กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1328
ชื่อเรื่อง: การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น : การพัฒนาหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับจัดกิจกรรมเสริมทักษะในโรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Integrating Local Wisdom : Local wisdom Curriculum development for Learning Skill on Free Time in Elementary school, Doi Lo District, Chiang-Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อินตุ่น, ศศิธร
Intun, Sasithorn
คำสำคัญ: หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น
กิจกรรมเสริมทักษะ
โรงเรียนประถมศึกษา
local wisdom Curriculum
Learning Skill on Free Time
Elementary school
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiangmai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับจัดกิจกรรมเสริมทักษะในโรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาหลักสูตรจากครู นักเรียน ผู้ปกครอง และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสัมภาษณ์ 2) ออกแบบและสร้างหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะศึกษานําร่องและระยะทดลองใช้หลักสูตร ระยะนําร่องนําหลักสูตรไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 โรงเรียนวัดหนองหลั้ว ตําบลยางคราม อําเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 47 คน ศึกษาความเหมาะสมการใช้หลักสูตรในสภาพจริง เครื่องมือที่ใช้คือหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับจัดกิจกรรมเสริมทักษะในโรงเรียนระดับประถมศึกษา และ 4) ประเมินผลและการปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 โรงเรียนได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้ตำบลเป็นหน่วยในการสุ่ม ใช้ระยะเวลาทดลอง 10 วันๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง ใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน และหลังการใช้หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับจัดกิจกรรมเสริมทักษะในโรงเรียนระดับประถมศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับจัดกิจกรรมเสริมทักษะในโรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = 0.41) มีความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ คำชี้แจงในการใช้หลักสูตร ความนำ วิสัยทัศน์ พันธกิจ หลักการ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ เนื้อหา เวลาเรียน แนวการจัดการเรียนการสอน สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และ 2) ผลการทดลองใชหลักสูตร พบวา นักเรียนมีความรูเกี่ยวกับภูมิปัญญาอาหารและขนมพื้นบ้าน ลงมือทำตามขั้นตอน สนุกสนานกับกิจกรรม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใชหลักสูตรสูงกวากอนใชหลักสูตรอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความพึงพอใจตอหลักสูตรอยูในระดับมาก
รายละเอียด: The purposes of this research were to: 1) develop local wisdom Curriculum for learning skill on free time in elementary school, Doi Lo district, Chiang-Mai province, and to study the effectiveness of a local curriculum. The research and development procedure were comprised of four steps : 1) study the fundamental data to develop a local curriculum by teachers, students, local wisdom and student’s guardian by interviewing. 2) design and construct the local curriculum. The research tools were semi-structured interview and curriculum outline 3) implement the curriculum into two periods : pilot study and curriculum experiment. In the pilot study, the curriculum was used with 47 grade 1-6 students at Ban Nong Ngao School, Yangkram sub-district, Doilo district to study the suitability of using the curriculum in a real situation. After that the curriculum was experimented with samples who were in grade 1-6 students at 4 schools, 4 sub-district, Doilo district,, Chiang Mai. The experiment took two hours daily for 10 days. Statistics used in data analyses were percentage, mean, S.D. and t-test for dependent samples. The results of this study have shown that :1) The quality of developed curriculum was highly suitable and having correspondence among curriculum component; consisted the following elements : rationale, introduction, vision, mission, morale, objectives, learners’ competencies, desired qualifications, curriculum structure, subject and learning standards, learning standards and indicators, course description, units, learning arrangement, contents, time, instruction guidelines, educational media and resources, and learning evaluation and measurement. 2) From the experimental used of the curriculum, it was found that students were highly interested in the subject and paid attention in learning. They could cook local food and sweet accordingly. They enjoyed learning the subject. The results of evaluation and curriculum improvement have shown that students’ learning achievement was higher after they were taught with the developed curriculum at a significance level of .05 Overall, satisfaction of students towards the curriculum was in the high level
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1328
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover127.17 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract423.9 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content .pdfContent527.4 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 1.pdfChapter1599.28 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 2.pdfChapter2922.73 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 3.pdfChapter3649.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 4.pdfChapter4791.01 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 5.pdfChapter5586.88 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography644.16 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix747.99 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix2.pdfAppendix2513.24 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น