Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1383
Title: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ ของกลุ่มธุรกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ปีที่ 3
Authors: พิชญานันท์, อมรพิชญ์
Keywords: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ
ของกลุ่มธุรกิจชุมชน
Issue Date: 2560
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ต่อการแบ่งปันและการปรับตัว ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน และเพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางเตรียมความพร้อมของกลุ่มธุรกิจชุมชน กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณจะอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์เนื้อหามาประมวลเพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า วิธีการเตรียมความพร้อมในองค์กร (อปท.) ของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 10 ประเด็น สำหรับแนวทางรับมือการเตรียมความพร้อมในองค์กร (อปท.) ของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น มีทั้งหมด 11 ประเด็น ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในองค์กร (อปท.) ของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น มีทั้งหมด 16 ประเด็น สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในองค์กร (อปท.) ของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น มีทั้งหมด 12 ประเด็น และวิธีการเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่นเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 20 ประเด็น สำหรับแนวทางรับมือการเตรียมความพร้อมในองค์กร (อปท.) ให้กับชุมชนของกลุ่มธุรกิจชุมชน มีทั้งหมด 11 ประเด็น ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานให้กับชุมชนของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น มีทั้งหมด 15 ประเด็น สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคให้กับชุมชนของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น มีทั้งหมด 12 ประเด็น ความช่วยเหลือที่ต้องการและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อการเตรียมความพร้อมของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น ความช่วยเหลือที่ต้องการและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อการเตรียมความพร้อมของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น มีทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ (1) เชิญวิทยากรเข้ามาให้ความรู้อาเซียน ความรู้ด้านภาษา และกระทบเชิงบวกเชิงลบ รวมถึงโอกาสในการพัฒนาชุมชนหลังเปิดประชาคมอาเซียนและจัดทำคู่มือเผยแพร่ในเรื่องของอาเซียน (2) แนะนำวิธีการเตรียมความพร้อมในการรับมือจากแรงงานต่างด้าว และปัญหาโรคติดต่อ (3) เข้ามาช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวในชุมชน และ (4) ประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชนและร่วมหาวิธีแก้ไขร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนในท้องถิ่น กระบวนการกำหนดกลยุทธ์แผนเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดยรายละเอียดปัจจัยภายในด้านจุดแข็งที่ชุมชนพิจารณาเลือก คือ การสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณในการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยเน้นสินค้าที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านจุดอ่อน คือ ประชาชนและบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ เช่น ความรู้ด้านภาษาอาเซียน ส่วนปัจจัยภายนอกที่จะนำมากำหนดกลยุทธ์นั้น ด้านโอกาสชุมชนได้พิจารณาเลือก คือ ชุมชนมีกิจกรรมส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชน และด้านอุปสรรค คือ ขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีและการตลาด ผลการวิเคราะห์ในกระบวนการกำหนดกลยุทธ์แผนเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจชุมชน สามารถกำหนดกลยุทธ์ ได้ 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์พลิกฟื้น คือ อปท. ส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และให้ความรู้ด้านภาษาอาเซียนภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและ อปท. ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และให้ความรู้ด้านภาษาอาเซียนควบคู่การทำงาน (2) กลยุทธ์ตัดทอน คือ อปท. ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่การให้ความรู้ด้านภาษาอาเซียน (3) กลยุทธ์เชิงรุก คือ อปท. สนับสนุนในเรื่องของงบประมาณในการส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการส่งเสริมสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและ อปท. สนับสนุนในเรื่องของงบประมาณในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พร้อมทั้งนำเสนอสินค้าที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (4) กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ เสถียรภาพ คือ อปท. สนับสนุนในเรื่องของงบประมาณในการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเป็นช่องทางการตลอดออนไลน์ หลังจากที่ชุมชนทราบกลยุทธ์ทั้ง 4 ประเภทข้างต้น ชุมชนได้จัดทำโครงการโครงการวิสาหกิจชุมชนประติมากรรมดินเผาบ้านป่าตาล เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน/ชุมชนรับรู้และเข้าใจเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ. 2560 และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ (ด้านภาษา ด้านสื่อเทคโนโลยี และสื่อประชาสัมพันธ์) ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของข้าราชการ รวมทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายกับประชาชนในการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมอาเซียน โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านการจัดทำแผนงานและโครงการผ่านเทศบัญญัติขององค์กรชุมชน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งโครงการวิจัยในระยะต่อไปจะได้ดำเนินการปฏิบัติการและติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดผลสมบูรณ์ของกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรอบประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นต่อไป
Description: This research aims to develop the strength of Chiang Mai community business towards sharing and adaption under ASEAN community and also suggest the guidelines to increase the potentialtiy of Chiang Mai community business. It is the qualitative research and supported by quantitative research from primary data of 2,064 communities in Chaing Mai. Participatory action research including positive and negative analysis were used in this study. Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation as well as content analysis were also used to fulfill the quantitative data. The result was that there were 10 issues to prepare the community business which belong to local administrative organizations when ASEAN community are opened and 11 issues that local administrative organizations should be prepared. 16 issues related to problems of local adminstrative organizations. 12 guidelines to solve problems of local adminstrative organizations. There were 20 issues for community business and 11 issues for local administrative organizations to prepare themselves when ASEAN community starts. There were 15 issues of problems concerning the local administrative organization’s operation and 12 issues for problems solving of community business. In addition, 4 guidelines were also suggested to make the readiness of community business; 1) invite the experts to give knowledge in ASEAN , language and the impact for community both positive and negative towards community after ASEN community were opened as well as making the guidebooks relate to ASEAN and distributed to local people; 2) suggest local people how to make the readiness to confront the problems of alien labours, contagious diseases; 3) promote and motivate community tourism and 4) make the collaboration with leaders of communities and look for ways to solve problems order to make local people understand. In addition, strategic plan to increase the potentiality of Chiang Mai local community business consist of supporting the budgets to build and develop the small and micro community business in order to create income for people. People however lack knowledge in ASEAN language. Concerning the opportunity, people have activities to preserve the environment and natural resource. They however lack knowledge in technology and marketing. This study could create 4 strategies to increase the potentiality for community business; 1) turn around strategy; local administrative organization should promote the forming of community business groups and give knowledge in ASEAN language for small and micro community enterprise; 2) retrenchment strategy ; local administrative organizations should promote people to learn how to inherit local knowledge and give knowledge in ASEAN language; 3) aggressive strategy; local administrative organization should support the budgets to promote the environmental preservation products from communities and develop the tourist attraction and 4) stability strategy; local administrative organizations should support the budgets to build and develop the small and micro community enterprises by using technology as the online market. This study could motivate local community to make the project namely Patan Small and micro business enterprise. This project aims to make the readiness for people in community to access to ASEAN community. This project had provided knowledge and skill both in language and media of public relations for civil servants and created network with local people to become ASEAN community. This project was supported by local administrative organization in 2018.The next phase of study will follow up and evaluate the result of study to fulfill the strategy to increase the potentiality of local administrative community organizations under ASEAN community.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1383
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover500.51 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract748.88 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent665.93 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter 1511.9 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter 21.48 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter 3932.12 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter 41.25 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdfChapter 5845.77 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 6.pdfChapter 6667.37 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography590.66 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix629.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.