Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/599
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสิงฆราช, สมบัติ-
dc.contributor.authorSingkharat, Sombat-
dc.date.accessioned2017-12-06T06:02:48Z-
dc.date.available2017-12-06T06:02:48Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/599-
dc.descriptionการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิต จุดคุ้มทุน ประสิทธิภาพในการผลิต การระดมทุน การพัฒนากระบวนการผลิตและหารูปแบบวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสมกับทรัพยากรของท้องถิ่นเพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชนในกระบวนการผลิตลำไยอบแห้งสีทองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเหมืองกวัก หมู่ 5 และหมู่ 19 ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนโดยใช้กลุ่มตัวอย่างสำหรับการเก็บข้อมูล จำนวน 37 ครัวเรือน รวมจำนวนเตาอบทั้งหมด 66 เตา รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบกัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิตร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวนและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตใช้ฟังก์ชันเส้นพรมแดนการผลิต(Stochastic Frontier Function) วัดประสิทธิภาพของผู้ผลิตลำไยอบแห้งสีทองด้วยวิธีการ Data Envelopment Analysis (DEA) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยการเปิดเวทีชาวบ้าน ศึกษาปัญหา อุปสรรคและหาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัย พบว่า ต้นทุนรวมในการผลิตลำไยอบแห้งสีทองในฤดูต่อเตา เป็นเงิน 16,369.46 บาท ประกอบด้วยต้นทุนคงที่ 189.25 บาทและต้นทุนผันแปร 16,180.21 บาท ราคาเฉลี่ย 145.80 บาทต่อกก.(เกรด AAA) กำไรต่อเตา 1,855.54 บาท ราคา ณ จุดคุ้มทุน 130.95 บาท ต้นทุนรวมในการผลิตลำไยอบแห้งสีทองนอกฤดูต่อเตา เป็นเงิน 11,998.46 บาท ประกอบด้วยต้นทุนคงที่ 189.25 บาทและต้นทุนผันแปร 11,809.21 บาท ราคาเฉลี่ย 129.40 บาทต่อกก.(เกรด AA) กำไรต่อเตา 294.54 บาท ราคา ณ จุดคุ้มทุน 126.30 บาท การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต พบว่า โดยเฉลี่ยผู้ผลิตลำไยอบแห้งสีทองมีประสิทธิภาพทางเทคนิค(technical efficiency)มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96.9 ส่วนประสิทธิภาพทางด้านต้นทุน(cost efficiency)โดยเฉลี่ยผู้ผลิตมีประสิทธิภาพร้อยละ 90.1 ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม(allocate efficiency) ซึ่งเป็นสัดส่วนของประสิทธิภาพทางด้านต้นทุนต่อประสิทธิภาพทางเทคนิค คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 92.9 จากผลการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตผู้ผลิตส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มีประสบการณ์และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมมาจากความรู้ของครอบครัวในการผลิตลำไยอบแห้งสีทอง ส่วนประสิทธิภาพทางด้านราคาหรือต้นทุนนั้นผู้ผลิตไม่สามารถควบคุมราคาวัตถุดิบ(ลำไยสด)และราคาเชื้อเพลิง(ฟืน)ได้ ทำให้ประสิทธิภาพทางด้านต้นทุนต่ำกว่าประสิทธิภาพทางเทคนิค การระดมทุนจากสมาชิกเป็นไปได้ยากเนื่องจากกำไรต่อหน่วยต่ำการสะสมทุนจึงต่ำตามไปด้วยผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น การพัฒนากระบวนการผลิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับทรัพยากรของท้องถิ่นนั้น ผู้ผลิตทั้งหมดเห็นด้วยกับการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน กระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นปัญหาเนื่องจากขนาดการลงทุนไม่เหมาะสมผู้ประกอบการมีเงินลงทุนน้อยจึงใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่หาได้ภายในท้องถิ่นซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอาหาร ปัญหาขาดแคลนเงินทุนและแหล่งทุนสนับสนุนเป็นปัญหาระดับมากที่สุด ปัญหาราคาลำไยอบแห้งสีทองตกต่ำ ปัญหาราคาวัตถุดิบคือราคาลำไยสดในฤดูสูง ปัญหาราคาลำไยสดนอกฤดูสูง ปัญหาราคาฟืนสูงและหายาก ปัญหาการขาดการรวมกลุ่มในการผลิตไม่มีอำนาจต่อรอง เป็นปัญหาอยู่ในระดับมาก แต่อย่างไรก็ตามปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาในระดับน้อย เช่นเดียวกับปัญหามลพิษทางอากาศ ผู้ผลิตส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบจากการผลิต ได้แก่ กระบวนการผลิต วัสดุอุปกรณ์และโรงเรือนยังไม่ได้มาตรฐานการผลิตอาหารส่งผลทำให้คุณภาพของผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีอำนาจต่อรอง เนื่องจากในช่วงการผลิตต้องใช้เงินทุนสูง ไม่สามารถเก็บผลผลิตไว้ได้นาน เพราะไม่มีห้องเย็นเก็บผลผลิตและไม่มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ กำไรจากการผลิตต่อเตาต่ำทำให้การสะสมทุนต่ำไม่เพียงพอสำหรับการระดมทุนหรือสะสมทุนเพื่อขยายกิจการ แนวทางในการดำเนินการแก้ปัญหาคือ ผู้ประกอบการต้องรวมกลุ่มในการผลิตเพื่อต่อรองกับผู้ซื้อลำไยอบแห้งสีทอง ตลอดจนรวมกลุ่มในการซื้อวัตถุดิบ เชื้อเพลิงและรวมกลุ่มในการหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียน การหารูปแบบของวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสมกับทรัพยากรท้องถิ่นที่มีความเป็นไปได้คือ ผู้ผลิตต้องรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์ผู้ผลิตลำไยอบแห้งสีทอง โดยบริหารจัดการในรูปของสหกรณ์ การจัดจำหน่ายควรแยกบรรจุเพื่อการขายปลีกจะทำให้มูลค่าเพิ่มของผลผลิตสูงขึ้นจำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้น แก้ปัญหาการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ดังนั้นการรวมกลุ่มทั้งหมู่บ้านเพื่อเสนอโครงการให้หน่วยงานในท้องถิ่น เช่น เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้ามาช่วยเหลือสร้างโรงเรือนสำหรับ คัด แยกและบรรจุที่ได้มาตรฐานมากขึ้นตลอดจนการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานสำหรับการคัด แยกและบรรจุเพื่อให้การผลิตเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอาหารและยา(อย.)และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้หมู่บ้านเหมืองกวักหรือตำบลมะเขือแจ้เป็นแหล่งผลิตลำไยอบแห้งสีทองประจำจังหวัดลำพูนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของลำไยอบแห้งสีทองของจังหวัดต่อไปth_TH
dc.description.abstractThe purpose of this study were to investigate cost of production, break-even point, the efficiency and capital supporter of production those are suitable to the village self-sufficient economy, in regarding to community enterprises for golden dried longans production at Muang Kwak Village, Muang District of Lamphun Province. The samples of this study were 37 household (66 stoves). The research was designed as an applied study--it implemented techniques and procedures of qualitative and action research. Its data analysis was directed by utilizing statistic criterion as frequencies, percentages, means, variants and standard deviations. The analysis on producer’s efficiency was processed by Stochastic Frontier Function with Data Environmental Analysis (DEA) method. For action researching, public hearing technique was used to investigate the problems, the treats and the cooperates of community enterprises The findings indicated that costs of golden dried longans production are 16,369.46 baths per stove in the season which separated fixed cost are 189.25 baths and variable cost are 16,180.21 baths. The average prices are 145.8 baths per kilograms (grade AAA). The profits per stove are 1,855.54 baths and the prices at break-even are 130.95 baths. The costs of golden dried longans production are 11,998.46 baths per stove out of season which separated fixed cost are 189.25 baths and variable cost are 11,809.21 baths. The average prices are 129.40 baths per kilograms (grade AA). The profits per stove are 294.54 baths and the prices at break-even are 126.30 baths. The analysis of efficiency found that producer had technical efficiency more than cost efficiency because producer can not control the price of input (longans) but producer had the experience for along times to produce golden dried longans. The problem of production found that outputs are not qualified and tools for production are not standard and producer had not bargaining power, had small capital and had not freezing store. Path to solve this problems are producer cooperation for bargaining power to sell output, buy input, buy fuel and to seek the source of investment funds. Finally community enterprises for golden dried longans could to promote that Muangkwak Village is golden dried longans place of Lamphun Province.th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.format.mediumapplication/pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherChiang Mai Rajabhat Universityth_TH
dc.rights©copyright มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่th_TH
dc.titleการจัดการความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ในการผลิตลำไยอบแห้งสีทองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเหมืองกวัก หมู่ 5 ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูนth_TH
dc.title.alternativeThe Knowledge Management of Economics to develop community enterprises for golden dried longans at Muangkwak Village Muang Lamphun Province.th_TH
dc.typeResearchth_TH
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)448.74 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)502.08 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)560.7 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)695.75 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)926.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)462.84 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)1.78 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)509.95 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)496.63 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.