Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1946
Title: การพัฒนาชุมชนเกษตรจังหวัดเชียงใหม่สู่การท่องเที่ยวระดับอาเซียน
Other Titles: Developing the agricultural community of Chiang Mai to ASEAN tourism
Authors: ธนมนต์, ธนรัตนพิมลกุล
Keywords: ชุมชนเกษตร
ประชาคมอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การวิจัยและพัฒนา
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
Agricultural Community
ASEAN Community
ASEAN Economic Competition
Sufficiency Economy
Research and Developing
Agro-Tourism
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่สู่การท่องเที่ยวระดับอาเซียน อาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์บริบทชุมชน ตัวอย่าง 3 ชุมชน ได้แก่ 1) ชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม 2) ชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรดอยปู่หมื่น ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่ริม และ 3) ชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรแม่โจ้บ้านดิน ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง ใช้การวิเคราะห์ SWOT เพื่อให้ทราบปัจจัยที่ส่งเสริมและไม่ส่งเสริมศักยภาพของกลุ่ม และการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อหาแนวทางการพัฒนากลุ่มสู่การท่องเที่ยวระดับอาเซียนผ่านแบบประเมินการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง 5 มิติ การวิจัยพบว่า ศักยภาพชุมชนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก และพบว่า ด้านที่มีศักยภาพมากที่สุด คือ ศักยภาพการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีศักยภาพระดับดีมาก เช่นเดียวกับศักยภาพการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร รองลงมาคือ ศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีศักยภาพระดับดี เช่นเดียวกับศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และด้านที่ต้องปรับปรุง คือ ด้านการจัดการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว มีศักยภาพระดับปานกลาง ดังนั้นแนวทางการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่จึงต้องเริ่มจาก การพัฒนาด้านการตลาด เป็นลำดับแรก โดยให้ความสำคัญในการสำรวจ หรือวิจัย หรือหาข้อมูลการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้มากขึ้น รวมถึงการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวในเชิงกิจกรรมการตลาดกับภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือประเด็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนซึ่งมีเอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ที่น่าดึงดูดใจ รวมถึงการทำกิจกรรมเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่จะเข้ามาดูแล ลูกค้า ทั้งการบริการข้อมูล ความรู้ด้านเกษตร การบริการสินค้าและห้องพัก รวมถึงการรับส่งลูกค้า สุดท้ายคือการ เพิ่มศักยภาพการให้บริการ โดยการสร้างความประทับใจในแหล่งท่องเที่ยวและการบริการ โดยเฉพาะไฮไลฟ์สำคัญของแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่เป็นจุดเด่น อาหาร การบริการห้องพัก จนลูกค้ารู้สึกถึง ความประทับใจและอยากหวนกลับมาอีกครั้ง พร้อมแนะนำให้คนอื่น ๆ รู้จักเพิ่มขึ้น และหากมีจำนวนลูกค้ามากขึ้น ทางกลุ่มควรเพิ่มศักยภาพด้านการรองรับลูกค้าให้มากขึ้น เช่น อาหาร ห้องพัก นอกเหนือจากเพียงพอต้องสะอาด และปลอดภัย การจอดรถ ห้องน้ำรวม หรือแม้แต่การซ่อมแซมบำรุงรักษาให้มีความต่อเนื่องไม่ขัดข้อง อาจจะต้องทำการวางแผนตลอดทั้งปี ให้เป็นไปตามฤดูของสินค้าเกษตรที่จะออกผลผลิตตมฤดูกาล เป็นต้น
Description: The research aims to study and find ways to develop the potential of the agricultural sector of Chiang Mai Province to ASEAN tourism. The qualitative method used to analysis the community context, for 3 example 1) Agro-tourism community, Huay Sai Subdistrict, Mae Rim District 2) Doi Pu Muen Agro-Tourism Community, Ban Luang Subdistrict, Mae Rim District and 3) Agro-Tourism Community, Mae Jo, Ban Din Subdistrict Ban Pao, Mae Taeng district SWOT analysis used to the factors that promote and not promote the potential of the group. Quantitative analysis to find ways to develop the group to ASEAN-level tourism through the Agro-Tourism Assessment Form according to the guidelines of the Sufficiency Economy in 5 Dimensions. Research found Potential of community agricultural tourism in Chiang Mai The average level of potential is very hight and found that the most potential areas are the service as well as the management sites, followed by the potential of supporting agricultural tourism sites as well as the attractiveness and the aspect that needs to be improved is the marketing management Therefore, the guidelines for the potential development must be started from marketing. It is the first priority by giving the survey or research or finding more market information on agricultural tourism. Including creating a travel network in the form of marketing activities with the parties involved in tourism in Chiang Mai Then publicized the activities or issues of the community's agro-tourism attraction which is unique or attracting identity including activities to increase the potential of tourism management Especially the management of human resources that will come to take care of customers both information services, agricultural knowledge, Products and room services. Including the delivery of customers. The last one is creating impressions in tourist attractions and services especially the high-priority lifestyles of major tourist attractions that are featured in food and room service.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1946
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)475.54 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)430.28 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)533.03 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่ 1)446.39 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่ 2)742.27 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่ 3)452.51 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่ 4)5.57 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่ 5)1.1 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter6(บทที่ 6)463.91 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)435.18 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.