กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2268
ชื่อเรื่อง: แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for school administration in accordance with the Joint Development School Project based on Educational Quality Criteria for Excellent implementations (EdPEx)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บัณฑิตย์, ทาปิมปา
ประวัติ, พื้นผาสุข
คำสำคัญ: โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
โรงเรียน--การบริหาร
การประกันคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนบ้านหนองเงือก--ลำพูน--การบริหาร
โรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่--เชียงใหม่--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และเพื่อเปรียบเทียบกระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) กลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกมาอย่างเจาะจงจากบุคลากรของโรงเรียน 2 โรง ในสองจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ อันประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 45 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 147 คน โรงเรียนบ้านหนองเงือก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 และโรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 รวมประชากรทั้งสิ้น 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามกระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) จำนวน 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจากผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็น ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของโรงเรียนบ้านหนองเงือก พบว่าภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ=4.10, σ =0.65) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า (μ=4.24, σ =0.60) รองลงมาได้แก่ ด้านการนำองค์กร (μ=4.16, σ =0.66) ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (μ=4.13, σ =0.61) ด้านผลลัพธ์ (μ=4.07, σ =0.65) ด้านการวัด การวิเคราะห์  และการจัดการความรู้ (μ=4.01, σ =0.67) และด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (μ=3.97, σ =0.65) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ (μ=3.92, σ =0.71) ตามลำดับ และโรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่ พบว่าภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ=4.17, σ =0.64) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า (μ=4.32, σ =0.62) รองลงมาได้แก่ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (μ=4.31, σ =0.61) ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (μ=4.28, σ =0.63) ด้านการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (μ=4.23, σ =0.59) ด้านการนำองค์กร (μ=4.21, σ =0.60) และด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ (μ=4.19, σ =0.66) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านผลลัพธ์ (μ=3.67, σ =0.80) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของโรงเรียนบ้านหนองเงือก กับโรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่ พบว่า มีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นมีความเป็นได้ว่า ทั้งสองโรงเรียนมีแนวทางการบริการสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ทั้ง 7 ด้าน ที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เพราะการดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนานั้นขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง มีการปลดระเบียบต่าง ๆ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น มีคณะกรรมการสถานศึกษาที่มาจากผู้แทน 4 ฝ่ายเข้ามาช่วยบริหารจัดการ คือ ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง โดยมีผู้แทนภาคเอกชนเป็นประธานกรรมการสถานศึกษา เพื่อจะได้นำแนวคิดการทำงานแบบใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนให้ไปสู่เป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถือเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการศึกษา
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2268
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บัณฑิตย์ ทาปิมปา_2563.pdf3.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น