Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/985
Title: การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนในผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา: กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Other Titles: The Knowledge Management to Develop Community Business Enterprise in Cotton Products, Case Study: The Hand Made Cotton Weaving Groups at Donluang Village, Tambon Maerang, Amphur Pasang, Lamphun Province.
Authors: ชุ่มอุ่น, ผศ.มานพ
Issue Date: 28-Jan-2561
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
Abstract: แผนงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจชุมชนอย่าง บูรณาการในด้านการผลิต การตลาด เงินทุน และการบริหารจัดการกลุ่ม และเพื่อศึกษาสภาพและ ศักยภาพการบริหารจัดการ กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวงแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย (1) ด้าน การพัฒนากระบวนการจัดการทางการตลาด พบว่า กลุ่มควรขยายตลาดไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยว สถานศึกษา โรงแรม และร้านอาหาร กำหนดจุดขายเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ตั้งราคาขายที่สัมพันธ์กับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์จัดทำสปอตโฆษณา ผ่านวิทยุชุมชน และการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ ควรเพิ่มพนักงานขายแสวงหาคำสั่งซื้อ และร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์สินค้า และใช้การตลาดทางตรงสร้างลูกค้าใหม่ๆ และรักษา ลูกค้าเดิม (2) ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต พบว่า การตั้งราคาขายและผลตอบแทน ส่วนใหญ่ ร้อยละของผลตอบแทนจากการขายส่ง จะต่ำกว่าร้อยละ 10 ถึง 7 รายการ จาก 12 รายการที่ผลิต และระหว่างร้อยละ 10.0-20.0 จำนวน 4 รายการ โดยมีเพียง 1 รายการผลิตเท่านั้น ที่ให้ผลตอบแทน มากกว่าร้อยละ 20.0 ส่วนปัญหาสำคัญที่เกิดจากการผลิต คือ ปัญหาการขาดผู้สืบทอดการทอผ้าฝ้าย ราคาวัตถุดิบสูง ขาดช่างฝีมือ ขาดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขาดเทคโนโลยี ที่จะใช้ในการ ผลิตและการออกแบบ (3) ด้านความต้องการทางการเงินและแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะใช้เงินทุนส่วนตัวในการผลิต แต่มีบางส่วนที่ใช้บริการจากสถาบันการเงิน ของรัฐ ส่วนปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นจากการใช้แหล่งเงินทุน คือ ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสูง และยังขาดความรู้ในการขอกู้ยืมเงิน โดยวัตถุประสงค์การขอสินเชื่อ ก็เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบและนำมาใช้จ่ายเป็นค่าจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการกู้ยืมจากสถาบันการเงินของรัฐ และมีความตอ้ งการที่จะกูยื้มเงินในระยะเวลาปานกลาง ระยะสั้น และระยะยาวในสัดสว่ นที่ใกลเ้ คียงกันและ (4) ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม พบว่า กลุ่มเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2525 โดยมีสมาชิก 10 คน จนเมื่อปี 2535 ได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มทอผ้าบ้านดอนหลวงขึ้น และได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้าน อุตสาหกรรมดีเด่นในปี 2542 ต่อมาในปี 2543 ได้ก่อสร้างศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เครือข่ายกลุ่มทอผ้า หัตถกรรมพื้นบ้าน โดยมีประธานกลุ่มทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลศูนย์เป็นหลัก และหากมีคำสั่งซื้อจากลูกค้า ประธานกลุ่มจะเป็นผู้แจกจ่ายงานให้กับสมาชิกตามความถนัดของแต่ละคน กลุ่มมีการจัดแบ่ง โครงสร้างองค์กรตามหน้าที่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายการผลิต และ ฝ่ายการตลาด แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มยังไม่มีการติดตามและควบคุมผล การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม มากนัก และการบริหารงานกลุ่มงานส่วนใหญ่จะมีประธานกลุ่มทำแต่เพียงผู้เดียว
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/985
Appears in Collections:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ผศ.มานพ ชุ่มอุ่น.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.