Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1928
Title: ความสัมพันธ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์การปลูกชาเมี่ยง ในพื้นที่ หมู่บ้านพระบาทสี่รอย ตำบลสะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
Other Titles: The Relationship between Biodiversity and Indigenous Wisdom for Pa Meang, Tea Forest Conservation, Phra Buddhabart Si Roy village, Saluang Sub District, Mae Rim District, Chiang Mai Province
Authors: พิษณุภาคิณ, ไชยมงคล
Keywords: ความหลากหลายทางชีวภาพ
อนุรักษ์
ป่าเมี่ยง
Biodiversity
Conserve
Tea Forest
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์การปลูกชาเมี่ยง ดำเนินการระหว่างเดือน มกราคม 2561 ถึงธันวาคม 2651 ในพื้นที่ป่าเมี่ยง ในพื้นที่ หมู่บ้านพระบาทสี่รอย ตำบลสะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ในแปลงจำนวน 3 แหล่ง แหล่งน้ำนิ่ง 3 แหล่ง และลำน้ำไหล 2 แหล่ง พบไลเคน 20 วงศ์ (Family) 32 สกุล (Genus) จากตัวอย่างทั้งหมด 573 ตัวอย่าง โดยการเจริญของไลเคนส์ขึ้นอยู่กับต้นไม้ในป่าเมี่ยงและเส้นรอบวงของต้นไม้เป็นปัจจัยที่สำคัญ ค่าดัชนีความหลากหลาย ดัชนีความสม่ำเสมอ และดัชนีความชุกชุม ทั้ง 3 บริเวณ ซึ่งมีค่าที่แตกต่างกันเนื่องจากปัจจัย ความชื้นสัมพัทธ์, ปริมาณความเข้มแสง และความสูงจากระดับน้ำทะเล ส่วนแหล่งน้ำไหลพบเป็นลักษณะการกระจายตัวปากติที่บริเวณปลายลำน้ำมีดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพและความมากชนิดสูงกว่าจุดเก็บต้นน้ำในป่าทึบ ซึ่งพบชนิดไดอะตอมพื้นท้องน้ำที่สามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำที่มีสารอาหารต่ำคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนในจุดเก็บกลางน้ำและปลายน้ำพบชนิดไดอะตอมพื้นท้องน้ำที่มีความทนทานสูงและพบในน้ำที่มีสารอาหารสูง ในส่วนของแหล่งน้ำนิ่ง พบว่าดัชนีความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชสูงที่สุดในกลางฤดูฝน เดือนตุลาคม มีค่าเท่ากับ 2.78 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงดังกล่าวมีลักษณะทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของน้ำที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช พบแพลงก์ตอนพืช 5 ชนิดที่สามารถใช้เป็นดัชนีตัวบ่งชีคุณภาพน้ำได้ ได้แก่ Gyrozygma sp. มีความสัมพันธ์เชิงลบกับค่า DO, Pediastrum sp. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิน้ำDinobryon sertularia Ehrenberg มีความสัมพันธ์เชิงลบกับค่าความขุ่นของน้ำ Cylindrospermopsis sp. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์ม และ Trachelomonas volvocinopsis Swirenko มีสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ผลการเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำจัดอยู่ในระดับคุณภาพน้ำปานกลางถึงค่อนข้างดี และจัดอยู่ในคุณภาพน้ำปานกลางถึงค่อยข้างดีตามคุณภาพน้ำตามระดับสารอาหาร
Description: The study on the relationship between biodiversity and indigenous wisdom for Pa Meang, tea forest conservation, Phra Buddhabart Si Roy village, saluang sub district, Mae Rim District, Chiang Mai Province were carried out from January 2018 to December 2018. The 3 separated Tea forest areas were selected as the sampling plot including 3 reservoir and 2 streams. Thirty – two genera from Twenty families were found out of the total 573 samples. The lichen growth was depended on the type of host –tree and diameter of tree. The diversity indices, evenness and richness in 3 plots were difference due to the humidity, light intensity and altitude. The distributions of living organism in running water from this studied were common when compared with the other highland stream. The diversity of downstream was higher than upstream. The sensitive diatom species were dominated at the upstream whereas the tolerance species were dominating group at downstream. The highest diversity of standing water ecosystem were found at mid rainy season, October as 2.78. The season was an appropriate condition for phytoplankton growing such as physical and chemical properties. Five species of phytoplankton shown the strong relation to the water quality and could be used as bio-indicator. Gyrozygma sp. was positively related to the DO as well as Pediastrum sp. was related to air and water temperature. Dinobryon sertularia Ehrenberg was negative relationship with turbidity whereas Cylindrospermopsis sp. has positive relation with a bacteria and Trachelomonas volvocinopsis Swirenko had related to the ammonia nitrogen. The overall water quality was moderate to clean when compared to the standard water quality of Thailand and moderate to good when compared to the water trophic level.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1928
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)529.58 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)426.21 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)446.5 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่ 1)379.87 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่ 2)502.85 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่ 3)1.35 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่ 4)2.25 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่ 5)407.28 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)456.03 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.