Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/780
Title: การพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมชุมชน โดยองค์กรชุมชน ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: อุดาการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยี่ยมลักษณ์
คณะ
Keywords: การพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมชุมชน
Issue Date: 2549
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทชุมชนและศักยภาพชุมชนด้านศิลปวัฒนธรรมของตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (2) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมตำบลบ้านแหวน (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมโดยองค์กรชุมชนตำบลบ้านแหวน และ (4) ศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมโดยองค์กรชุมชนตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นวิธีการวิจัย การดำเนินการใช้การจัดเวทีประชาคมการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาดูงาน สังเกตและจดบันทึก เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยกรอบคำถามแบบเปิดในการสัมภาษณ์ระดับลึก ประเด็นการสนทนากลุ่มเป้าหมาย แบบสอบถามประวัติบุคคลที่เป็นครูภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและการตรวจสอบข้อมูลสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า ตำบลบ้านแหวนมีสภาพชุมชนแบบกึ่งสังคมเมืองกับสังคมชนบท เป็นสังคมแบบเปิด การดำรงชีวิตของคนในชุมชนเรียบง่ายโครงสร้างทางสังคมเน้นความสัมพันธ์แบบเครือญาติและให้ความสำคัญกับการนับถือความเป็นอาวุโสของคน ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่ปลอดผู้ไม่รู้หนังสือ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และได้รับการบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังมีการจัดการทุนในชุมชน ได้แก่ แหล่งน้ำ ดิน และกลุ่มองค์กรในชุมชนอยู่ในระดับดี เป็นผลทำให้เกิดพลังทางบวกขึ้นในชุมชน ปัญหาที่สำคัญของชุมชนคือ รายได้ต่อครอบครัวไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ปัญหาด้านการดูแลเด็กและเยาวชนและการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในชุมชนในด้านศิลปวัฒนธรรมชุมชนบ้านแหวนเป็นชุมชนหนึ่งของอำเภอหางดงที่มีศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับสูง ลักษณะของงานศิลปวัฒนธรรมของชุมชนแห่งนี้มีความหลากหลายและยังคงสภาพการดำรงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีกลุ่มองค์กรผู้นำของชุมชนให้ความสำคัญและแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในอนุรักษ์งานศิลปวัฒนธรรมนอกจากนี้ยังมีหน่วยงานในชุมชนให้การสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์ ได้แก่ องศ์การบริหารส่วนตำบลและสภาวัฒนธรรมระดับตำบลและระดับอำเภอ เป็นต้น แต่ยังขาดการทำงานด้านการอนุรักษ์ในเชิงรุก ขาดการวางระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และยังไม่มีการบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันตลอดทั้งการนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการการจัดการเรียนการสอนให้แก่เยาวชนในชุมชนอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตามชุมชนบ้านแหวนมีโอกาสที่จะเผยแพร่งานศิลปวัฒนธรรมของชุมชน เนื่องด้วยมีพื้นที่ติดต่อกับหมู่บ้านถวายซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวดังนั้นโอกาสในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนในอนาคตก็น่าจะมีเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศักยภาพของศิลปวัฒนธรรมของชุมชนบ้านแหวนยังคงดำรงอยู่มี 3 ประการคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน การพึ่งตนเองของชุมชน และกระบวนการสืบทอดระบบความคิดและความเชื่อในชุมชนมีความเข้มแข็งมาก จึงทำให้ชุมชนบ้านแหวนมีความต้องการที่จะพัฒนาศูนย์ศิลปวัฒนธรรมประจำตำบล เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ผลของการพัฒนาพบว่า ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมประจำตำบลบ้านแหวน มีรูปแบบเป็นศูนย์ข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมชุมชนบ้านแหวนที่พัฒนาขึ้นโดยองศ์กรชุมชนซึ่งมีความบริหารจัดการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมในระยะเริ่มแรกดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหวนและกำหนดไว้ว่าในอนาคตจะดำเนินการโดยองค์กรชุมชนเต็มรูปแบบ ข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมที่รวบรวมไว้ประกอบด้วยงาน 4 ด้าน ได้แก่ งานด้านศิลปะ มุ่งเน้นเฉพาะงานด้านหัตถกรรม ได้แก่ การทำโคมไฟ การทำต้องลาย การปั้นพระ การปั้นสิงห์ งานด้านประเพณี มุ่งเน้นประเพณีที่มีเฉพาะในชุมชนบ้านแหวน ได้แก่ ประเพณี กิ๋นอ้อพะญา งานด้านวัฒนธรรม มุ่งเน้นวัฒนธรรมด้านอาหาร ได้แก่ การทำแหนมการทำไส้กรอก และการแสดงการ ได้แก่ การเล่นเครื่องดนตรี และด้านบุคลากรเป็นภูมิปัญญาของชุมชนด้านศิลปวัฒนธรรม ข้อมูลทั้ง 4 ด้าน ได้จัดรวบรวมไว้ในรูปวิดิทัศน์ แผ่นพับ เอกสารและเว็บไซด์ โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงตัวอย่างงานหัตถกรรมที่โดเด่นของชุมชน ผลที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้ เป็นพลังสำคัญที่ช่วยจุดประกายให้ชุมชนมีกำลังใจและมองเห็นแนวทางในการส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชน รวมทั้งเกิดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทั้งด้านการวางแผน การปฏิบัติการและการประเมินผลแบบมีส่วนร่วม
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/780
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)752.79 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)435.44 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)378.21 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)9.85 MBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)759.17 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)477.33 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)1.42 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)594.73 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)413.82 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)7.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.