Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2230
Title: การประเมินค่าและวิเคราะห์มลสารไมโครพลาสติกในแหล่งผลิตน้ำประปาจากแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Assessment of Microplastics in water supply sources of Ping River, Chiang Mai, Thailand
Authors: ธีรฐิตยางกูร, พิมพวัฒน์
Teeratitayangkul, Pimpawat
Keywords: ไมโครพลาสติก Microplastics
แม่น้ำปิง Ping River
แหล่งผลิตน้ำประปา Water supply resources
FT-IR
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: Microplastics contamination in surface water resources are the important environmental problems which express concern globally. Due to the huge impacts to human and environment for example, microplastics exposure can cause toxicity through oxidative stress, inflammatory lesions, and increased uptake or translocation. In Thailand, there is a considerable lack of knowledge on the basic information including of the amount and type of contaminated microplastics. The present study emphasizes the contaminated microplastics in water supply resources, Pa Tan, Pa Dad and U-Mong water supply station in Chiang Mai. The results present the average amount of microplastics 3,880±1,150 3,346±664 and 3,810±1,355 pieces/m3, respectively with the type of Polyester, Polyurethane, Nylon, Polyethylene, Polyethylene terephthalate and Polypropylene observed by the microscope and the Fourier-transform infrared spectroscopy (FT-IR). Meanwhile, there were no relationship at the 0.05 level of probability between the amount of microplastics and the physical and chemical parameters, Suspended Solid, Dissolved Oxygen, Biochemical Oxygen Demand, Total Nitrogen and Total Phosphorus. In the present study, it is the first scientific reports which indicated the microplastics contamination in the water supply resources in Chiang Mai. The environmental outcomes could be the current knowledge with the intention of better focus future research in this area and fill knowledge gaps.
Description: การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำผิวดินเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญที่อยู่ในความสนใจของทั่วทุกมุมโลก ด้วยข้อมูลผลกระทบที่ยังไม่มีการศึกษามากนัก การศึกษาวิจัยนี้จึงเป็นงานวิจัยที่มุ่งศึกษาจำนวนและประเภทของไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำผิวดิน โดยเฉพาะจุดที่เป็นแหล่งผลิตน้ำประปา 3 แหล่งของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ สถานีผลิตประปาน้ำป่าตัน สถานีผลิตน้ำประปาป่าแดด และสถานีผลิตประปาน้ำอุโมงค์ พบว่า มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกเฉลี่ย 3,880±1,150 3,346±664 และ 3,810±1,355 ชิ้นต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ และประเภทของไมโครพลาสติก ได้แก่ โพลีเอสเตอร์ (PES) โพลียูริเทน (PUR) ไนลอนหรือโพลีเอไมด์ (Nylon) โพลีเอทิลีน (PE) โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) และโพลีโพรพิลีน (PP) ซึ่งวิเคราะห์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์และ Fourier-transform infrared spectroscopy (FT-IR) เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของจำนวน ไมโครพลาสติกต่อพารามิเตอร์ทางกายภาพและเคมีอื่น ๆของน้ำตัวอย่างจากแหล่งน้ำนั้น ได้แก่ ของแข็งแขวนลอย (TSS) ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ปริมาณของออกซิเจนที่ถูกใช้โดยจุลินทรีย์ (BOD) ค่าไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) และค่าฟอสฟอรัสรวม (TP) พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นผลการการศึกษาวิจัยครั้งแรกที่เน้นศึกษาข้อมูลปริมาณของไมโครพลาสติกที่ตรวจสอบพบในแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นบริเวณที่สูบน้ำเพื่อเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งผลการวิจัยจะสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้าระวัง และสร้างความตระหนักต่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัวต่อไป
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2230
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bibiliography.pdfBibiliography (บรรณานุกรม)303.56 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1 (บทที่1)605.16 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)1.08 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3)469.71 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4)1.19 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่5)281.84 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)297.81 kBAdobe PDFView/Open
Cover.pdfCover(ปก)322.06 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)276.9 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)236.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.