Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/936
Title: การประยุกต์การจับก้อนด้วยไฟฟ้าในการแยกกรดโฟลิกในผักพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Application of Electrocoagulation to the Isolation of Folic Acid in Local Vegetable in Chiang Mai Province.
Authors: รักกาญจนันท์, อ.ถาวร
Keywords: กรดโฟลิก
ผักพื้นบ้าน
การจับก้อนด้วยไฟฟ้า
Folic Acid
Electrocoagulation
Local vegetable
Issue Date: 28-Jan-2561
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
Abstract: ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการแยกกรดโฟลิกด้วยวิธีจับก้อนด้วยไฟฟ้าและหาปริมาณกรดโฟลิกในผักพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาพบว่ากรดโฟลิกละลายในตัวทำละลาย NaHCO3 0.02 M จะได้สารละลายสีเหลืองใส วัดค่า pH ได้เท่ากับ 8.19 และค่าการดูดกลืนคลื่นสูงสุด (λmax) ที่ 360 nm เมื่อผ่านการจับก้อนด้วยไฟฟ้าเป็นเวลา 60 นาทีใช้กระแส 2.02 A และ 31.3 V นำสารทั้งหมดไปกรอง และนำส่วนที่เป็นสารละลายไปวัดค่า λmax พบว่าจะได้ค่าระหว่าง 280-282 nm และเมื่อนำตะกอนที่ได้จากการจับก้อนด้วยไฟฟ้า และสารละลายที่ผ่านการกรอง นำไปละลายแล้วทดสอบด้วยวิธี TLC พบว่า ในส่วนของสารละลายจากตะกอนจะมีผลหรือจุดที่แยกตรงกับสารละลายกรดโฟลิก ดังนั้นเมือผ่านการจับก้อนด้วยไฟฟ้า กรดโฟลิกจะอยู่ในส่วนของตะกอน จากการศึกษาการจับกันด้วยไฟฟ้าในสารละลายที่สกัดได้จากผักตัวอย่าง 7 ชนิด ได้แก่ ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน ผักขี้หูด ผักเซียงดา ผักปลัง มะระหวาน และมะระขี้นกทำการจับก้อนด้วยไฟฟ้าเป็นเวลา 60 นาที ทำการกรอง จะได้น้ำหนักของตะกอนอยู่ระหว่าง2.24-8.78 กรัม ปริมาณกรดโฟลิกในสารละลายที่สกัดจากผักตัวอย่างโดยการจับก้อนด้วยไฟฟ้าในผักตัวอย่างได้ดังนี้ มะระขี้นก, ผักขี้หูด, ผักปลัง, ผักเซียงดา, ผักหวานบ้าน, ผักมะระหวาน และผักหวานป่า จะมีกรดโฟลิก 39.409, 27.871, 27.655, 18.253, 18.150, 17.407 และ 10.349 mg/100 g ผักตัวอย่าง ตามลำดับ
Description: The purpose of the research was to study appropriate conditions for the folic acid isolation by electrocoagulation and determination of the quantity of folic acid in local vegetable in Chiang Mai Province. The results of study was that folic acid dissolved in NaHCO3 0.02 M and had a clear yellow solution with pH 8.19, max 360 nm, electrocoagulation 60 minute, electric current 2.02 A and 31.3 V. After filtered, the solution had max between 280-282 nm. By TLC test, folic acid was found in the sediment. Determination of folic acid in sediment from electrocoagulation of 7 vegetables shows that Momordica charantia Linn, Raphanus sativus var Linn, Ceylon Spinach, Gymnema inodorum Decne, Sauropus androgynus, Sechium edule (Jacq) Swartz and Leptonycnia heteroclita Kurz has 39.409, 27.871, 27.655, 18.253, 18.150, 17.407 and 10.349 milligrams per 100 grams of sample respectively.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/936
Appears in Collections:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อ.ถาวร รักกาญจนันท์.pdf9.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.