก และโลโก้ รวมถึงโครงการทดสอบตลาดไดรู้ปแบบ ของการตลาดชุมชนที่กลุ่มจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการทำการตลาดในผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ คือ ได้ตราสินค้ากลุ่มทอผ้าบ้านดงเจริญชัย ได้โลโก้รูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลเหลืองขอบแดง ได้สโลแกนคือ “กลุ่มทอผ้าบ้านดงเจริญชัยความภูมิใจศิลปะผ้าทอล้านนาเชียงใหม่” ได้ต่ำแหน่ง ผลิตภณัฑ์ คือ สีสัน ลวดลาย เป็นเอกลักษณ์ ได้บุคลิกภาพของตราสินค้าคือ เป็นของใช้ส่วนตัว ที่ควบคู่กับชีวิตประจำวันและได้เอกลกัษณ์ของตราสินค้า คือผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือมาจากแหล่ง ทอผ้าที่มีความชำนาญอย่างแท้จริง ส่วนบรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายมี 1 รูปแบบ คือแบบ ถุงกระดาษ มีสติกเกอร์ติดลงในบรรจุภัณฑ์ นำไปทดสอบตลาดที่ Northern Village ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซ่ึงบรรจุภณัฑ์ได้รับการตอบรับจากตลาดในระดับที่ดี แต่ผู้บริโภค เสนอแนะว่ารูปทรงของบรรจุภัณฑ์ดูแล้วล้าสมัย ควรมีการออกแบบให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น บรรจุ ภัณฑ์กล่อง บรรจุภณัฑ์ตะกร้าสานกลม บรรจุภัณฑ์ตะกร้าสานมีหูหิ้ว กล่องพลาสติกใส แบบ ถุงพลาสติกใส เป็นต้น
รายละเอียด: The purpose of this study were to study the efficiency and effectiveness of marketing management for weave club in a present and future, to develop the appropriate marketing management for community enterprise consistent with village’s resources and potential, and to find the marketing management model that fit for the community business. The research methodology was conducted by Participatory Action Research (PAR). The data collection made by focus group discussion, open the stage of discussion, depth interview the head of the group, observation, interview the stakeholders and practical seminar project amount 6 projects. The findings indicated that the efficiency and effectiveness of marketing management for weave club in a present was; the group produced the weave in many styles without brand and packaging. Most of them were sole to customer who bought from the government’s exhibition, that caused the group’s power of price setting and bargaining was very low. The group faced with problems; narrow market, higher price of raw material, lack of guaranty from organizations for standardization, higher cost of stock keeping, irregular quality and production of weave products. The Development of marketing management model for the community business were done by Participatory Action Research with 6 projects; first, the project of SWOT analysis, second, the project of marketing plan analysis, third, the project of household accountancy, forth, the project of packaging knowledge and design, fifth, the project of observe the activities and excursion, the last, the project of brand building and market test. The results got the marketing management model for BanDhongcharoenchai weave group to develop for their own community business as follows; the brand name was “Weave Club BanDhongcharoenchai” with logo of brown-yellow with red strip triangle, the slogan was “Pride of Lanna chiangmai woven art”, the positioning was “Identity of color and pattern”, and “Daily life usage” was brand personality, finally, the brand identity was “the woven from the community wisdom”. The packaging design consist of 1 form is paper bag with plastic logo. The market test of woven at Northern Village Robinson Airport Department Store, with good acceptance from consumer and there were some comment that the woven packaging is out of date or out of modern style, should be changed them to be modernized in the future time such as the box form, the round basket form, the round basket with handle, transparent plastic care and transparent plastic bag.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/767
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover (ปก)446.67 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)414.43 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent(สารบัญ)526.51 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)450.46 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)426.03 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)4.7 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)429.57 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)415.3 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)484.95 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น