Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1111
Title: การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กับท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ปีที่ 3
Authors: กาญจนา, สุระ
Issue Date: 11-Dec-2016
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: This research aims to study 1) the potentiality in management of Chiang Mai local community; 2) to analyze the suitable pattern of Chiang Mai local community consist of small and micro economic enterprise (smce) , cultural tourism, historical tourism, medical tourism and agro-tourism and 3) analyze guidelines to enhance the potentiality in management of Chiang Mai local community. It is the qualitative research and supported by the quantitative analysis. Primary data were from 40 groups of tourism in Chiang Mai. SWOT analysis, interviewing, evaluation the potential in management of tourism in Chiang Mai as well as sharing the opinions among researchers, communities and experts in tourism management were used to collect the data. Descriptive analysis such as mean and standard deviation were used to analyze the data. The result was that the potential of tourism management of local communities in Chiang Mai such as small and micro economic enterprise, cultural tourism, medical tourism, agro-tourism and historical tourism were averagely moderate. These potentials consist of leadership and organizational management, accounting and finance, marketing as well as production. The suitable pattern of tourism in Chiang Mai; small and micro economic enterprise tourism is travelling to study and provide opportunities for tourists to study the production and service as well as do activities with local people. The suitable pattern of medical tourism is promote health and consumption of healthy food. Cultural tourism is to provide chances for tourists to study and see the culture of communities. Agro-tourism provide the opportunity to travel and learn way of life of farmers as well as purchasing goods from communities. Appropriate type of historical tourism is to study the historical sites, antiquities of communities. Guidelines to enhance the potential of Chiang Mai local tourism are as follow; small and micro economic enterprise base on identity concerning leadership and organization is that put the right man on the right job, create networking with small and micro economic community enterprise , make a record of accounting, analyze the benefit cost. They also should publicize continuously. Guidelines to maintain the potential and natural tourism base community is that they should survey the resources of communities and register the intellectual property, create understanding among people in communities to realize the value and importance of SMCE tourism. Concerning cultural tourism, they should divide the structure and set the duties of members. Leaders should decentralize the responsibilities to members. They should analyze their strength and weakness as well as benefit cost. They also cultivate sense of belonging of culture to people in communities. Concerning the medical tourism, it should cultivate service mind to members whose duties to promote medical tourism. They should make a record of accounting, analyze benefit cost, registered and make record of herbs, vegetables in communities. Concerning the agro-tourism, they should motivate and promote members to develop their potential and realize the importance of fundraising and value of agriculture. Concerning historical tourism, it should put the right man on the right job including decentralize the duty, make a record of accounting as well as renovate the historical sites.
Description: การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กับท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ปีที่ 3” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับสังเคราะห์รูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสมของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ อันประกอบไปด้วย วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ จนนำไปสู่การสังเคราะห์แนวทางการยกระดับการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ อย่างยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ข้อมูลปฐมภูมิได้จากกลุ่มท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 ชุมชน อาศัยกระบวนการ SWOT แบบสำรวจความคิดเห็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสมของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ แบบประเมินศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัย ชุมชน และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน จากนั้นนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติอย่างง่ายคือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีระดับศักยภาพปานกลางในทุกประเด็น ได้แก่ ศักยภาพของผู้นำและการบริหารจัดการองค์กร ศักยภาพการบริหารจัดการด้านการเงินและบัญชี ศักยภาพการบริหารจัดการด้านการตลาด และศักยภาพการบริหารจัดการด้านการผลิตและการให้บริการ สำหรับรูปแบบที่เหมาะสมของการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า รูปแบบการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชนตามอัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ คือ ธุรกิจชุมชนเชิงหัตถอุตสาหกรรมเพื่อการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวในลักษณะของการศึกษาเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเยี่ยมชม เรียนรู้การผลิตสินค้าและบริการของท้องถิ่น ตลอดจนทำกิจกรรมร่วมกับคนในท้องถิ่น ในส่วนของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เหมาะสมของท้องถิ่น คือ การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพและการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ในส่วนของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ คือ การเที่ยวชมวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในชุมชน ในส่วนของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรคือ ศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาในการทำการเกษตรของชุมชนท้องถิ่น และการเยี่ยมชม ศึกษา เรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกร ตลอดจนซื้อสินค้าและบริการทางด้านการเกษตร และรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม คือ การศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และวิถีชีวิต ทรัพยากรของชุมชน แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ อย่างยั่งยืน โดยการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชนตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของผู้นำและการบริหารจัดการองค์กร ใช้หลักจัดวางคนให้เหมาะสม กับงาน สร้างเครือข่ายกับชุมชนการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน การบันทึกบัญชีที่เป็นระบบ มีการคิดวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน ขณะเดียวกันในด้านการตลาดควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ แนวทางการรักษาศักยภาพและฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐทำการสำรวจทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและเชื่อมโยงทรัพยากรกับการท่องเที่ยวจดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาของทรัพยากรที่สำรวจและค้นพบ และสร้างความรู้ความเข้าใจตลอดจนทัศนคติของคนในชุมชนให้มองเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของการท่องเที่ยววิสาหกิจ กระตุ้นให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชนที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ส่วนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ควรมีการจัดแบ่งโครงสร้างของอำนาจหน้าที่ที่มีความชัดเจน โดยประธานจะต้องไม่รับทำงานหมดทุกอย่าง หาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาเป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม มีการวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มตลอดและทำอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนด้านการจัดสำรวจศักยภาพและฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเก็บไว้ในฐานข้อมูล ปลูกฝังความรักและความหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดและมอบไว้ ส่วนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพปลูกฝังความมี Service Mind ให้กับบุคลากรของชุมชนที่ทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ การบริหารจัดการด้านการเงินฝึกทำบัญชีอย่างเป็นระบบ มีการคิดต้นทุนและผลตอบแทน การบริหารจัดการด้านตลาด มีช่องทางการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย สำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติของทรัพยากรในชุมชน จัดทำบันทึกรายละเอียดของสรรพคุณของพืชผัก สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน ทำการจดลิขสิทธิ์ตำราทำการนวด เพื่อป้องกันการเลียนแบบและปลูกฝังความรักและความหวงแหนในทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ส่วนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร องค์กรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบุคลากรของกลุ่มได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง สร้างขวัญกำลังใจอย่างเหมาะสม กระตุ้นและรณรงค์ให้สมาชิกเห็นความสำคัญของของการระดมหุ้น โดยให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย สร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของคนในชุมชนให้มองเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของการทำการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โดยการบริหารจัดการองค์กร มีการจัดแบ่งหน้าที่คนในการทำงานให้มีความชัดเจน จัดคนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ควรมีการจัดแบ่งกลุ่มทางบัญชี มีการแจกแจงรายรับรายจ่ายที่ชัดเจน การบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตามเท่าที่ความสามารถของชุมชนจะกระทำได้ การระดมทุนเพื่อเก็บเป็นกองกลางในการบูรณะโบราณสถาน
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1111
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)623.37 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)273.08 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdf267.62 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdf309.52 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdf295.24 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdf492.52 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdf280.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdf494.95 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdf302.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.