กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2295
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำชุมชนต้นแบบของจังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Training Curriculum Development of Community Leader Model in Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรนับพัน, วงศ์ตระกูล
ณัฐิยา, ตันตรานนท์
มนัส, สุวรรณ
สมาน, ฟูแสง
คำสำคัญ: ผู้นำชุมชน--ลำปาง
ผู้นำชุมชน--การฝึกอบรม--ลำปาง
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำชุมชนโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นชุมชนต้นแบบ 4 หมู่บ้านของจังหวัดลำปาง การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของผู้นำชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ โดยจัดการสนทนากลุ่มย่อยเพื่อถอดบทเรียนผู้นำชุมชน หมู่บ้านละ 10 คน จำนวน 4 ครั้งจนครบทุกชุมชน 2) การพัฒนาและตรวจสอบหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำชุมชน โดยการวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน 3) การประเมินผลการอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้นำยุคใหม่หรือผู้ที่มีศักยภาพจะเป็นผู้นำ จำนวน 20 คน จากชุมชนต้นแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสนทนากลุ่มย่อย แบบวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านเนื้อหา แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม แบบประเมินความเหมาะสมของแผนชุมชนโดยผู้เชี่ยวชาญและแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมหลังเสร็จสิ้นการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา โดยนวัตกรรมที่ได้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ หลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรมผู้นำชุมชน ผลการถอดบทเรียนพบว่า สมรรถนะผู้นำชุมชนที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน มี 5 ด้าน ได้แก่ องค์ความรู้ ทักษะ ความสามารถพิเศษ ความสัมพันธ์ที่ดีของผู้นำและบุคลิกภาพของผู้นำ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการถอดบทเรียนมาสร้างเป็นหลักสูตรพัฒนาผู้นำชุมชน ซึ่งมีโครงสร้างหลักสูตรดังต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร สมรรถนะสำคัญของผู้เข้าอบรม โครงสร้างเวลาเรียน โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและเกณฑ์การประเมินผลการอบรม ผลการประเมินหลังการจัดอบรมพัฒนาผู้นำชุมชน พบว่า ความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมอบรมมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกด้าน ทั้งนี้ ความรู้ก่อนการเข้ารับการอบรม คิดเป็นร้อยละ 67.5 และหลังเสร็จสิ้นการอบรม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 93 เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม พบว่า ผลการทดสอบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 สำหรับผลประเมินความเหมาะสมของแผนชุมชนโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด (4.52) โดยผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้แต่ละชุมชนนำกลับไปจัดประชาคมร่วมกัน เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน งานวิจัยฉบับนี้มุ่งเน้นการพัฒนาผู้นำยุคใหม่ให้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้หลักสูตรต้องนำไปปรับเปลี่ยนรายละเอียดในเนื้อหาสาระของหลักสูตรตามบริบทชุมชนและสถานการณ์จริงในพื้นที่ การปฏิบัติงานที่ดีของผู้นำต้องมีนโยบายที่ถูกต้องตามแผนชุมชน ซึ่งได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มากของชุมชน ผู้วิจัยคาดหวังว่าหลักสูตรพัฒนาผู้นำชุมชนจะเกิดประโยชน์กับผู้ที่สนใจพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของตนเองเพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2295
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
พรนับพัน วงศ์ตระกูล_2562.pdf8.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น