Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/759
Title: การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน บนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The Knowledge Management for Developing Community Business Based-on Concept of Sufficiency Economy of Ban-Dokdang Sewing group, Sa-ngaban Sub-District, Doi Saked, Chiangmai.
Authors: นิลวรรณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชวิทย์
Nilwan, Asst. Prof. Dejawit
บุญมี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธวัชชัย
Boonmee, Asst. Prof. Tawatchai
ธาราพิทักษ์วงค์, อาจารย์ศุภฤกษ์
Tharapitakwong, Ajarn Suparuek
อ้วนสอาด, อาจารย์สุวลักษณ์
Auansa, Ajarn Suwaluck
สุวรรณอาษณ์, อาจารย์พุทธมนต์
Suwunna, Ajarn Puutamon
บุญมาประเสริฐ, อาจารย์เติมพันธ์
Boonmaprasert., Ajarn Termpun
Keywords: การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน บนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การศึกษาการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน บนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ รูปแบบ และศักยภาพของกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ใช้การจัดการความรู้เป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจชุมชน และพัฒนารูปแบบการบริหารงานเชิงธุรกิจให้แก่กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ซึ่งแผนงานการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การบริหารจัดการกลุ่ม การตลาด การผลิต การเงินบัญชี และการสื่อสารการตลาด โดยมีการดำเนินการจัดเวทีชาวบ้าน สัมภาษณ์ ประชุมกลุ่มย่อย การให้ความรู้ในลักษณะต่าง ๆ การเขียนผังความคิด การสำรวจผู้บริโภค กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และการใช้แบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณมาวิเคราะห์และประมวลผล สำหรับข้อมูลที่เป็นเชิงคุณภาพ นำมาวิเคราะห์และเขียนบรรยายให้เห็นความเชื่อมโยงของประเด็นต่าง ๆ สามารถสรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้สภาพปัญหาของกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ในด้านของการบริหารจัดการกลุ่ม พบปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงาน หน้าที่งาน และความรู้เข้าใจในการบริหารงานเชิงธุรกิจยังไม่ชัดเจน ด้านการตลาดพบปัญหาเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจัดจำหน่าย ที่ยังไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ด้านการผลิตพบปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการผลิต แรงงาน วัตถุดิบ อุปกรณ์การทำงาน กระบวนการผลิต สถานที่ การขนส่ง และคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ ด้านการเงินบัญชีพบปัญหาเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนและกระบวนการในการลงบันทึกรายการทางการเงินยังจัดทำได้ไม่ควบถ้วน และการสื่อสารการตลาดยังไม่มีการดำเนินการ โดยทางกลุ่มมีความต้องการความรู้และการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมในเรื่องที่เป็นปัญหาทั้ง 4 ด้าน ในส่วนของรูปแบบการดำเนินงานของกลุ่ม กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดงมีโครงสร้างการบริหารตามหน้าที่ มีการบริหารในลักษณะแบบเป็นกันเอง มีการผลิตตามคำสั่งซื้อจากพอค้าคนกลาง การผลิตใช้เทคนิคการตัดเย็บแบบพื้นฐาน อย่างไรก็ตามกลุ่มมีศักยภาพในเรื่องของความสามัคคี มีความตั้งใจในการพัฒนา มีพื้นฐานความรู้ในการตัดเย็บที่ดี และมีช่องทางการตลาดของตนเองการพัฒนากลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ทีมวิจัยได้แบ่งการพัฒนาโดยการจัดการความรู้ ออกเป็น 5 ด้าน เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจ โดยในด้านของการบริหารจัดการกลุ่มมีการพัฒนาด้านโครงสร้างการบริหารที่มีความชัดเจน มีคำบรรยายลักษณะงาน มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ด้านการตลาดมีการพัฒนาความรู้ในการวางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การกำหนด STP และการวางกลยุทธ์ทางตลาดที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย จนสามารถพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายได้เพิ่มมากขึ้น ด้านการผลิตมีการพัฒนาการจัดการผลิตในเชิงระบบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลิตภัณฑ์มากขึ้น เกิดการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้หลากหลาย ด้านการเงินบัญชีมีการพัฒนาสมุดบัญชีและระบบบัญชีที่สามารถตรวจสอบได้ และด้านการสื่อสารการตลาดมีการพัฒนาสื่อทางการตลาดที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่น การบรรจุหีบห่อ แผ่นพับ นามบัตร ฉลากผลิตภัณฑ์ วีดิทัศน์ สมุดรายการสินค้า และป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ จากการพัฒนาทำให้กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดงมีรูปแบบในการดำเนินงานเชิงธุรกิจ ครบทุกหน้าที่ทางด้านธุรกิจ ได้แก่ การบริหารจัดการ การตลาด การผลิต และการเงินบัญชี ทำให้กลุ่มมีการบริหารงานด้วยหลักเหตุผล มีความรอบรู้ทางการตลาด มีความรอบคอบในการผลิต และเกิดความระมัดระวังในการใช้จ่ายเงิน จนกลุ่มสามารถจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดงได้เป็นผลสำเร็จ แสดงถึงศักยภาพและความสามารถของชุมชน ในการพัฒนาการดำเนินงานธุรกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีสำหรับธุรกิจชุมชน บนหลักความพอประมาณ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Description: The purpose of this research titled “Knowledge Management for Developing Community Business Based-on Concept of Sufficiency Economy of Ban Dok Dang Sewing Group, Sa-ngaban Sub-District, Doi Saket, Chiangmai” was to study the problems needs, patterns and potentials of Ban Dok Dang Sewing Group by using the knowledge management to develop the community business and the pattern of business management for Ban Dok Dang Sewing Group. This study was a participatory action research which consisted of group management, marketing, production, finance & accounting and marketing communication. The data were collected through villagers’ forums, interviews, small-group discussion, giving various types of lessons, writing mind mapping, consumer surveys, group activities and questionnaires. The quantitative data were analyzed and processed. The qualitative data were analyzed and described in order to show the relationships of each matter. The findings could be summarized as follows: According to the group management, it was found that the structure of management, job descriptions and knowledge about business management were not clear. Related to the marketing, it showed that products, prices and channels of distribution did not meet the target groups. Regarding the production, it revealed the problems about production effectiveness, labors, raw materials, equipments, production process, manufacturing sites, transportation and quality of products. Concerning finance & accounting, it showed the problems of fund allocation, process of recording financial transaction which was not complete. Related to marketing communication, nothing has been implemented. The group needed more skills and knowledge concerning the 4 aspects of the mentioned problems. Regarding the features of group performance, the group worked based on the structure of functional management in a friendly manner. They produced goods according the middle-men’s orders by using basic sewing techniques. However, they had potentials in terms of unity, needs to be developed, having good basic of sewing as well as their own marketing channels. Regarding the development of Ban Dok Dang Sewing Group, the researcher team developed the group through knowledge management divided in 5 aspects in order to improve the pattern of business management. In terms of the management, the team has developed a clear management structure, job descriptions, a better understanding of the techniques of participatory management. According to the marketing development, the knowledge of marketing planning was improved systematically starting from the environment analysis, STP determination, marketing strategy focusing on target groups and an increase of distribution channels. Regarding the production, the team has improved the production management system in terms of the relationship among input, process and products. Various product designs and new products have been developed. According to financial accounting, the accounting books have been improved. The accounting system could be audited. Related to the marketing communication, the marketing media have been developed in order to reach much more target groups, packaging, brochures, business cards, labels, videos, catalogs, advertising and public relation signs. According to the mentioned development, Ban Dok Dang Sewing Group has been developed in all business functions including management, marketing and financial accounting. The group has managed their business logically by using marketing knowledge. They have manufactured products more cautiously. Moreover, they have been more careful in spending money. Therefore, they have succeeded in establishing their own learning center. That showed their potentials as well as their capacity in developing community business to be sustainable. Besides, that has been a good defense for community business based on the principal of modesty concerning sufficiency economy philosophy.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/759
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)463.29 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)589.59 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)478.87 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)221.47 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)777.33 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)181.28 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)220.87 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)981.39 kBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)866.5 kBAdobe PDFView/Open
Chapter7.pdfChapter-7 (บทที่7)254.29 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)439.74 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)4.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.