Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1130
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเรือนคำ, ธฤษ-
dc.contributor.authorReankham, Trid-
dc.contributor.authorพัชรธนโรจน์, ศศิณิส์ภา-
dc.contributor.authorPhatcharathanaroch, Sasinipa-
dc.contributor.authorสุวรรณศรี, พิมพ์ชนก-
dc.contributor.authorSuwannasri, Pimchanok-
dc.date.accessioned2018-08-30T08:17:08Z-
dc.date.available2018-08-30T08:17:08Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1130-
dc.description.abstractการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมและอนุรักษ์ผักพื้นบ้านในพื้นที่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ผักพื้นบ้านในพื้นที่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้การใช้ประโยชน์ผักพื้นบ้านและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการอนุรักษ์พืชผักพื้นบ้านให้ชุมชน โดยใช้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เพื่อรวบรวมผักพื้นบ้านร่วมกับ ชาวบ้านตำบลช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีจำนวนชาวบ้านเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 คน โดยทำการเก็บรวบรวมตัวอย่าง และสัมภาษณ์ตัวแทนชาวบ้าน จากแหล่งที่ชาวบ้านนำผักมาขาย ได้แก่ กาดนัดผักปลอดสาร ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบข้อมูลผักพื้นบ้านทั้งหมด 31 ชนิด จำแนกได้ 19 วงศ์ และพบว่าส่วนรากเป็นส่วนที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด รองลงมาคือใบ ดอก ลำต้น ผล น้ำมันหอมระเหย เหง้า เมล็ด ใบอ่อน เปลือกลำต้น ยอด หัว ก้าน ผิว เนื้อ ซัง ฝอย แกน เถา เกสร ยาง น้ำ กระพี้ ฝัก ตามลำดับ การรับประทานส่วนใหญ่นำมาปรุงสุก ด้วยการ แกง ต้ม นึ่ง ผัด คั่ว ยำ กินสด เช่น แกงแค แกงชะอม แกงมะรุม แกงผักปลัง แกงผักกูด ต้มบวบหอม ต้มจืดตำลึง ฟักทองนึ่ง ห่อนึ่งแค ผัดผักบุ้ง คั่วผักกูด คั่วผักโขม ยำบุก คาวตองสด ยอดมะกอกสดกับลาบหมู ผักแว่นสดกับน้ำพริก ขิง ข่า คะไคร้ ใส่ในน้ำพริกแกง ผักชีไทย ผักชีฝรั่ง ใส่ในแกงเกือบทุกอย่าง เป็นต้น ผักพื้นบ้านที่นำมาใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ปลูกเองในแหล่งที่อยู่อาศัยมากที่สุด เก็บจากรอบหมู่บ้าน ทุ่งนา ริมคลอง และป่าใกล้เคียง ตามลำดับ ส่วนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อรวบรวมข้อมูลผักพื้นบ้าน ในพื้นที่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผักพื้นบ้านในพื้นที่ ทำให้ได้ข้อมูลผักพื้นบ้าน ทั้งหมดจำนวน 31 ชนิด และได้นำระบบฐานข้อมูลไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์กับนักเรียน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีเพาะปลูกขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน บริหารและจัดการให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบฐานข้อมูลดังนี้ โปรแกรมภาษา PHP ในการเขียนโปรแกรม ใช้โปรแกรม MySQL ในการจัดการฐานข้อมูล และใช้โปรแกรม Dreamweaver ในการจัดทำเว็บไซต์ โดยระบบฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ผักพื้นบ้านในพื้นที่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดเก็บข้อมูลผักพื้นบ้านโดยมีรายละเอียด ดังนี้ ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ ชื่ออื่น ลักษณะ การใช้เป็นอาหาร ข้อมูลโภชนาการ คุณประโยชน์ และ วิธีปลูก เพื่อเป็นสารสนเทศความรู้ให้กับบุคคลอื่น ๆ ต่อไป ผู้วิจัยมีความคาดหวังว่าฐานข้อมูลที่ทำขึ้น สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ และใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศึกษา และบริเวณใกล้เคียงได้ ซึ่งจะไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการวางแผนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ได้รับทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.format.mediumApplication/pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherChiangmai Rajabhat Universityth_TH
dc.rightsChiangmai Rajabhat Universityth_TH
dc.titleการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมและอนุรักษ์ผักพื้นบ้านในพื้นที่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.typeResearchth_TH
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdfบทคัดย่อ425.82 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.23 MBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfบรรณานุกรม408.36 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfบทที่1420.14 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfบทที่2463.59 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfบทที่3915.04 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfบทที่41.03 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfบทที่5404.13 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfสารบัญ464.36 kBAdobe PDFView/Open
Cover.pdfปก386.47 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.