Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1939
Title: การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The Needs Assessment to Develop Guidance Services of Schools Under Office of The Basic Education Commission in Chiang Mai
Authors: ดร.มนตรี, อินตา
Keywords: การประเมินความต้องการจำเป็น
งานบริการแนะแนว
สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
Need Assessment
Guidance Services
Office of The Basic Education Commission
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างสังกัดและขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกัน 3) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว จำนวน 36 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 654 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนว และ 2) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t- test) ด้วยการเปรียบเทียบรายคู่ (Paired-Samples T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิธี Modified Priority Needs Index (PNIModified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ โดยคะแนนเฉลี่ยของสภาพที่เป็นจริงของงานบริการแนะแนวในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยบริการสนเทศมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือบริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล บริการจัดวางตัวบุคคล บริการติดตามและประเมินผล และบริการให้คำปรึกษา ตามลำดับ ส่วนในสภาพที่ควรจะเป็นของงานบริการแนะแนวอยู่ในระดับสูงมาก โดยบริการจัดวางตัวบุคคลมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือบริการสนเทศ บริการให้คำปรึกษา บริการติดตามและประเมินผล และบริการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล ตามลำดับ และการทดสอบค่าที พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการดำเนินงานบริการแนะแนวในโรงเรียน ทั้งในสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดที่แตกต่างกันระหว่างสังกัดสพป.และสพม. จะมีคะแนนเฉลี่ยการดำเนินงานแนะแนวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนสังกัดสพป. มีคะแนนเฉลี่ยการดำเนินงานแนะแนวทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนโรงเรียนสังกัด สพม. มีคะแนนเฉลี่ยการดำเนินงานแนะแนวทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้โรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันระหว่างขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และใหญ่พิเศษ จะมีคะแนนเฉลี่ยการดำเนินงานแนะแนวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่พิเศษ มีคะแนนเฉลี่ยของการดำเนินงานบริการแนะแนวสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 3. ผู้บริหาร ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษา และนักเรียน มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียนทุกด้าน โดยมีค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.17 -0.29 เมื่อจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียนทั้ง 5 ด้าน พบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน ลำดับที่ 1 คือ บริการจัดวางตัวบุคคล (PNIModified = 0.29) รองลงมาคือ บริการให้คำปรึกษา (PNIModified = 0.27) บริการติดตามและประเมินผล (PNIModified = 0.26) บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล (PNIModified = 0.20) และบริการสนเทศ (PNIModified = 0.17) ตามลำดับ 4. ความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ สามารถสรุปได้ดังนี้ 4.1 ผู้บริหาร เสนอว่า ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรเข้ามาช่วยสนับสนุนให้งานแนะแนวมีประสิทธิภาพ และช่วยเหลือให้นักเรียนได้รู้จักและทำความเข้าใจตนเองมากที่สุดทั้งในด้านการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูที่ปฏิบัติหน้าที่แนะแนวทุกๆ ปี และมีครูแนะแนวในโรงเรียนสังกัด สพป. ทุกโรงเรียน 4.2 ครูแนะแนว เสนอว่า ผู้บริหารควรให้ความสำคัญต่องานแนะแนว มีบุคลากรด้านการแนะแนวอย่างเพียงพอกับจำนวนนักเรียนแต่ละโรงเรียน มีห้องแนะแนวเป็นเอกเทศ มีครูแนะแนวที่มีวุฒิทางการศึกษาแนะแนวโดยตรง และควรมีโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นที่เก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนในรูปแบบระบบออนไลน์ เช่น ประวัตินักเรียน ระเบียนสะสม การให้บริการการศึกษาต่อ รวมถึงการให้คำปรึกษาทางออนไลน์ 4.3 ครูที่ปรึกษา เสนอว่า ควรดำเนินการบริการแนะแนวให้เป็นระบบและครอบคลุมทุกงาน มีครูแนะแนวเพิ่มตามความต้องการและสอดคล้องกับจำนวนของนักเรียน ทุกโรงเรียนควรมีการพัฒนางานแนะแนวให้เป็นระบบ มีการจัดกิจกรรมแนะแนวอย่างต่อเนื่อง มีกล่องแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดบริการแนะแนว และการพัฒนางานแนะแนวในโรงเรียน ควรทำเป็นระบบทั้งโรงเรียน ผู้บริหาร ครู นักเรียน และบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนต้องร่วมมือกัน 4.4 นักเรียน เสนอว่า โรงเรียนควรมีห้องรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษา กล่องแสดงความคิดเห็น มีการจัดหาแหล่งงานที่นักเรียนสามารถทำงานพิเศษหรือหารายได้พิเศษระหว่างเรียน มีการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนและการจัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ยากไร้ มีการจัดกิจกรรมแนะแนวที่หลากหลายและน่าสนใจ มีค่ายแนะแนวการศึกษาต่างๆ และเชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์จริงหรือพี่ๆ ในสาขาอาชีพต่างๆ มาแนะแนวทางในการเรียนต่อในสาขาอาชีพนั้นๆ และมีการจัดเรียนเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนหลังเลิกเรียน
Description: The objectives of this research were (1) to study the needs of developing guidance services of schools under office of the basic education commission in Chiang Mai, (2) to compare needs of developing guidance services of schools under office of the basic education commission in Chiang Mai between under and schools size in the difference, (3) to prioritize needs of develop guidance services of schools under office of the basic education commission in Chiang Mai, (4) to propose the approaches of developing guidance services of schools under office of the basic education commission in Chiang Mai. The sample was 36 consisted of administrators, guidance teachers, advisors, and the students were 654 secondary schools in schools under the office of the basic education commission in Chiang Mai. That was selected with Stratified Random Sampling. Research instruments were questionnaire and unstructured interview. Data were analyzed using frequency, percentage, standard deviation, paired-samples T-test, One-way ANOVA, Modified Priority Needs Index and content analysis. The research findings were as follows; 1. The needs for developing guidance service of schools under the office of the basic education commission in Chiang Mai, The reality of guidance service was a high level in overall. The information service was at the highest level as follows; Individual inventory service, Placement service, Follow – up service and Counseling service, respectively. Moreover, The should be of guidance service was at a very high level in overall. The placement service was at the highest level as follows; Information service, Counseling service, Follow–up service, Individual inventory service, respectively. T-test was found that the average score of guidance service in schools both in reality and should be had a statistically significant difference at the .05 and show that the administrators, guidance teachers, advisors, and the students need to develop guidance services of schools in all aspects. 2. The schools of difference under was an average score of performance for guidance services were significantly different at the .05 level. The primary schools were an average score in overall and aspects of middle level, while the secondary schools were an average score in overall and aspects of a high level. In addition, the schools of different sizes was an average score of performance for guidance service were significantly different at the .05 level. 3. The administrators, guidance teachers, advisors teacher, and students had the most critical need in all aspect of the developing guidance services as follows; Placement service (PNIModified = 0.29), Counseling service (PNIModified = 0.27), Follow – up service (PNIModified = 0.26), Individual inventory service (PNIModified = 0.20), and Information service (PNIModified = 0.17) 4. The guideline and approach to developing guidance services in schools under the Office of the Basic Education Commission Chiang Mai Province can be summarized as follows; 4.1 The Administrators suggested that all organizations involved in the education to support the guidance effectively and helping students to know and understand themselves in education and future career. The training for teachers who guidance tasks in every year and should be guidance teachers in every primary school. 4.2 The Guidance teachers suggested that administrators should emphasize on guidance services, there should be adequate guidance personnel for the number of students in school, there is guidance room, guidance teachers with educational guidance degree, and should have a program or application for record students information online systems such history of students, collection records, education service, Including providing counseling services in online systems. 4.3 The advisor teachers suggested that should be managed as a guidance services system and cover all services, there are additional guidance teachers according to the needs and number of students, the schools should develop guidance systems, there are ongoing guidance activities, a box for students to comment on guidance services and the development of guidance in schools, should be systems for both schools, administrators, teachers, students and personnel in all functions in the school to cooperate 4.4 Students suggested that the school should have a counseling room, a box for comment on guidance services, provide a workplace for students to part-time, managed to learn outside the classroom and field trips, supporting the scholarships for poor students, there are many guidance activities and interesting, educational guidance camps, invited the person of the experience to guide students in those professional fields and take an extra tutorial class for students.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1939
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)371.87 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)428.63 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)480.48 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่1)472.8 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่2)705.18 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่3)601.42 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่4)1.65 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่5)583.13 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)508.81 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.