Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/591
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิลวรรณ, เดชวิทย์-
dc.contributor.authorNilwan, Dejawit-
dc.date.accessioned2017-12-06T04:26:30Z-
dc.date.available2017-12-06T04:26:30Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/591-
dc.descriptionการศึกษาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้วยการจัดการความรู้ ในการผลิตลำไยสีทองอบแห้งของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก ต.มะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการกลุ่ม วิเคราะห์งานในการดำเนินงานของกลุ่ม และศึกษาการไหลของงานเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน ซึ่งการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการศึกษาสภาพของการบริหารจัดการกลุ่ม มีการดำเนินการจัดเวทีชาวบ้าน สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การให้ความรู้ในลักษณะต่าง ๆ การเขียนผังความคิด และการใช้แบบสำรวจ แล้วนำข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณมาวิเคราะห์และประมวลผล ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สำหรับข้อมูลที่เป็นเชิงคุณภาพ นำมาวิเคราะห์และเขียนบรรยายให้เห็นความเชื่อมโยงของประเด็นต่าง ๆ สามารถสรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ ระบบการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก ในด้านการบริหารจัดการกลุ่ม พบว่าชาวบ้านยังไม่เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มกันเท่าที่ควร กลุ่มมีลักษณะของการจัดตั้งมากกว่าการก่อตั้ง เนื่องจากเป็นการรวมกลุ่มกัน เพื่อขอกู้เงินเป็นวัตถุประสงค์หลัก ทำให้การดำเนินกิจกรรมร่วมกันไม่จริงจังเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนากระบวนการผลิต การขายสินค้า หรือการจัดหาวัตถุดิบร่วมกัน อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาเกษตรกรบ้านเหมืองกวักได้มีการแบ่งกลุ่มในการทำกิจกรรม ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์สัจจะ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้านการขายชาวบ้านไม่ได้มีการรวมกลุ่มในการขายอย่างจริงจัง เกิดสภาพการขายในลักษณะต่างคนต่างขายและรีบขาย อำนาจการต่อรองจึงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากยังขาดความเข้าใจในเรื่องระบบตลาดและเน้นการผลิตเพื่อขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 78.6 การบรรจุภัณฑ์มีการบรรจุสินค้าในขนาดเดียว คือ ขนาด 5 กิโลกรัม และไม่มีตราสินค้า ด้านการผลิต พบว่าชาวบ้านต้องการผลิตให้ได้มาก ๆ ในช่วงระยะเวลาจำกัด คือ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตลำไยสดมีคุณภาพดี ด้านการเงิน พบว่าชาวบ้านมีปัญหาเงินทุนหมุนเวียน คิดเป็นร้อยละ 52.4 ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านต้องรีบขายลำไยอบแห้งออกไป จึงมีรูปแบบการบริหารเงินทุนหมุนเวียนในลักษณะวันต่อวัน กล่าวคือ อบเสร็จแล้วขายในวันถัดไปทันที หากไม่มีการขายลำไยที่อบแห้งแล้วออกไปก็จะไม่สามารถซื้อลำไยสดเพื่อมาทำการอบในรอบต่อไปได้ การวิเคราะห์งานในการดำเนินงานของกลุ่ม ทางผู้วิจัยได้ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมในการสร้างความเข้าใจในการรวมกลุ่ม การเขียนแผนและปัญหาในการดำเนินงานของกลุ่ม และการเขียนคำบรรยายลักษณะงาน เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่ม โดยจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างกลุ่มและเห็นความสำคัญในการรวมกลุ่ม เพื่อที่สมาชิกจะได้สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ตลอดจนช่วยให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการรวมกลุ่มกัน โดยมีการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ออกเป็น 10 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมละลายพฤติกรรม กิจกรรมลำเรียงบอล กิจกรรมหอยระเบิด กิจกรรมวงกลมตัวเลข กิจกรรมปะแป้ง กิจกรรมสุภาษิตคำพังเพย กิจกรรมโยนห่วงลงขวด กิจกรรมต่อจิกซอ กิจกรรมทำเค้ก และกิจกรรมพับเรือพับนก จากการจัดกลุ่มสัมพันธ์ เกษตรกรเกิดความเข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มกันมากขึ้น เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น จากการใช้แบบประเมินตนเองก่อนและหลังทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ พบว่า เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มกันมากขึ้น จากแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้น โดยมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากบ่อยครั้งเป็นทุกครั้ง ได้แก่ การมีส่วนร่วมในกลุ่มและให้ความช่วยเหลือสมาชิกภายในกลุ่ม จากค่าเฉลี่ย ( ) 4.07 เป็น 4.79 การมีความปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกอย่างของกลุ่ม จากค่าเฉลี่ย ( ) 4.17 เป็น 4.72 การแสดงบทบาทในการสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นภายในกลุ่ม จากค่าเฉลี่ย ( ) 3.69 เป็น 4.45 ความปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในกลุ่มและร่วมเปิดเผยเรื่องราวในชีวิตของฉัน จากค่าเฉลี่ย ( ) 3.86 เป็น 4.21 และการได้ดำเนินการให้เป้าหมายของตนเองมีความกระจ่างชัดภายในกลุ่ม จากค่าเฉลี่ย ( ) 4.04 เป็น 4.21 ส่วนความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการกลุ่ม พบว่า เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกันในระดับดี คือ ได้คะแนนร้อยละ 85 จากการตอบแบบสอบถาม ปัญหาในการดำเนินงานของกลุ่ม จากการเขียน Mind Map พบว่าปัญหาของลำไยอบแห้ง ที่สำคัญสามอันดับแรก ได้แก่ ปัญหาการขายสินค้าได้มูลค่าต่ำ ปัญหาต้นทุนเพิ่มขึ้น และปัญหาการลำไยอบไม่ได้ทั้งปี เป็นต้น ปัญหากลุ่มที่ไม่เข้มแข็ง สามอันดับแรก ได้แก่ ปัญหาผู้นำกลุ่ม (ต้องมีความน่าเชื่อถือ มีความเข้มแข็ง และเอาจริงเอาจังในการทำงานกลุ่ม) ปัญหาวิธีการบริหารจัดการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล (สมาชิก) จากนั้นได้ให้กลุ่มช่วยกันวางเป้าหมายของกลุ่ม พบว่ากลุ่มให้ความสำคัญกับเป้าหมายสามอันดับแรก ได้แก่ เป้าหมายการสร้างมูลค่าเพิ่ม (ด้วยการให้มีตราสินค้าของกลุ่ม ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา และการพัฒนาหีบห่อให้สวยงาม) เป้าหมายการลดต้นทุน (ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการลดต้นทุนเกี่ยวกับค่าขนส่ง) และเป้าหมายการเพิ่มอำนาจการต่อรอง (ด้วยการรวมกลุ่มกันขาย หาตลาดใหม่ และรวมกลุ่มกันจัดหาวัตถุดิบ) สำหรับการบริหารงานภายในกลุ่ม กลุ่มได้ทำการอภิปรายถึงหน้าที่งานต่าง ๆ แล้วสรุปออกมาเป็นใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) ได้ จำนวน 5 ตำแหน่งงาน คือ ประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม เหรัญญิก เลขานุการกลุ่ม และประชาสัมพันธ์ การศึกษาการไหลของงาน จากการสำรวจขั้นตอนการไหลของงาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ 1) ช่วงก่อนการอบลำไย กิจกรรมที่สำคัญ คือ การแกะ การคว้านเมล็ด การล้าง และการเรียงลำไย เพื่อรอเข้าเตาอบโดยใช้ระยะเวลาในช่วงนี้โดยเฉลี่ยประมาณ 25 นาที (ต่อ 10 กิโลกรัม) 2) ช่วงการอบลำไย กิจกรรมที่สำคัญ คือ การนำลำไยจัดเรียงเข้าเตาอบ การตรวจสอบความแห้งของลำไยระหว่างอบ การควบคุมอุณหภูมิ และการนำลำไยออกจากเตา ในช่วงนี้จะใช้ระยะเวลานานที่สุด โดยใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ชั่วโมง (เร็วที่สุดประมาณ 8 ชั่วโมงและใช้เวลานานที่สุดประมาณ 16 ชั่วโมง) 3) ช่วงหลังอบลำไย กิจกรรมที่สำคัญ คือ การคัดแยกลำไย การแกะลำไยออกจากกระด้ง (ซึ่งระยะเวลาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับปริมาณลำไยแห้งเป็นหลัก หากคำนวณที่ปริมาณทุก 5 กระด้ง จะใช้เวลาประมาณ 12 นาที) การตากลำไย หรือการอบให้แห้งอีกครั้ง (จะใช้เวลาประมาณ 3-5 ชั่วโมง) และการบรรจุหีบห่อ (จะใช้เวลาประมาณ 2 นาทีต่อการบรรจุลำไย 40 กิโลกรัม) โดยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการผลิตที่สำคัญสามด้าน ได้แก่ ควรปรับปรุงด้านความสะอาดในการผลิตโดยเฉพาะในช่วงหลังการอบเสร็จแล้ว ด้านการจัดการควรปรับปรุงในเรื่องของการควบคุมและการแบ่งงานกันทำให้ชัดเจน และด้านการผลิตควรปรับปรุงในเรื่องของการจัดสถานที่และการจัดท่าทางในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.abstractThis research studied the participation action research to develop community enterprises with knowledge management for dried Gold-Longan at Baan Muang-queak, T. Ma-kae-jae Lampoon Province. The objectives of this research were to study group management, job analysis and workflow in order to reduce performing capital. This Participation Action Research held stage performing, interview group, knowledge giving, mind mapping and survey. Then the researcher used SPSS program to analyses and evaluate the quantitative data. Besides, qualitative data are analyzed and descried to show the linkages of each point which can be concluded by the objectives of the study. The management system of Baan Muang-queak’s agriculturist group showed that they are still not understood and realize of group joining. The group was about to set up in order mainly to borrow money. Causing the group activity was not what expected. However, in the past the agriculturist group of Baan Muang-queak divided into a group of two activities which are the saving group and the community enterprise group. The Selling part, the group was not joining together and helps each other to sell the product. From those weak points, the bargaining power was slightly low as the group still lacked of understanding about market system and they emphasized only to sell the product mainly to middleman (78.6%). The packaging was also only one-sized (5 Kgs) and didn’t have brand. The production part showed that the group wanted to produce in large quantities within the limited time (from July to August) since the fresh longans was in good quality during that time. For Financial issue, the group faced with the problem of cash flow (57.4%). With this obstacle, the group was about to make quick selling of dried longans. And if the group couldn’t sell dried longans right after drier process, they wouldn’t have cash to buy other fresh longans for next round drier. In the view of Job Analysis for group operation, the researcher supported the activities in order to understand group combining, plan writing and problems of group operation together with the writing of job description for strengthening the group operation. Group Relationship Activities were held for aiding the group to understand group forming and realize the importance of combination. Therefore, they can help each other as well as raise the quality of livelihood up. The activities were divided into 10 activities which are Behavioral Dissolution, Ball Transporting, Blew up Shell, Number Ringing, Powder Painting, Proverb Activity, Throwing the ring into bottle, Jigsaw Puzzling, Royal Cake and Bird & Boat Making. From these activities, the agriculturists understood and appreciated of assembly, they were more helpful to each other. The researcher used self-evaluated before and after the assembly and it showed that the participating agriculturists realized more on the importance of group combining. The tendency of behavioral changing improved in the way that the participation of group and the support of each other raised from the mean of 4.07 to 4.79. The expected of participation in all activities raised from the mean of 4.19 to 4.72. The creation of trustworthiness within the group raised from 3.69 to 4.45. The wish of group participation and disclose lifestyle raised from 3.86 to 4.21. The operation followed by one’s clearly goal within the group raised from 4.04 to 4.21. Finally, the understanding of group management showed that most of the participants were well understood about group combining from 85% of questionnaires. The problems of group operation from writing Mind Map barred that the first three significant problems of dried longan were low-valued selling, rising of cost and dried longan itself which couldn’t dry throughout the year. The first problems of powerless group were leadership, means of management and individual differentiation (member). The groups were about to help setting the group’s goals and it should the first three substantial goals were the increased of value, reduction cost and increase in bargaining power. For management within the group, the discussion was done to conclude into job description which composed of five positions as followed President, Vice President, Treasurer, Secretary and Public Relations. The study of workflow from exploring its procedure can be divided into three main steps which are Step 1 The period before drying the longans consisted of removing the seeds, cleaning and arranging longans in order to bring to oven. Time spending during this step was roughly around 25 minutes per 10 Kgs. Step 2 the period of drying longans involved with ordering longans into oven, monitoring the dryness of longans during the period of drying, temperature controlling and moving out the longans. Time using for this period was the longest time which was around 10 hours (the quickest of 8 hours and the longest of 16 hours). Step 3 The period after drying longans composed of screening longans, removing longans from the threshing baskets, dry out longans or drying again (spent roughly 3-5 hours) and packaging (used 2 minutes per 40 kgs containing). The suggestions for improving the production were mainly emphasized in 3 parts. Firstly, the cleanliness of the production process especially after drying longans. Secondly, management part was about to enhance the controlling and clearly sharing the work. Lastly, the production was to improve layout and setout the motion of workers to be more correct.th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.format.mediumapplication/ pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherChiang Mai Rajabhat Universityth_TH
dc.rights©copyright มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่th_TH
dc.titleโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ด้วยการจัดการความรู้ ในการผลิตลำไยสีทองอบแห้งของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จังหวัดลำพูนth_TH
dc.title.alternativeThe participation action research to develop community enterprises with knowledge management for dried Gold-Longan at Baan Muang-queak, T. Ma-kae-jae, A.Muang, Lampoon Province.th_TH
dc.typeResearchth_TH
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)479.86 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)512.32 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)585.01 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)696.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)772 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)562.56 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)3.79 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)520.52 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)455.43 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)11.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.