Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2174
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคเหนือตอนบน
Other Titles: The Development of a Lifelong Learning Model for the Ethnic Elderly in the Upper Northern Region
Authors: สุวัตถี, พรรณี
Suwatthee, Panee
Keywords: รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สังคมผู้สูงวัย
กลุ่มชาติพันธุ์
Lifelong Learning Model
Ageing Society
Ethnic Group
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The objectives of this mixed-method research were to investigate the current contexts, problems and needs in lifelong learning of the ethnic elderly in the Upper Northern region, to construct a lifelong learning model for the ethnic elderly, and to propose a policy direction in establishing a lifelong learning institute for the elderly to Chiang Mai Rajabhat University. The purposive sampling method was applied to select the sample groups, which consisted of 150 ethnic elderly individuals from five ethnic groups, namely, Karen, Hmong, Lahu, Lisu and Lua, with 30 representatives from each ethnic group; 25 specialists working for the ethnic elderly; and seven experts who were administrators of Chiang Mai Rajabhat University. The research instruments were composed of a semi-structured interview, topics for group discussions, a questionnaire, and an assessment for verifying and confirming the model. The quantitative data were statistically analyzed for percentage, mean, and standard deviation. The content analysis was used to analyze the qualitative data and the results were presented descriptively. The research results are summarized as follows. 1. For the current contexts and needs in lifelong learning of the ethnic elderly, it was revealed that the five ethnic groups have still led their simple and sufficient ways of life while maintaining their ethnic practices, customs, traditions, cultures, beliefs, faiths, and pride in their ethnic identities. For the problems of the ethnic elderly, it was revealed that they had had physical sicknesses and did not receive adequate medical checkups and treatments from community hospitals. Regarding their welfare and security of life, they had not had sufficient subsistence allowance as well as land ownership for residence and farming, and were obliged to adapt to social changes of today. With regard to the needs for lifelong learning, it was found that the majority of them wanted to look after their physical and mental wellbeing by themselves and have hygienic nutrition, free annual medical checkups, home visits for village security, and increased welfare and benefits from the state. They also wanted to help themselves and their families to become happy with better quality of life, as well as to conserve their ethnic cultures, traditions, identities, and wisdom for future generations. 2. The constructed lifelong learning model for the ethnic elderly consisted of three components: healthcare, welfare and life security, and co-existence in the ethnic society. Each component contained contents, learning methods, and learning media. The model was assessed and verified by the experts and they agreed on the model’s propriety, feasibility, accuracy and utility, which could be implemented for lifelong learning of the ethnic elderly. 3. For the policy direction to establish a lifelong learning institute for the elderly of the university in response to the five-year university strategies (2021-2025), it was proposed that 1) the university deem the establishment of the institute as “a university agendum” due to its strengths and opportunities in terms of personnel and facilities, acceptable and well-known multidisciplinary programs, local collaboration networks, and clear state support for improving the life quality of the elderly. Nevertheless, the weaknesses and threats included recruitment of specialized and willing personnel and inadequate state budget allocation. 2) The Mae Sa Campus in Mae Rim district should be used as the training center for the development of the elderly’s quality of life. The center could offer short training programs for the elderly to participate and learn according to their needs and interests. The center could also provide academic training services to instructors and students because of its prime location that could well facilitate collaboration with concerned agencies. 3) An academic collaboration network with both state and private agencies should be established in an attempt to collectively drive educational management for the elderly in a holistic manner. 4) A collaborative management guideline should be implemented in a related and integrated cross-science manner within the university, particularly with the King’s Philosophy Center for Local Development and the Bureau of Arts and Culture.
Description: การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน และ3) เสนอทิศทางการพัฒนานโยบายการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน 5 ชนเผ่า ประกอบด้วย กะเหรี่ยง ม้ง ลาหู่ ลีซอ และลัวะ ชนเผ่าละ 30 คน รวม 150 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 25 คน และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม และแบบประเมินเพื่อตรวจสอบและยืนยันรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมผู้สูงวัยกลุ่ม ชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน พบว่า ชนเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง ลาหู่ มูเซอ และลัวะ ส่วนใหญ่มีการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายและพอเพียงตามวิถีชนของแต่ละเผ่า ซึ่งยังคงปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมด้วยความเชื่อ ความศรัทธา และความภาคภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชนเผ่าตนเอง เมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย พบว่าส่วนใหญ่ประสบปัญหา 1) ด้านสุขภาพร่างกายเจ็บป่วยไม่ได้รับความสะดวกในการตรวจดูแลรักษาจากโรงพยาบาลในชุมชนเท่าที่ควร 2) ด้านสวัสดิการและความมั่นคงของชีวิต พบว่าเบี้ยยังชีพไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและทำมาหากิน และต้องปรับตัวยอมรับสิ่งใหม่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลง สำหรับความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพกาย และสุขภาพจิตด้วยตนเอง มีภาวะโภชนาการที่ถูกหลักอนามัย ได้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปีฟรี มีการเยี่ยมบ้านเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน ได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์จากรัฐเพิ่มขึ้น ต้องการช่วยเหลือตนเองและครอบครัวให้มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมปัจจุบัน ตลอดจนต้องการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นภูมิปัญญาอัตลักษณ์ของแต่ละชนเผ่าเพื่อส่งต่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้สืบทอด 2. รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ 1) การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย 2) สวัสดิการและความมั่นคงของชีวิต และ 3) การอยู่ร่วมกันในสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ ในแต่ละด้าน มีรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหา วิธีการเรียนรู้ และสื่อประกอบการเรียนรู้ โดยผ่านการประเมินและตรวจสอบรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และการนำไปใช้ประโยชน์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน 3. ทิศทางการพัฒนานโยบายการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่จะตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยระยะ 5 ปี (พ.ศ.2564-2568) ประกอบด้วย 1) ควรกำหนดให้เป็น “วาระแห่งมหาวิทยาลัย” เรื่องการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากมีจุดแข็งและโอกาสด้านความพร้อมของบุคลากรและอาคารสถานที่ มีหลักสูตรที่เป็นสหวิทยาการเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียง รวมทั้งมีเครือข่ายในพื้นที่สามารถเชื่อมโยงในการทำงานได้ดี ตลอดจนรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เด่นชัด แต่ยังมีจุดอ่อนและอุปสรรค อาทิ การสรรหาบุคลากรเฉพาะด้านที่มีความเต็มใจและการได้รับจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน 2) ควรใช้พื้นที่ศูนย์แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีหลักสูตรระยะสั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้ามาร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจโดยกำหนดให้เป็นแหล่งฝึกงานบริการวิชาการสำหรับอาจารย์และนักศึกษา เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสมสามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี 3) ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้ผู้สูงอายุในลักษณะ “สุขภาวะองค์รวม” และ4) ควรใช้แนวการบริหารจัดการร่วมกันในลักษณะศาสตร์สัมพันธ์และศาสตร์บูรณาการแบบข้ามศาสตร์ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะศูนย์ศึกษาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2174
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)802.58 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)758.71 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)915.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3 )407.83 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4 )1.19 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่5 )590.92 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1 (บทที่1 )417.61 kBAdobe PDFView/Open
Bibiology.pdfฺBibiliography (บรรณานุกรม)841.28 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)262.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.