กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/846
ชื่อเรื่อง: รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาสินค้าชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development Thai Leau Community Products, Doi Saket District, Chiang Mai
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิติบุตร, ผศ.วิไลลักษณ์
วันที่เผยแพร่: 23-มกร-2561
สำนักพิมพ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
บทคัดย่อ: โครงการวิจัย "การพัฒนาสินิค้าชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สูมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP)" มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ ประการแรกเป็นการศึกษาศักยภาพของสินค้าชุมชน ไทลื้อ ประการที่สองเป็นการศึกษาความต้องการในการพัฒนาสินค้าชมชนไทลื้อ และประการที่สามเพื่อศึกษาแนวทางยกระดับการพัฒนาสินค้าชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เพื่อให้ชาวไทลื้อมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง กลุ่มประชากรผู้ร่วมกระบวนการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่เจ้าของ สินค้าเเหนมหมู หมู่ที่ 4 บ้านลวงเหนือ, เจ้าของสินค้าเฮือนปอกระดาษสา หมู่ที่ 4 บ้านลวงเหนือ, เจ้าของสินค้าน้ำยาสมุนไพร หมูที่ 5 บ้านลวงเหนือ เจ้าของสินค้าทอผ้า หมู่ที่ 5 บ้านลวงเหนือ, เจ้าของสินค้าหัตถกรรมทอผ้าไทลื้อ หมู่ที่ 8 บ้านลวงไต้, เจ้าของสินค้าหัตถกรรมและสิ่งประดิษฐ์ หมู่ที่ 8 บ้านลวงไต้ และเจ้าของสินค้าแปรรูปอาหาร หมู่ที่ 8 บ้านลวงไต้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth) การวิเคราะห์ SWOT ของกลุ่ม (SWOT Analysis) รวมถึงการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าชุมชนไทลื้อ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถอธิบายผลการวิจัยดังนี้ บริบทและศักยภาพของสินค้าชุมชนของกลุ่มซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่แสดงถึงศักยภาพของกลุ่มสินค้าชุมชนทั้ง 7 สินค้าประกอบไปด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกคือ ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารองค์กรของกลุ่มรวมถึงข้อมูลด้านการผลิต และข้อมูลด้านการตลาดของกลุ่มสินค้าชุมชนส่วนที่สองเป็นข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหา และอุปสรรค (SWOT Analysis) ของกลุ่มและข้อมูลส่วนที่สามเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของกลุ่มในการเพิ่มระดับการพัฒนาของสินค้าให้สูงขึ้น ความต้องการของกลุ่มในการพัฒนาสินค้าชุมชนสู่มาตรฐานชุมชนและท้องถิ่น OTOP สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาได้ทั้งสิ้น 3 ด้าน คือ ด้านที่หนึ่ง เป็นการพัฒนาด้านคุณภาพการผลิตประกอบไปด้วยกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน การแปรรูปสินค้าชนิดใหม่ๆ การพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐานส่วนความต้องการด้านที่สองเป็นความต้องการด้านการตลาด อันประกอบไปด้วยการเพิ่มยอดขายสินค้า การหาช่องทางการตลาดสินค้าได้มากขึ้นและความต้องการด้านที่สามเป็นความต้องการพัฒนาด้านสินค้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) จะเป็นความต้องการที่จะวางแผนในการพัฒนาสินค้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และพัฒนารูปแบบสินค้าใหม่ๆ เพื่อนำไปขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) แนวทางในการพัฒนาตามความต้องการของกลุ่มบนพื้นฐานของศักยภาพของกลุ่มที่จะพัฒนาได้นั้นการวิจัยครั้งนี้นักวิจัยไม่ได้เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนในการพัฒนา แต่การพัฒนาของกลุ่มจะเกิดขึ้นเองจากการระดมความคิดของสมาชิกในการยกระดับการพัฒนา สิ่งที่นักวิจัยสามารถช่วยได้เป็นอย่างมากคือ การให้ความรู้ทางวิชาการ การให้แนวคิด แนวปฏิบัติ เพื่อให้กลุ่มรู้จักการคิดด้วยตนเอง รู้จักการระดมความคิดกันภายในกลุ่มและเครือข่ายของกลุ่มอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยังยืนจากการศึกษาสรุปได้ว่า แนวทางที่กลุ่มสินค้าชุมชนจะสามารถพัฒนาไปสู่สินค้าชุมชนและท้องถิ่น OTOP ควรจะมีแนวทางในการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งสิ้น 4 ลำดับขั้นคือ ขั้นแรก เมื่อกลุ่มได้พัฒนาการบริหารจัดการองค์กร จนสามารถจัดตั้งกลุ่มเป็นสินค้าชุมชนแล้ว กลุ่มต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ขั้นที่สอง กลุ่มการได้รับการพัฒนาด้านคุณภาพของสินค้า เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพในระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) ขั้นที่สาม กลุ่มควรได้รับการพัฒนาด้านการตลาดโดยกลุ่มสามารถจัดทำแผนการตลาดของกลุ่มในระยะยาวได้ ขั้นที่สี่ของการพัฒนา กลุ่มจะต้องสามารถพัฒนาการจัดทำแผนธุรกิจของกลุ่มในระยะยาวได้ ซึ่งแผนธุรกิจนี้เป็นการรวมเอาการพัฒนาทั้ง 3 ขั้นตอนแรก การพัฒนาสินค้าชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มาตรฐานชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ในปี 2550 สามารถยกระดับการพัฒนาสินค้าชุมชนได้ทั้งสิ้น 4 สินค้า คือ สินค้าเฮือนปอกระดาษสา, สินค้าผ่าทอไทลื้อ, สินค้าหัตถกรรมทอผ้าไทลื้อ และสินค้าหัตถกรรมและสิงประดิษฐ์ที่สามารถพัฒนาคุณภาพสินค้า พัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบใหม่ๆ การทอผ้าลายใหม่ๆ เพื่อทำแผนขอใบรับรองมาตาฐานผลิติภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สำหรับสินค้าเฮือนปอกระดาษสา ได้ทำการพัฒนาด้านการตลาดโดยการร่วมกันในการวางแผนโดยวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค การวิเคราะห์คู่แข่ง การวิเคราะห์ SWOT และการวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาด ทำให้ผู้ผลิตสินค้าชุมชนสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสมตามสภาพแวดล้อมและศักยภาพอันนำมาซึ่งกำไรจาการดำเนินงานต่อไป สำหรับข้อเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี้นักวิจัยเป็นว่าการส่งเสริมและพัฒนาด้านคุณภาพของสินค้าที่ดีของสินค้าชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้สินค้าสามารถพัฒนาไปสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ได้ และควรจะเชื่อมโยงกับชุมชนไทยลื้อในภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นจังหวัดพะเยา เชียงราย รวมถึงจังหวัดน่าน จะเป็นการพัฒนาแนวทางหนึ่งที่จะพัฒนาการวิจัยในระยะต่อไป
รายละเอียด: Development Thai Leau community products, Doi Saket District, Chiang Mai to reach the standard of local products (OTOP) has three main objectives; 1) to study the potential of Thai Leau products; 2) to study the needs of develop Thai Leau products; 3) to study the way to raise the development of Thai Leau products to reach the standard of local products (OTOP). Participatory action research is conducted so that Thai Leau people can join and develop themselves. The population consist of preservative pork product, Moo 4, Luangneau village, herbal liquid products, Moo 5, Luangneau village, weaving clothes Moo 5, Luangneau village, Thai Leau handicraft products Moo 8, handicraft and artifacts products and processed food from Moo 8, Luanneau village. The research instruments are focus group, in depth interview and SWOT analysis. The result of the researvh divided into three phases. The first phase consist of 3 parts; 1) the potential of groups is management, production and marketing; 2) SWOT analysis of the groups and 3) problems and group's need to increase the level of development. The result from the 1st phase leads to the development of the 2nd phase The way to develop groups consist of 1) to develop the production's quality such as to process products, to develop the products' marketing such as to increase sales amount, to enlarge channel of distribution; 3) to develop product to reach the standard of OTOP. This leads to the 3rd phase of the research. The way to develop the potential of groups come from the brain storming of groups. The researcher can educate and train them so that they can think and rely on themselves . The study found that there are 4 steps to develop local products to reach the standard of OTOP; 1) groups must have a good management. They have to divide the roles and duties of the members base on their abilities; 2) to develop the products’ quality to reach the standard of community products; 3) to develop marketing by writing marketing plan such as consumer behaviour analysis, competition analysis, market segmentation analysis, SWOT analysis; 4) groups have to do business plan in the long run. Four kinds of products can be developed. They are mulberry paper house products, Thai Leau weaving clothes, Thai Leau weaving cloth handicrafts and artifacts products. The suggestion from researcher is that it should link the connection with all of Thai Leau in the north to develop products.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/846
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ผศ.วิไลลักษณ์ กิติบุตร_1.pdf40.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น