Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1331
Title: การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของการวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน
Authors: ปรารถนา, มินเสน
Keywords: เศรษฐกิจอาเซียน
ภาคการเกษตรของชุมชน
มูลค่าเพิ่มของการวิจัย
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของการวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้ง 10 ประเด็น ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 17 ตำบล 20 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านการเกษตร เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชาคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมี ส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และอภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ยังคงมีจุดอ่อนคือ เกษตรกรยังขาดความสามารถในการผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณที่มาก และยังขาดความสามารถในการควบคุมปริมาณ คุณภาพผลผลิตในแต่ละรอบการผลิต รวมถึงอุปสรรคที่สำคัญคือ ตลาดสินค้าเกษตรไม่มีความหลากหลาย การวิจัยจึงได้เพิ่มศักยภาพของกลุ่มผ่านกิจกรรมทั้ง 3 โครงการ คือ การอบรม “แนวปฏิบัติมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย” การอบรม “บรรจุภัณฑ์และการพัฒนาต่อยอดสินค้าเกษตร” ในประเด็น เรื่อง เทคโนโลยีการบรรจุสำหรับสินค้าเกษตรและบรรจุภัณฑ์กับการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร และการอบรม “แนวทางการประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชน” และพบว่ากลุ่มเกษตรกรมีผลการประเมินศักยภาพเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.63 ซึ่งช่วยในการพัฒนาต่อยอดให้กับกลุ่มเกษตรกรให้ได้ผลลัพธ์ 9 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรมากที่สุด ร้อยละ 25.45 2) ด้านการพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชน ร้อยละ 16.36 3) ด้านการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร ร้อยละ 16.36 4) ด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐในชุมชน ร้อยละ 10.91 5) ด้านการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัย ร้อยละ 9.09 6) ด้านการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตร ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 7.27 7) ด้านการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 5.45 8) ด้านการต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ร้อยละ 5.45 และ 9) ด้านการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ ร้อยละ 3.64 จึงควรให้เกษตรกรเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของกลุ่มเป็นลำดับแรก ซึ่งจะสามารถแข่งขันในประชาคมอาเซียนได้
Description: This study aims to analyze value added of research and develop the potentialities of agriculture of Chiang Mai communities to compete in ASEAN base on sufficiency economy philosophy. It was the qualitative research and supported by quantitative research from the primary data of 20 groups of agriculturists from 17 districts attending the project. All of these groups had potentialities to develop the agricultural products. Participatory action research, SWOT analysis and discussed the result by descriptive statistic such as means The research found that the weaknesses of agriculturists’ potentialities were that they lacked ability to produce a lot of products and controlled the quantity of productivity in each production cycle. Their threats were that markets had varieties. As a result, training of people were held to increase the potentialities of all these groups; the first training was guideline for the standard of agriculture of safety products; the second training was packaging and development to expand agricultural products on the topic of package technology for agricultural product and packaging for creating agricultural value added and the third training was guideline to apply application for farm management and production of commercial intellectual property. Groups of agriculturists’ potentialities had been 9.63% increased . Thus it could help to expand their operation and got 9 issues of the outcomes as follow; 1) increase the efficiency of agricultural products 25.45% was the highest of increase 2) develop the marketing of agricultural products for community 16.36%; 3) inspect and develop standard of agricultural products; 4) promote agriculture of governmental organizations in communities 10.91%; 5) develop and expand agricultural products to be food safety 9.09%; 6) develop agricultural business groups base on sufficiency economy philosophy5.45%; 7) promote organic agricultural production 5.45%; 8) expand agriculture of communities for commercial and public advantages 5.45% and 9) develop agricultural economic system of communities creatively 3.64%. As a result , agriculturists should accelerate to develop the efficiency of production as the first priority to compete in ASEAN community.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1331
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover496.27 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract289.98 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent652.92 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1593.84 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-21.17 MBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3637.28 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-4699.07 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-51.7 MBAdobe PDFView/Open
9.Chapter-6.pdfChapter-6653.98 kBAdobe PDFView/Open
10.Bibliography.pdfBibliography455.38 kBAdobe PDFView/Open
11.Appendix.pdfAppendix2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.