Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1112
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุรชาติ, พุทธิมา-
dc.contributor.authorSurachart, Putthima-
dc.date.accessioned2018-07-18T02:59:56Z-
dc.date.available2018-07-18T02:59:56Z-
dc.date.issued2018-01-15-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1112-
dc.descriptionการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะวิชาชีพที่ต้องการพัฒนาของครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3) เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้ง 4) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้วยการอบรมในด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะวิชาชีพของครูบรรณารักษ์ก่อนและหลังการอบรม และความพึงพอใจของครูบรรณารักษ์ที่มีต่อการอบรมการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีขั้นตอนและผลการวิจัย ดังนี้ 1) สมรรถนะวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้วิจัยทำการศึกษาสมรรถนะวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับครูบรรณารักษ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วทำการวิเคราะห์และร่างรายการสมรรถนะวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับครูบรรณารักษ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จากนั้นจึงจัดการสนทนากลุ่มระหว่างผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ด้านการศึกษา และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้สมรรถนะวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับครูบรรณารักษ์จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์สมรรถนะด้านการบริหารจัดการห้องสมุด สมรรถนะด้านการจัดการศึกษาและพัฒนาแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) สมรรถนะวิชาชีพที่ต้องการพัฒนาของครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของครูบรรณารักษ์และบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการและดูแลห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 127 โรงเรียน ได้รับกลับคืนมาและเป็นแบบสอบถามที่ใช้ได้จำนวน 92 ชุด คิดเป็นร้อยละ 72.44 ผลการวิจัยพบว่าครูบรรณารักษ์ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-39 ปี มีวุฒิการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรีซึ่งจบการศึกษาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสาขาวิชาภาษาไทยเป็นจำนวนเท่ากัน โดยมีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 0-5 ปี และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานตำแหน่งครูบรรณารักษ์/ ดูแลห้องสมุดตั้งแต่ 0-5 ปี เช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารโรงเรียนให้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลและปฏิบัติงานห้องสมุดนั้นไม่ได้จบการศึกษาทางด้านบรรณารักษศาสตร์/ สารสนเทศศาสตร์มาโดยตรง แต่เคยได้รับการอบรมหรือการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการห้องสมุด และครูบรรณารักษ์ต้องการพัฒนาสมรรถนะที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในระดับมาก (x̅ = 4.02) ซึ่งสมรรถนะในด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดการศึกษาและพัฒนาแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (x̅ = 4.13) รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการห้องสมุด (x̅ = 4.04) ด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (x̅ = 4.03) และ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (x̅ = 3.87) ตามลำดับ 3) การจัดทำคู่มือการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้วิจัยได้พัฒนาคู่มือการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์จากผลการสำรวจสมรรถนะวิชาชีพที่ต้องการพัฒนาของครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยได้จัดทำคู่มือ 4 เล่ม คือ คู่มือเรื่อง “การดำเนินงานห้องสมุดที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” คู่มือเรื่อง “การสร้างกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” คู่มือเรื่อง “การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” และคู่มือเรื่อง “เทคโนโลยีกับห้องสมุดที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” 4) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะวิชาชีพของครูบรรณารักษ์ของผู้เข้าร่วมอบรมทั้งก่อนและหลังการอบรม จากการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “สมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์กับการศึกษาที่เน้นศูนย์กลาง” ทั้ง 4 สาระการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าอบรมมีผลสัมฤทธิ์หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมทุกสาระการเรียนรู้ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่วางไว้ 5) ความพึงพอใจของครูบรรณารักษ์ที่มีต่อการอบรมการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ที่ส่งเสริมนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการในระดับมากที่สุด ซึ่งรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ การได้ร่วมกิจกรรมกลุ่มในการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้เป็นการสร้างเครือข่าย ในการทำงานต่อไปในอนาคต การได้ร่วมกิจกรรมกลุ่มในการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และได้รับแนวทางในการจัดการห้องสมุด และความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการสามารถนำไปใช้ได้จริง และผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อการอบรมทั้ง 4 สาระการเรียนรู้ในระดับมากที่สุดth_TH
dc.description.abstractThis research aims to 1) study the competency of librarian teachers who promote student-centered education, 2) study the professional competencies needed for librarian teachers who promote student-centered education, 3) develop the guidance for librarians who promote a student-centered education, and 4) study the results of professional development of librarian teachers who promote student-centered education specifically in areas of knowledge and understanding of professional skills, and satisfaction on the training. Data were collected by survey questionnaire, group discussions, and workshop during during January to June 2017. The findings are discussed below. 1) Four professional competencies needed for librarian teachers who promote student-centered education are library and information science, library management, learning management and development of learning support center, and information technology. 2) The survey done with teachers and educational personnel in 127 school libraries reveals that librarians were female aged between 30 and 39 years old. Most of them hold degrees in library and information science and Thai language, and have work experience between 0 and 5 years while experience as librarian teachers is between 0 and 5 years. However, it is found that some librarian teachers have no degree in library science or information studies but have been trained in library management. Regarding the statistics, librarian teachers need to develop competencies in accordance with student-centered policy at a high level (x̅ = 4.02). The highest point is the competency in learning management and development of learning support center (x̅ = 4.13), followed by competency in library management (x̅ = 4.04), library and information science (x̅ = 4.03), and information technology (x̅ = 3.87), respectively. 3) The professional guidance is developed for librarian teachers comprising four areas of competencies: student-centered library operations, creating a student-centered learning activity, student-centered learning management, and technology with a student-centered library. 4) From the workshop, the findings reveal that the participants have gained higher points during the post-training evaluation which is consistent with the hypothesis of this study. 5) In respect of satisfaction on the training, the findings reveal that participants had high satisfaction levels on four learning lessons. Specifically, this training have contributed to the participants most in three areas: network for future collaboration, exchange of experience, and knowledge and skills for professional practiceth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ งบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)th_TH
dc.format.mediumapplication/pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherChiang Mai Rajabhat Universityth_TH
dc.rights@CopyRightsมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectครูบรรณารักษ์th_TH
dc.subjectteacher-librarianth_TH
dc.subjectสมรรถนะth_TH
dc.subjectcompetencyth_TH
dc.subjectschool librarianth_TH
dc.titleการพัฒนาวิชาชีพครูบรรณารักษ์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางth_TH
dc.typeResearchth_TH
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)267.92 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)304.34 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)357.31 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)341.25 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)963.62 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)372.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)705 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)490.86 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)338.77 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)917.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.