กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/545
ชื่อเรื่อง: การบูรณาการวิถีชีวิต อัตลักษณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาความมั่นคงทางสังคมของเยาวชนนอกระบบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Integration of ways of life, Identity and Cultural Differences to Education Development for the Stable Lives in Non Formal Education Youths.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัฒนวงศ์, วรสุดา
Wattanawong, Worasuda
คำสำคัญ: เยาวชนนอกระบบ
อัตลักษณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
วันที่เผยแพร่: กัน-2556
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างหน่วยการเรียนรู้ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม สำหรับเยาวชนกลุ่มตัวอย่างในแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อประเมินผลหน่วยการเรียนรู้ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม สำหรับเยาวชนกลุ่มตัวอย่างในแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพ และความมั่นคงในชีวิตของเยาวชนกลุ่มตัวอย่างในแขวงนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่ โดยประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เยาวชนนอกระบบในแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความรู้ในการเผยแพร่ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์และสังคมส่วนบุคคล 3) แบบทดสอบก่อน และหลังเรียน 4) หน่วยการเรียนรู้จำนวน 5 หน่วย 5)แบบทดสอบระหว่างเรียน และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการอบรม ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (t-test) ค่าประสิทธิภาพของบทเรียน (E1 /E2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน (E.I) ผลการวิจัยพบว่า 1) หน่วยการเรียนรู้ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม สำหรับเยาวชนกลุ่มตัวอย่างในแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1) หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ความรู้ทั่วไปของชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว และ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ 2)หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทศกาลและกิจกรรมทางวัฒนธรรม 3) หน่วยการเรียนรู้เรื่อง อาหารพิ้นบ้าน 4) หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ดนตรี ศิลปะการแสดงทางวัฒนธรรม 5) หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ความเชื่อ แนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ฉบับภาษาอังกฤษ 2)การประเมินประสิทธิภาพกระบวนการและผลลัพธ์ของหน่วยการเรียนรู้ (E1 / E2) พบว่าผลลัพธ์ของหน่วยการเรียนรู้เท่ากับ 65.94 / 74.65 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 แต่อย่างไรก็ตามคะแนนสอบหลังอบรมด้วยหน่วยการเรียนรู้ฯ มีค่าสูงกว่าก่อนเรียน 4.54 คิดเป็นค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นหรือค่าความก้าวหน้าร้อยละ 47.58 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของเยาวชนกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นจากก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3)การผลวิเคราะห์ความพึงพอใจของเยาวชนผู้เข้าร่วมอบรม พบว่าเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 1) อัตลักษณ์ 2) วิถีชีวิต และ 3) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในชุมชนแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้น โดยมีค่าเท่ากับ 4.40, 4.44 และ 4.40 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 5 โดยผู้เข้าอบรมแสดงความเห็นว่าการอบรมสามารถพัฒนาศักยภาพทางด้านการศึกษา โดยมีค่าเท่ากับ 4.38 และ การอบรมสามารถพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับ 4.41 และ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ โดยมีค่าเท่ากับ 4.41
รายละเอียด: This research has 3 objectives : 1) to construct local-related content lessons in English corresponding with ways of life, identity and cultural differences for young learners at Khwaeng Nakornping, Mueng District, Chiang Mai Province 2) to evaluate the local-related content lessons 3) to improve academic potentiality in young learners as well as promote the sustainable stability lives in young learners. The samples of the study are 148 non formal education young learners by simple random sampling. The research instruments were 1) the contents needs questionnaire 2) social development and human security questionnaire 3) pretest and posttest 4) 5 local-related content lessons and 5) satisfaction evaluation questionnaire. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and effectiveness index. The research results are as followed; 1) there were 5 local-related content lessons constructed: Me and My community, Festivals and Cultural Activities, Local Food, Music and Cultural Performances and Belief and Cultural Materials. 2) The curriculum efficiency criteria were found to be at 65.94 / 74.65 which was lower than the standard criteria of 80/80. However, the youths’ posttest is higher than the pretest at 4.54 percentage and the students’ achievement after using the local-related content lessons was higher than that before using it at .01 level. 3) The satisfaction evaluation of the results showed that the young learners gain the knowledge about life, identity and cultural differences at 4.40, 4.44 and 4.40 out of 5 respectively. The young learners believed that the training is able to improve their academic potentiality 4.38 points, improve English ability.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/545
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover235.46 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract274.6 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent264.79 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter1268.82 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter2970.17 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter3707.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter4331.5 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter5351.37 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography308.37 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix712.81 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น