Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1951
Title: การจัดการความรู้ภาคเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน
Other Titles: Knowledge management in agriculture for Chiang Mai community: from local wisdom to ASEAN community
Authors: ชุลีกาญจน์, ไชยเมืองดี
Keywords: ชุมชนเกษตร
ประชาคมอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การวิจัยและพัฒนา
การจัดการความรู้
Agricultural Community
ASEAN Community
ASEAN Economic Competition
Sufficiency Economy
Research and Developing
Knowledge Management
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นการจัดการความรู้ภาคเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในประเด็นการจัดการความรู้ภาคเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 9 ตำบล 17 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพในการพัฒนาสินค้าเกษตรชุมชน เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชาคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย กรอบทฤษฎีการเชื่อมโยงองค์ความรู้แบบ Core Competency is Linked to Explicit and Tacit Knowledge องค์กรสามารถสร้างแกนกลางในการจัดเก็บองค์ความรู้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อรวมเป็นแหล่งองค์ความรู้ทั้งหมดขององค์กร ในขณะที่เราอยู่ในกระบวนการแปลงองค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) ให้เป็น องค์ความรู้ที่มีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) นั้น ระหว่างนั้นก็จะเป็นการสร้างองค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้างขึ้นมาใหม่อีกด้วย (generate new tacit knowledge) ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ของ กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตสินค้า และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจได้ กลุ่มเกษตรกรมีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือทั้งด้านความรู้ การจัดระบบ และเงินทุน ผลการวิจัยได้องค์ความรู้ 10 ด้าน ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เกษตรกรทุกกลุ่มมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเป็นอย่างดี ด้านการพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชน สินค้าเกษตรของเกษตรกรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไปในทางที่ดีขึ้น ด้านการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร มีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตลอดเวลาเพื่อพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น ด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐ กลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่มมีหน่วยงานเข้ามาให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความรู้ความชำนาญของกลุ่มเกษตรให้มากขึ้น ด้านการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตร เกษตรกรมีการปรับปรุงสินค้าเกษตรให้ทันสมัยเข้ากับยุค มีการจัดการธุรกิจให้มีระบบมากขึ้น ทั้งการผลิตและการตลาด ด้านการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตร มีการยกระดับสินค้าให้เป็นเกรดพรีเมียม ขยายสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น ด้านการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรทุกกลุ่มได้เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ที่ถูกต้องแก่เกษตรกร แล้วนำไปปฏิบัติอย่างถูกวิธี ด้านการพัฒนาชุมชนเกษตรสู่การท่องเที่ยวระดับอาเซียน กลุ่มเกษตรที่เข้าร่วมมีการพัฒนาจากพื้นที่เกษตรของตนเอง ยกระดับสู่แหล่งพื้นที่แห่งการท่องเที่ยวโดยการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าร่วมด้วย ด้านการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเกษตรที่เข้าร่วมได้นำความรู้จากการเข้ารบอมมาปรับใช้กับการผลิตสินค้าและการตลาด ให้กระจายอยู่ทั่วของจังหวัดเชียงใหม่ ด้านการต่อยอดภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ เกษตรกรทุกกลุ่มมีการต่อยอดสินค้าเกษตรให้เกิดประโยชน์โดยสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมาย และมีการพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์ให้เกิดรายได้ต่อตนเอง และองค์กร ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Description: This study aims to develop the potentiality in knowledge management of Chiang Mai agricultural communities from local wisdom to ASEAN Communities. It is the qualitative research and supported by quantitative analysis. 17 groups of agriculturists from 9 districts attended the development project in order to develop agricultural products. Participatory action research was used in this study. The potentiality was analyzed by linking tacit knowledge and tacit knowledge. The organization could create core competency to accumulate and keep knowledge which connected tacit knowledge with explicit knowledge. The result of study illustrated that members of agricultural groups were expertized in making products and could transfer knowledge to interested people. In addition, agriculturists were supported knowledge, management and capital by other organizations. This study could provide 10 issues of knowledge ; 1) every group of agriculturists took part in this development project could raise their productivities ; 2) the agricultural products could develop continuously; 3) it has the system of inspection which is standard ; 4) other organizations supported knowledge, and capital to agriculturists; 5) agriculturists could improve their products to compete with competitors and also increase the business management more systematic both production and marketing. They could enhance their products as a premium grade and enlarge their markets as a whole. All of the participants attended the training course of organic agriculture so that they could raise their knowledge to do the right organic farm. Moreover, agriculturists could integrate local wisdom with farming and develop to be the tourist attraction. Participants could apply their knowledge to make products efficiently and also they could enlarge their agricultural products to be advantageous so that it could create income for them and their communities as well as have a better quality of life.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1951
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)463.17 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)429.26 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)426.67 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่ 1)516.46 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่ 2)896.17 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่ 3)448.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่ 4)578.16 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่ 5)1.02 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter6(บทที่ 6)536.99 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)444.51 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.