Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/578
Title: การบูรณาการการจัดการสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน บนฐานเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Authors: รัชเวทย์, อโนดาษ์
และคณะ
Issue Date: 2556
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่อง การบูรณาการการจัดการสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน บนฐานเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการจัดการสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มชาติพันธ์ ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่สามารถดำเนินการได้เองในชุมชน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้การวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยได้ทำการเลือก กลุ่มชาติพันธ์ไทยใหญ่ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าและการเผาในที่โล่งในชุมชนกิจกรรมการป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าและการเผาในที่โล่งในชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมย่อยๆ ที่สำคัญ ได้แก่ กิจกรรมกำหนดพื้นที่ทางการเกษตร กิจกรรมลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจะทำโดยการนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก กิจกรรมการทำแนวกันไฟ กิจกรรมเดินป่าเฝ้าระวังไฟ บริเวณรอบๆ หมู่บ้าน กิจกรรมการสร้างความรู้และความตระหนักในการป้องกันมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการเกษตร ซึ่งการสร้างความรู้ความเข้าใจของเกษตรมีความรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจากความรู้ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกษตรกรสามารถใช้และกำจัดรวมทั้งป้องกันมลพิษที่เกิดจากการเกษตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสมซึ่งช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำและทางดินซึ่งเป็นการอนุรักษ์และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นในพื้นที่ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในชุมชนเป็นการสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับทราบถึงคุณภาพน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค และเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับชุมชนและตรงกับความต้องการของชาวบ้าน การปรับปรุงคุณภาพน้ำน้ำดื่มน้ำใช้ในชุมชน การจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำทางด้านการปรับปรุงคุณภาพน้ำแบบต่างๆ ทั้งทางด้านน้ำดื่มน้ำใช้และทางด้านการบำบัดมลพิษทางน้ำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง จนนำไปสู่การจัดทำคู่มือการปรับปรุงคุณภาพน้ำในรูปแบบต่างๆ ฉบับประชาชนร่วมกัน การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายในการใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำ เพื่อการติดตามตรวจสอบแบบชีววิถี พบว่า พบว่าสาหร่ายขนาดใหญ่ และแมลงน้ำเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาจใช้เป็นดัชนีชีวภาพที่บ่งชี้สภาพแวดล้อมได้อย่างเด่นชัดและทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงสภาพแวดล้อมในชุมชนได้เป็นอย่างดี กิจกรรมการสร้างเครือข่ายกลุ่มเยาวชนในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพการดำเนินกิจกรรมนี้สามารถได้กลุ่มเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ จำนวน 4 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง โรงเรียนบ้านบ้านคาหาญ โรงเรียนบ้านนาปลาจาด โรงเรียนบ้านห้วยผา ซึ่งจะนำความร่วมมือไปสร้างเป็นเครือข่ายในการจัดการและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำต่อไป ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ พบว่า การจัดการในชุมชนจะเป็นการเลือกและอาสาสมัคร ในการดูแล รักษาและบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของปริมาณและคุณภาพของน้ำ รวมถึงการใช้น้ำอีกด้วย โดยลักษณะของการจัดการและปัญหาในแหล่งน้ำของพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของแม่น้ำแม่สะหงี มีวาระการทำงาน และมีการหมุนเวียนกันเป็นผู้นำ และบางครั้งจะมีการสืบต่อกันในครอบครัว รวมทั้งยังมีการกำหนดพื้นที่เพื่อที่จะทำการบวชปลาและการอนุรักษ์พันธ์ปลาในพื้นที่บริเวณฝายน้ำล้นของหมู่บ้านเพื่อไม่ให้มีการจับสัตว์น้ำและบุกรุกพื้นที่โดยรอบซึ่งผลจากการดำเนินกิจกรรมทำให้เกิดขึ้นที่สำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพันธ์ปลา และมีการขยายพันธ์ของปลาเพิ่มขึ้นหลายชนิด เช่น ปลาจาด ปลาพวง รวมทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรน้ำในพื้นที่อีกด้วย
Description: This research entitle of the integration of the environmental management with the biodiversity conservation to maintain a sufficiency economy based of ethic group in Muang District, Mae Hong Son province area. The main objective was to study the patterns in environmental management and the conservation of the biodiversity to maintain a sufficiency economy based by the local community in establishing “self-help” protocols. This research was using a participation action research pattern. Shan ethics had chosen as the sampling group. The findings was the activities which could promote the management and the conservation of the biodiversity on the sufficiency economical based composed of The protection of wildfire activity and the opened combustion in the community activity, all of activities had the important activity such as the specification of agriculture area activity that specified the area which had wildfire ignition area that could spread fire to another area to be a wildfire further. The decreasing in useless materials combustion by applying them made as a compose fertilizer. The fire protection line area setting activity had done by the trekking volunteers who were a wildfire observer in the area around the community. The knowledge and the realization in agriculture water pollution protection activity which increased for agriculturists, could used and eradicated and also protected in the agriculture pollution in the correct and proper ways. From all of these ways the water and ground pollutions could be decreased and then the biodiversity would be increased in the future. The water quality tests in the community that would be a knowledge wisdom creation which relative to the water resource management and the water resource conservation. These water quality investigation would pushed the people to know the quality of consuming water and for people to find out the proper way in solving water quality problem with conserve the need of people in community. The drinking water quality and the consuming water improving in the community. The water resource management and conservation in many items and the water pollution treatment in most successively understanding ways for the people that brought to get the improving quality of water handouts in many models together to receive a community copy. The utility of the diversity, which using as the water quality indicators, for bio-pathway audit found that the large algae and aquatic insects as the livings with could be the clearly biological index. In the activities, the participants had got the best knowledge, the understanding and the awareness to the community circumstances. The teenager network setting in keeps watching the water quality and the biodiversity activity. This activity, the teenagers from 4 schools (Huey-Phung School, Kha-Han School, Na-Pra-Jard School and Huey-Pha School) gathered together to participate to set the biodiversity conservative and management networks in the watershed area further. The folk wisdom of the resource conservation and the resource management and the biodiversity in the area found that the management in community were a volunteer selection in looking after, preserving and managing in both water qualities and quantities including the water utilization. In proceeding the water resource management and problems specified as the top-stream, middle-stream and down-stream of Mae Sa Khee river had a specific time and the calculatedly leaders or could be inherit the family. Moreover, the community had set up of water and fish ordained in the area of community weir for prohibiting of aquatic animal catching and trespass around this area. From the activities proceedings, there was the conservation of biodiversity area for fish seeds occurring along the river. There was more in fish breeding in many fish species such as Poropuntius fish and mahseer barb fish. This area had been an ecotourism resource and a learning source in case of water resource biodiversity in these areas also.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/578
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover274.75 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract354.62 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent226.4 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1890.95 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2406.14 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3941.69 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4908.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5262.1 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography206.06 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix452.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.