กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1146
ชื่อเรื่อง: ผลของความหนาของแผ่นตะแกรงอัดเม็ดและความเร็วรอบของเพลาต้นกำลังที่มีผลต่อคุณภาพอาหารสัตว์อัดเม็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Pellet Die Thickness and Main Shaft Revolution on Pelleted Feed Quality
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นครินทร์, พริบไหว
ชูสิทธิ์, ชูชาติ
ถนัด, บุญชัย
ชุติวลัญชน์, เสมมหาศักดิ์
คำสำคัญ: เครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์
ดัชนีความคงทน
ความหนาแน่น อาหารสัตว์
เครื่องอัดเม็ด
อาหารสัตว์
อาหารสัตว์ -- การควบคุมคุณภาพ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: สำนักหอสมุด. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
แหล่งอ้างอิง: ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2560, หน้า 165-176
บทคัดย่อ: เครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์แบบแผ่นตะแกรงต้นแบบ สามารถผลิตอาหารสัตว์ที่มีค่าดัชนีความคงทนของเม็ดอาหาร (Pellet Durability Index) เฉลี่ย 85.05+4.98% มีความแข็ง (Pellet Strength) เฉลี่ย 31.41+5.96 N มีค่าความสว่าง (L*) 57.8+1.51 มีความหนาแน่นของอาหารอัดเม็ด (Bulk Density) เฉลี่ย 1,177.12+65.76 kg/m3 และมีอัตราการผลิตต่อชั่วโมง (Production Rate) 90-180 kg/hr ความเร็วรอบของเพลาต้นกำลังมีอิทธิพลต่อความคงทน ความแข็ง ความหนาแน่น และอัตราการผลิตอาหารอัดเม็ดต่อชั่วโมง (P<0.05) แต่ไม่มีอิทธิพลต่อความสว่างของอาหารอัดเม็ด ส่วนความหนาของแผ่นตะแกรงมีอิทธิพลต่อความคงทน ความแข็ง และอัตราการผลิตอาหารอัดเม็ดต่อชั่วโมง (P<0.05) แต่ไม่มีอิทธิพลต่อความสว่างและความหนาแน่นของอาหารอัดเม็ด ดังนั้น เครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์แบบแผ่นตะแกรงต้นแบบสามารถใช้ผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับคุณภาพของอาหารอัดเม็ดจากโรงงานอาหารสัตว์
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1146
ISBN: 9786167669519
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Article

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
มั่นคง-นครินทร์ พริบไหว.pdf396.31 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น