Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2222
Title: ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากงานประจำ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Other Titles: The causal relationship of innovation factors affecting the performance of support personnel, Chiang Mai Rajabhat University.
Authors: LI, QINGYA
Keywords: นวัตกรรมจากงานประจำ innovation from routine work
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน efficiency of work
บุคลากรสายสนับสนุน support personnel
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: This research is to study the causal relationship of innovation factors from routine work affecting the performance of support personnel of Chiang Mai Rajabhat University. Objectives are 1. To develop a causal relationship model between routine innovation factors affecting performance of support personnel of Chiang Mai Rajabhat University. 2. To examine the coherence of the causal relationship model between innovation factors from the routine work that affects the efficiency of the work of the support personnel of Chiang Mai Rajabhat University. The researcher has studied the concepts and theories related to the research as follows: innovation theory concept concepts, theories, operational efficiency and related research. The sample group was academic support personnel of Chiang Mai Rajabhat University. The researcher determined the sample group from the formula for calculating the given sample group 20 times per 1 variable. In this study, there were 6 variables studied. Therefore, there should be a sample of 300 people. The researcher used a proportional random sampling according to the type of support personnel classified by departments and used a questionnaire as an educational tool. The initial variable is 1 . Innovation creation behavior of personnel 2. Transformational leadership 3. Innovation creating atmosphere 4. Learning culture 5. Corporate innovation support 6. Innovation creation. The dependent variable is operational efficiency.The preliminary data analysis used basic statistical values such as mean, standard deviation. The correlation coefficient between observable variables of causal relationship was analyzed using Pearson's จ correlation coefficient using SPSS program as data for model analysis. The researcher uses statistics, path analysis, and uses a software package for analysis. The results showed that learning culture affects innovation the most, followed by the innovation behavior of personnel, transformational leadership, and lastly is the support of corporate innovation. All factors directly affect innovation and indirectly affect operational efficiency.
Description: การศึกษาวิจัยเรื่องความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากงานประจำ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรม จากงานประจำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราช ภัฏเชียงใหม่ 2. เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยการ สร้างสรรค์นวัตกรรมจากงานประจำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาย สนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ดังนี้ แนวคิดทฤษฎีนวัตกรรม แนวคิดทฤษฎีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่ม ตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จากสูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดจำนวน 20 เท่าต่อ 1 ตัวแปรในการวิจัยนี้มีตัวแปรที่ศึกษา 6 ตัวแปร จึงควรมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นสัดส่วน ตาม ประเภทบุคคลากรสายสนับสนุนจำแนกตามหน่วยงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรต้นคือ 1. พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของ บุคลากร 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3. บรรยากาศการสร้างนวัตกรรม 4. วัฒนธรรมการเรียนรู้ และ 5. การสนับสนุนนวัตกรรมขององค์กร 6. การสร้างสรรค์นวัตกรรม ตัวแปรตามคือประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อให้ได้เมตริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ โดยใช้ โปรแกรม SPSS เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์โมเดล โดยใช้สถิติ Path Analysis และใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้ ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุด รองลงมาคือ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากร ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ การสนับสนุนนวัตกรรมขององค์กร ส่งผลทางตรงต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามลำดับ และ ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2222
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)234.2 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)244.76 kBAdobe PDFView/Open
Bibiliography.pdfBibiliography (บรรณานุกรม)234.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1 (บทที่1)220.41 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)438.2 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3)270.77 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4)381.48 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่5)234.19 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)219.9 kBAdobe PDFView/Open
Cover.pdfCover(ปก)226.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.