กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2300
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Transformational Competency Development of Pilot Teachers for Professional Learning Community
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทนงศักดิ์, จันทบุรี
ณัฐิยา, ตันตรานนท์
เกตุมณี, มากมี
สุเทพ, พงศ์ศรีวัฒน์
คำสำคัญ: ผู้นำ
ครู--สมรรถนะ
สมรรถภาพในการทำงาน
ครู--เชียงใหม่
โรงเรียนวชิรวิทย์--เชียงใหม่
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ (3) เพื่อวิเคราะห์ผลการพัฒนาสมรรถนะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูแกนนำ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 19 คน ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การศึกษาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ มี 15 คุณลักษณะพฤติกรรม (2) การสร้างแรงบันดาลใจ มี 14 คุณลักษณะพฤติกรรม (3) การกระตุ้นทางปัญญา มี 16 คุณลักษณะพฤติกรรม (4) การบ่งชี้และวิสัยทัศน์ มี 12 คุณลักษณะพฤติกรรม และ (5) การคำนึงถึงความสำคัญของปัจเจกบุคคล มี 18 คุณลักษณะพฤติกรรม ซึ่งผลการศึกษาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 องค์ประกอบได้แสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องกัน โดยในแต่ละองค์ประกอบผู้นำจะต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และมีแนวทางในการนำไปสู่ การปฏิบัติเพื่อนำโรงเรียนไปสู่การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) การพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ พบว่า คู่มือมีความเหมาะสมและมีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วนได้แก่ 1) การดำเนินการตามแนวทางการพัฒนา 2) การพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) การพัฒนาครูแกนนำ สู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 4) การประเมินและติดตามการใช้คู่มือ 3) การวิเคราะห์ผลการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยใช้รูปแบบของ Kirkpatrick’s ได้แก่ 1) ความพึงพอใจของครูแกนนำ พบว่า ครูแกนนำมีความพึงพอใจในการฝึกอบรม เนื้อหาสาระ กิจกรรม สถานที่ วิทยากร สิ่งอำนวยความสะดวก โสตทัศนูปกรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเรียนรู้ พบว่า ครูแกนนำได้รับความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการปฏิบัติใหม่เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมและครูแกนนำมีคะแนนการทดสอบสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม 3) พฤติกรรมการทำงาน จากผลการประเมินและติดตามพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำหลังการฝึกอบรม 120 วัน พบว่า ครูแกนนำได้รับความรู้และทักษะรวมทั้งแสดงความกระตือรือร้นที่มากขึ้น (4) ผลลัพธ์ต่อโรงเรียน พบว่า การจัดการเรียนการเรียนรู้มีประสิทธิผลและการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้รับการปรับปรุง นอกจากนี้ครูแกนนำสามารถพัฒนาเครือข่ายที่เน้นการเรียนรู้ของครูและความร่วมมือทางวิชาการซึ่งการแสดงพฤติกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนอย่างยิ่ง จากการวิจัยสรุปได้ว่าการพัฒนาสมรรถนะผ่านการฝึกอบรมของครูส่งผลในการเพิ่มการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครู การพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและปรับปรุงคุณภาพการสอนและการเรียนรู้เพื่อเน้นประสิทธิภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2300
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ทนงศักดิ์ จันทบุรี_2563.pdf8.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น