Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/565
Title: การวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบการพัฒนาอนามัยและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The research for development the best practice in hygiene and environmental development of Chiang Mai Local Communities
Authors: สมยานะ, วีระศักดิ์
Keywords: ต้นแบบการพัฒนาด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม
คุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความอยู่ดีมีสุข
Issue Date: 2556
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ให้ได้แนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากการประยุกต์ใช้คุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยประชากรที่ศึกษาคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และชุมชนจากจำนวน 207 แห่ง ของจังหวัดเชียงใหม่ เลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์และความต้องการเข้าร่วมโครงการได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 4 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนแต่ละฝ่ายของ อปท. ได้แก่ ฝ่ายผู้บริหาร ฝ่ายผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายสภา รวมถึงตัวแทนชุมชน การศึกษาใช้วิธีการแบบมีส่วนร่วมและการ Focus group ร่วมกับการประเมินแบบองค์รวมโดยวิธีการสามเส้าในประเด็นของการประยุกต์ใช้คุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทนและขยันหมั่นเพียร และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ วิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ระดับของการประยุกต์ใช้คุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการของ อปท. โดยฝ่ายผู้บริหารมีระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ฝ่ายผู้ปฏิบัติงาน และฝ่ายสภา อปท. ตามลำดับ การพัฒนาต้นแบบสามารถประเมินได้จากความอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชน อาศัยการวิเคราะห์และถอดบทเรียนร่วมกับตัวแทนของชุมชนในพื้นที่การปกครองของ อปท. ได้แก่ ความอยู่ดีมีสุขที่เกิดจากคนในชุมชนมีการรักษาความสะอาดในชุมชนและไม่มีปัญหาขยะรวมถึงมลพิษทางอากาศ คนในชุมชนเอาใจใส่และดูแลสุขภาพ มีความพร้อมด้านบุคลากรทางการแพทย์ มีสาธารณูปโภคที่ดีและครบครัน มีการสงวนและอนุรักษ์ที่ดินไว้สำหรับคนในชุมชน ไม่สนับสนุนให้ขายแก่นายทุน ผลการวิจัยสามารถสังเคราะห์องค์ความรู้จากการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ โดยการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับผลการประเมินของการประยุกต์ใช้คุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้แนวทางในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการองค์กรที่สามารถตอบสนองความอยู่ดีมีสุข ของชุมชนได้อย่างแท้จริง พบว่า ต้นแบบการบริหารจัดการที่ดีต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้บริหารของ อปท. กับภาคประชาชน บนฐานของคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทนและขยันหมั่นเพียรและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ที่ประยุกต์ใช้ในการทำงานโดยเฉพาะคุณธรรมที่ อปท. จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำไปใช้กับการทำงาน คือความซื่อสัตย์สุจริต ขณะเดียวกันภาคประชาชนต้องเน้นการมีส่วนร่วมกับ อปท. ให้มากขึ้นโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินกิจกรรม หรือโดยการที่ อปท. ได้ ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขให้กับคนในชุมชน ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งนี้คือ ต้องมีการขับเคลื่อนการพัฒนาต้นแบบให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นจากการบริหารจัดการ อปท. ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่นบนฐานของคุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะ 7 จังหวัดภาคเหนือตอนบนที่มีบริบท ใกล้เคียงกับจังหวัดเชียงใหม่
Description: This study aims to synthesis the knowledge of the best practice for local hygiene and environmental development in Chiang Mai in order to have the guidelines for applying the sufficiency economy to develop the management of local administrative organizations (LAOs). Population were from Chiang Mai local administrative organizations and communities. Purposive sampling was used and 4 samples working in management level, operation level and parliament of local organizations as well as delegates from local people were selected. Participation action research, Focus group and Triangulate had been used to evaluate the application of the sufficiency economy; integrity, patience and diligent as well as generosity for internal management of LAOs. Sample statistic included mean, percentage and standard deviation. The finding showed that the management level had the highest application for their internal management and the operation as well as the parliament had the high application for their internal management respectively. The best practice of local hygiene and environmental development could be evaluated from the well-being of communities . All of these well-beings are that people have a good hygiene and there is no pollution. People are take care of their health as well as the readiness of medical staffs including good and perfect infrastructure. People have saved and preserved their own lands. Brains storming with involving people were also used in order to get guidelines to develop the application of sufficiency economy in LAO’s management that can make well-being for communities if the management level and the local people have a good collaboration based on sufficiency economy; integrity, patience and diligent as well as generosity. Integrity is the first priority to apply in the internal management. Local people should increase their participation with LAOs particularly following up and evaluating LAOs’ activities. In addition, it should motivate and enlarge the best practice of hygiene and environment base on sufficiency economy to the 7- up-north provinces whose contexts are similar to Chiang Mai.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/565
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover486.91 kBAdobe PDFView/Open
Abstact.pdfAbstract398.94 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent416.42 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1407.74 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2469.76 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3501.07 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4478.31 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5493.12 kBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter6413.97 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography399.18 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix481.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.