Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2490
ชื่อเรื่อง: | การศึกษากระบวนการและวางระบบการผลิตชาเมี่ยงโดยประยุกต์ใช้แนวการผลิตแบบลีนของกลุ่มเกษตรกร ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวดัเชียงใหม่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A Study on the Efficiency of Fermented Tea Leaf Production Processes of Tea Producers in Tambon Phapae, Mae Taeng District, Chiang Mai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อันสุดารี, กันทะสอน ศุภฤกษ์, ธาราพิทักษ์วงศ์ |
คำสำคัญ: | กลุ่มเกษตรกร -- แม่แตง (เชียงใหม่). ตำบลป่าแป๋ ชาเมี่ยง -- แม่แตง (เชียงใหม่). ตำบลป่าแป๋ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study Approach) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและวางระบบการผลิตเมี่ยง ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดการผลิตแบบลีนในการกำหนดกิจกรรมที่สร้างคุณค่า รวมทั้งแยกความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเมี่ยง ของกลุ่มผู้ปลูกชาเมี่ยง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเมี่ยง ของกลุ่มผู้ผลิตชาเมี่ยงตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตชาเมี่ยงตลอดโซ่อุปทาน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชาเมี่ยง บ้านปางมะกล้วย จำนวน 43 ราย ลักษณะการเก็บข้อมูลจะเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มย่อยในกลุ่มสมาชิก และการสัมภาษณ์เจาะลึกสำหรับผู้นำกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลจากทั้ง 2 ทาง โดยเกษตรกรจะมีหน้าที่ในกระบวนการผลิตเมี่ยงตั้งแต่ การปลูก ดูแล และการเก็บเกี่ยวใบเมี่ยง เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง (Structured Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูล โดยการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต และวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการใช้ แผนผังสายธารแห่งคุณค่า ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิตเมี่ยง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มเกษตรกรบ้านปางมะกล้วย ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้การผลิตใช้เวลา ในแต่ละกระบวนการไม่แน่นอนและควบคุมได้ยาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ใช้เทคนิคการประเมินผลและทบทวนโครงการ (Program Evaluation and Review Technique: PERT) เป็นวิธีการในการกำหนดเวลาในแต่ละกิจกรรมของกระบวนการผลิต จะใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การจับเวลา และนำไปหาเวลาเฉลี่ยในแต่ละกิจกรรมเพื่อนำข้อมูลมาประกอบเส้นฐาน (Baseline) ในแผนผังสายธารแห่งคุณค่าสถานะปัจจุบัน การวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของระบบการผลิตชาเมี่ยง แสดงให้เห็นความสูญเปล่าที่อยู่ในระบบโดยจะกำหนดตามประเภทของความสูญเปล่าได้แก่ การมีของเสีย กระบวนการที่ไม่จำเป็น และการรอคอย จากนั้นความสูญเปล่าเหล่านั้นจะถูกกำจัดโดยแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มที่เป็นผลจากการใช้เครื่องมือ ลีน พบว่าสามารถลดเวลารวมของทั้งกระบวนการจาก 121,819 นาที (2,030.32 ชั่วโมง) เหลือ 121,762 นาที (2,029.36 ชั่วโมง) และลดกำลังคนจาก 26 คน เหลือ 22 คน แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ที่มีประสิทธิภาพของเทคนิคแผนสายธารแห่งคุณค่าไปสู่กระบวนการผลิตทางการเกษตร จากผลการวิจัยจะเห็นว่าการประยุกต์ใช้การจัดการผังสายธารแห่งคุณค่าในอุตสาหกรรมการเกษตรทำให้เกิดประสิทธิภาพของกระบวนการเพิ่มขึ้นและใช้ได้เป็นอย่างดี |
URI: | http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2490 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
อันสุดารี กันทะสอน_2563.pdf | 4.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น