Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2172
Title: กลยุทธ์การบริหารจัดการของชมรมผู้สูงวัยต้นแบบกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน
Other Titles: Management Strategy of Ethnic Modeling Society in Upper Northern Provincial
Authors: วิชาอัครวิทย์, จักรปรุฬห์
Wichaakharawit, Chakparun
Keywords: กลยุทธ์การบริหารจัดการ
ชมรมผู้สูงวัยต้นแบบกลุ่มชาติพันธ์
Management Strategy
Ethnic Modeling Society
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: Research on management strategy of ethnic modeling society in upper northern provincial. The objective is to study the strategies and the use of the management strategy of ethnic modeling society in upper northern provincial. Is research, development and application (Development) by studying from 5 elderly clubs in Upper Northern Provincial studied from 30 selected target groups, 150 persons in each club. Data were collected by studying documents, observation, and interview and group discussion. Data was analyzed by synthesis of content and descriptive writing. The findings can be summarized as follows 1. The management strategy of ethnic modeling society in upper northern provincial has 4 components which are 1) management strategy 2) activity strategy 3) strategy for board and 4) strategy for Participation of members 2. Implementation of the strategic management plan of ethnic modeling society in upper northern provincial. The 5 model elderly clubs found that the management strategies of the elderly clubs in each aspect were as follows: 2.1 Management strategy found that all 5 elder clubs have the following operations: 1) there is a stable location that is a club that is easy to do activities. 2) There are clear rules and regulations for club management. 3) Planning 4) Establish management structure, management and roles of the president. Committee and members 5) Club consultants 6) Systematic data collection for club members 8) There is a budget selection process 9) Income-expense accounting Parcel registration - durable goods Member registration, guestbook, and meeting notebook To be up to date. 10) Have good and fast communication. The transactions that do not appear clearly or do not proceed consistently are 7) Self-analysis. And surveying problems. 11) Monitoring and reporting of operations. 2.2 Activity Management Strategies It was found that all 5 elderly clubs in upper northern provincial have implemented all activities of the strategic plan which are 1). And members' problems. 2) Club activities are continuous. 3) Club activities can solve problems or promote the quality of life of members. 4) Club activities have integrated cooperation with various networks, government agencies or Private organization 5) The organization of the club activities is diverse, changing, rotating So that members are not bored. 2.3 Board strategy Found that all 5 elderly clubs in upper northern provincial have implemented the strategic plan for every committee, which is 1) must be elected by members. Or being accepted by most members. 2) Leadership. Have ethics in managing the club 3) have sacrifice, have volunteer spirit, honesty, good behavior, be accepted by society 4) perform duties according to the assigned role 5) have transparency Not discriminating against justice 6) Knowledge about the elderly in various fields. 2.4 Member participation strategy It was found that all 5 elderly clubs in upper northern provincial implemented the members' strategic participation plan, namely 1) the common ideology of the members to carry out the activities according to the objectives of the club 2) Have a feeling that they are part of a club, which will lead to cooperation and participation in the activities of the club; results And join the club's benefits 3) Participate, think, make decisions, participate in actions, follow up, evaluate And participate in the benefits of the club. 4) Respect the rules and regulations of the club. 5) Create a unique identity or strength of the club.
Description: วิจัยเรื่องกลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการของชมรมผู้สูงวัยต้นแบบกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบนและเพื่อศึกษาการใช้แผนกลยุทธ์การบริหารจัดการของชมรมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยพัฒนาและประยุกต์ โดยศึกษาจากสมาชิกชมรมผู้สูงกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน 5 แห่ง ๆ ละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลยุทธ์การบริหารจัดการของชมรมผู้สูงวัยต้นแบบกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบนมีองค์ประกอบ 4 ด้านคือ 1) กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการ 2) กลยุทธ์ด้านการจัดกิจกรรม 3) กลยุทธ์ด้านคณะกรรมการและ 4) กลยุทธ์ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก 2. การใช้แผนกลยุทธ์การบริหารจัดการของชมรมผู้สูงวัยต้นแบบกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบนของชมรมผู้สูงวัยต้นแบบทั้ง 5 แห่งพบว่ามีการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการของชมรมผู้สูงวัยต้นแบบกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบนในแต่ละด้าน ดังนี้ 2.1 กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการ พบว่าชมรมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 แห่ง มีการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ ดังนี้คือ 1) มีสถานที่ตั้งที่มั่นคงถาวรเป็นของชมรมที่สะดวกในการทำกิจกรรม 2) มีระเบียบข้อบังคับในการบริหารจัดการชมรมที่ชัดเจน 3) มีการวางแผนการดำเนินงานของชมรม 4) มีการจัดทำโครงสร้างการบริหารการจัดการและบทบาทหน้าที่ของประธาน กรรมการและสมาชิก 5) มีที่ปรึกษาชมรม 6) มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสมาชิกชมรมอย่างเป็นระบบ 8) มีการสรรหางบประมาณในการดำเนินการ 9) มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ทะเบียนพัสดุ-ครุภัณฑ์ ทะเบียนสมาชิก สมุดเยี่ยม และสมุดบันทึกการประชุม ให้เป็นปัจจุบัน 10) มีการติดต่อสื่อสารที่ดีและรวดเร็ว ส่วนรายการที่ดำเนินการไม่ปรากฏชัดเจนหรือดำเนินการไม่สม่ำเสมอคือ 7) มีการวิเคราะห์ตนเอง และการสำรวจปัญหา 11) มีการติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน 2.2 กลยุทธ์ด้านการจัดกิจกรรม พบว่าชมรมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 แห่งมีการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ด้านการจัดกิจกรรมครบทุกรายการคือ 1) การจัดกิจกรรมชมรมตรงกับความต้องการ และปัญหาของสมาชิก 2) การจัดกิจกรรมชมรมมีความต่อเนื่อง 3) การจัดกิจกรรมชมรมสามารถแก้ปัญหาหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสมาชิก 4) การจัดกิจกรรมชมรมมีการบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ หน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรเอกชน 5) การจัดกิจกรรมชมรมมีความหลากหลายปรับเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อให้สมาชิกไม่เบื่อหน่าย 2.3 กลยุทธ์ด้านคณะกรรมการ พบว่าชมรมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 แห่ง มีการดำเนินงานด้านคณะกรรมการทุกรายการคือ 1) ต้องมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก หรือการได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ 2) มีภาวะความเป็นผู้นำ มีจรรยาบรรณในการบริหารจัดการชมรม 3) มีความเสียสละ มีจิตอาสา ซื่อสัตย์ความประพฤติดีเป็นที่ยอมรับของสังคม 4) ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย 5) มีความโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ ยุติธรรม 6) มีความรู้เกี่ยวกับผู้สูงวัยในด้านต่างๆ 2.4 กลยุทธ์ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก พบว่าชมรมผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 แห่ง มีการดำเนินการทุกรายการคือ 1) มีอุดมการณ์ร่วมกันของสมาชิกในการจะดำเนินการกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของชมรม 2) มีความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งชมรมซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชมรม 3) มีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ของชมรม 4) เคารพในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของชมรม 5) ร่วมกันสร้างเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของชมรม
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2172
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)399.57 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)189.38 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)184.42 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter (บทที่ )234.78 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)477.73 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3 )206.47 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4)671.89 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่5)206.4 kBAdobe PDFView/Open
Bibiliography.pdfฺฺBibiliography (บรรณานุกรม)261.87 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)186.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.