Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1338
Title: การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน
Authors: เบญจมาศ, สันต์สวัสดิ์
ปภากร, สุทธิภาศิลป์
Keywords: ส่งเสริมการผลิตสินค้า
เกษตรอินทรีย์
การแข่งขันในอาเซียน
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในชุมชน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 ตำบล 3 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้าน การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชมคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 3 กลุ่มเกษตรกร ในส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็งคือ กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต การตลาดและการแปรรูปสินค้าเกษตร และสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้ แต่ยังคงมีจุดอ่อนคือ กลุ่มเกษตรกรยังไม่สามารถควบคุมปริมาณการผลิตสินค้าในแต่ละรอบ การผลิตได้ และอำนาจในการต่อรองพ่อค้าคนกลางยังมีไม่มาก ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ กลุ่มมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนคอยให้ความช่วยเหลือ ด้านความรู้แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ และมีตลาดรองรับในการจัดส่งสินค้าเกษตรของกลุ่ม ส่วนอุปสรรคที่สำคัญคือ การตลาดมีการแข่งขันกันในพื้นที่สูงทั้งด้านราคาและปริมาณสินค้าเกษตร จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าวสามารถนำมาสร้าง แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน ทั้งหมด 6 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ กลุ่มเกษตรกรชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ควรคำนึงถึงระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นการรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย อีกทั้งควรให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างถูกต้องแก่เกษตรกร จากผู้นำกลุ่ม หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเกษตรอินทรีย์ หน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และ การส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ให้มีหมู่บ้านอินทรีย์ (Organic Village) ซึ่งเป็นสถานที่รองรับสินค้าเกษตรอินทรีย์สด/แปรรูป และเป็นแหล่งกระจายจำหน่ายสินค้าของชุมชน (ร้อยละ 20.00) รองลงมา คือ การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มีมาตรฐานที่รองรับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค โดยเครื่องหมายหรือตรารับรอง PGS ที่ผ่านการรับรองที่เป็นทางการของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล จากสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับ ในหลายประเทศ อีกทั้งการส่งเสริมการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชนให้ตรงกับมาตรฐานและความต้องการของประเทศหรือกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ เพื่อสร้างตลาดที่ใหญ่ขึ้น และควรสร้างกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็งในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ขยายเครือข่ายทั่วทั้งตำบล หรืออำเภอ เพื่อให้เกิดพื้นที่สีเขียว พร้อมทั้งมีการควบคุมการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก มีการตรวจสอบภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 13.33) ทั้งนี้การวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการส่งเสริม การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของทุกชุมชนทั้ง 207 ตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นทำ การคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาเป็นตัวแทนของชุมชนในการวางแผนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน ต่อจากนั้นการวิจัยควรบูรณาการการทำงานกับชุมชนนอกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการขยายผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ร่วมกับชุมชนในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด
Description: This research aims to study and develop the potentiality of agricultural communities in Chiang Mai concerning the promotion of organic agricultural products’ production of communities in Chiang Mai to compete in ASEAN. It is the qualitative research and supported by quantitative analysis from the primary data of 3 groups of agriculturists who were willing to attend the project. Participatory action research, SWOT analysis and Michael E Porter’s diamond model were used in this study. Descriptive statistics including 6 dimensions were also used to evaluate the achievement of development in this study. The study found that the strengths of these 3 groups were that members were specialized in production, marketing and processing agricultural products as well as transfer knowledge to other people who are interested. Their weaknesses were that they can not control the quality of production in each production cycle. They lack power to negotiate with middlemen. They however were supported in knowledge by other organizations and had market support. The threats were that market was highly competitive both price and quantity of products. 6 issues of guidelines to develop and promote organic agricultural products of Chiang Mai communities were created to compete in ASEAN. The most importance issue was that agriculturists in Chiang Mai should realize to the system of agricultural production which emphasizes in retaining the natural balance and biodiversity in which ecology management is similar to nature. They should avoid to use synthetic, plants or animals from genetically modified causing pollution to environment. Groups’ leaders and organic experts and government should give suitable knowledge and understanding concerning organic agriculture to agriculturists. In addition, they shoul promote agriculturist to have organization village as the distribution center for the communities (20.00%). Then they should develop organic agricultural products to be standard and accredited as well as receive trust mark PGS from IFOAM. Moreover, it should promote to develop organic products of communities to be consistent with the standard and the needs of target groups. Also, capable organic agriculturists should be created and enlarge networks in Chiang Mai as well as control chemical use in planting (13.33%). The next phase should study the impact of ASEAN toward agriculturist ‘ groups concerning the promotion of organic agricultural product production of communities of 207 communities in Chiang Mai . Then it should select potential agricultural communities to be the delegates and make a plan to develop the promotion of organic agricultural products’ production of communities in Chiang Mai to compete in ASEAN. They shoud integrate to work with other communities and make plan to promote the production of organic agricultural products with other communities in 9 countris of ASEAN so that it can help to develop the agricultural products sustainably.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1338
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover466.77 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract297.84 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent519.27 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1587.71 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-21.13 MBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3656.76 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-4553.98 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-5761.89 kBAdobe PDFView/Open
9.Chapter-6.pdfChapter-6611.77 kBAdobe PDFView/Open
10.Bibliography.pdfBibliography421.99 kBAdobe PDFView/Open
11.Appendix.pdfAppendix1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.