กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2290
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลการจำลองอุณหภูมิอากาศในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยจากแบบจำลองสภาพอากาศควบคู่แบบจำลองพื้นผิวดิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of Temperature Simulation Over Northern Thailand From Numerical Weather Model Coupled With Land Surface Model
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรพันธุ์, แซ่โซ้ง
ภาคภูมิ, รัตน์จิรานุกูล
สุจิตรา, รัตน์จิรานุกูล
คำสำคัญ: อุณหภูมิ--การประเมิน--ไทย (ภาคเหนือ)
อุตุนิยมวิทยา--ไทย (ภาคเหนือ)
อากาศ--การประเมิน--ไทย (ภาคเหนือ)
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้จำลองค่าอุณหภูมิต่ำสุดรายวัน ค่าอุณหภูมิสูงสุดรายวันและค่าอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยจำนวน9 สถานี ช่วงระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553 ด้วยแบบจำลองสภาพอากาศ (Weather Research and Forecasting (WRF)) ควบคู่กับแบบจำลองพื้นผิวดิน 4 ตัวเลือก ได้แก่ เทอร์มอลดิฟฟิวชั่น (Thermal Diffusion Land Surface) โนอาร์แลนเซอร์เฟส (Noah Land Surface) และ อาร์ ยู ซี แลนด์เซอร์เฟส (RUC Land Surface) โดยนำผลที่ได้จากแบบจำลองมาเปรียบเทียบกับข้อมูลตรวจวัดด้วยสถิติสำหรับการวิจัยคือหาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ค่าความเอนเอียง (Bias) และค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง (Root Mean Square error; RMSE) ผลการวิจัยพบว่า ตัวเลือก RUC land-surface สามารถจำลองค่าอุณหภูมิสูงสุดรายวันและอุณหภูมิเฉลี่ยรายวัน ได้ดีที่สุด ส่วน ค่าอุณหภูมิต่ำสุดรายวัน ตัวเลือก Noah land-surface ให้ผลการจำลองใกล้เคียงกับข้อมูลตรวจวัดมากที่สุด
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2290
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ธีรพันธุ์ แซ่โซ้ง_2562.pdf7.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น