กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/628
ชื่อเรื่อง: การวัดมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์ชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ภาคชนบทและชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คำใจ, กมลทิพย์
คำสำคัญ: การจัดการการ
สินทรัพย์ชุมชน
การพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาสังคม
Management
value added of communities
Economic development
Social development
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การจัดการเรียนรู้เพื่อวัดมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์ชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคชนบทและชุมชนเมือง จ.เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่นในการสร้างความมั่นคงด้านการจัดการสินทรัพย์ชุมชน อีกทั้งยังสามารถทราบถึงมูลค่าเพิ่มที่ได้จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินงานวิจัยชุดโครงการ “การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชนบทและชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่” ในปี2552 มีวิธีการศึกษาโดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) โดยใช้รูปแบบของการจัดการเรียนรู้ในการจัดการสินทรัพย์ชุมชนเพื่อค้นหาศักยภาพและหามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมกับกลุ่มเป้าหมาย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 58 แห่ง ใน 19 อำเภอ ทั่วจังหวัดเชียงใหม่ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงด้านการจัดการสินทรัพย์ชุมชนของตนเองได้เป็นอย่างดี ชุมชนสามารถคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และปฏิบัติได้ โดยเข้าใจและวิเคราะห์ถึงคุณค่าสินทรัพย์ชุมชน คือ ทรัพยากรมนุษย์ สถาบันองค์กร วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และองค์ความรู้ในชุมชน ให้สามารถนำมาบรูณาการร่วมกับการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้การเรียนรู้และการพัฒนาที่สำคัญจากทุนมนุษย์ และทุนความรู้ ด้านการบริหารจัดการที่ดี หลักคุณธรรม การมีส่วนร่วม และการมีจิตสำนึกที่ดีต่อท้องถิ่น อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนและเพิ่มศักยภาพชุมชนให้เป็นองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งจนสามารถนำพาทุนทางสังคมไปสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้ฐานของทุนทางสังคม ทุนธรรมชาติ ทุนจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนที่จะอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป สำหรับผลการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของโครงการวิจัยที่ได้ดำเนินงานในปีที่ผ่านมา สามารถวัดมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจด้วยตัวชี้วัด “ผลสัมฤทธิ์ทางรายได้และความคุ้มค่าทางการเงิน” ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลถึงร้อยละ 52 และร้อยละ 61 ตามลำดับ ด้านการวัดทุนทางปัญญาพบว่าทุนมนุษย์มีความสำคัญที่สุดถึงร้อยละ 85 และการวัดการบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจ พบว่าตัวชี้วัดทางด้านผลกระทบต่อชุมชนในด้านสร้างรายได้และก่อเกิดสวัสดิการในชุมชน สามารถสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจได้ถึงร้อยละ 87 สำหรับทางด้านสังคมนั้น ผลการศึกษาพบว่า ตัวชี้วัดมูลค่าเพิ่มทางสังคมที่เพิ่มขึ้น คือ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในลักษณะของความรักและความสามัคคีของคนในชุมชน มีค่าเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 73 ทั้งนี้เพราะคนในชุมชนมีความพึงพอใจเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ร่วมกันที่จะนำพาชุมชนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนของตนเอง
รายละเอียด: The main objective of learning management to measure value added of communities’s assets for developing socio-economic of rural and urban areas in Chiang Mai is to create learning of local people in order to build the stability of communities’ assets management and also to know the value added gained from socio-economic development from the operation of the main research project “Learning management for developing socio-economic of rural and urban areas in Chiang Mai in 2009. Participatory action research and learning management for managing communities’ assets were conducted in order to investigate the potential capacity and the socio-economic value added with the target groups; 58 sub district administrative organizations in 19 districts of Chiang Mai based on local socio-economic plans. The study was that communities could learn how to build the stability of their management in communities’ assets. They could think, analyze and operate. They could also understand and analyze the value of communities’ assets, human resource, organizations, culture, environment and the body of knowledge of communities and integrated all of these things together with learning to develop local communities depend on human and knowledge capitals, a good management, virtue, participation and good awareness towards local communities. These will drive forward and increase the potential capacity of local communities and make the balance of economic as well as create the sustainability of local communities under the base of social, natural, ethical and sustainable capitals. The result of the analysis of the value added was that it could measure the value added of the economic by these indicators; the achievement of income and the worth of finance which could generate the value of goods and services to be increased in effectiveness and efficiency for 52 % and 61% respectively. For intellectual capital, human capital is 85% of the most important. Concerning the attainment of vision and mission, the indicator of the impact towards communities related to income and social welfare could create 87 percent of the confidence for economic development. Regarding society, the participation in the form of love and unity of people had 73% of increase.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/628
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover502.62 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract572.18 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent578.6 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter-1528 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter-21 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter-3610.6 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter-41.12 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter-5825.47 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter6.pdfChapter-6778.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography185.82 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix662.85 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น