กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/753
ชื่อเรื่อง: ความต้องการทางการเงินและแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา : กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Financial Demands and Funds to Support Community Enterprise in Cotton Products, Case Study : The Cotton Hands Weaving Groups at Donluang Village Tambon Maerang, Amphur Pasang, Lamphun Province.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เลิศพงศ์พิรุฬห์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิไล
Lertpongpiroon, Philai
คำสำคัญ: ความต้องการทางการเงินและแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ
กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: Chang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ความต้องการทางการเงินและแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา : กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เกิดจากปัญหาการขาดแคลนเงินทุนในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ ทำให้กลุ่มผู้ผลิตไม่สามารถขยายปริมาณการผลิตและก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาถึงความต้องการทางการเงิน และเพื่อศึกษาถึงแหล่งเงินทุนสำหรับใช้ในการดำเนินธุรกิจผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง รายงานวิจัยนี้จัดเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย และการออกแบบสอบถามถึงข้อมูลพื้นฐานของผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ การศึกษาถึงความต้องการทางการเงิน การศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ และการศึกษาถึงแหล่งเงินทุนที่ผู้ผลิตมีความต้องการ พร้อมกับเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ทางการเงินเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนที่ผู้ผลิตมีความต้องการ แล้วนำมาสรุปผลการศึกษาโดยใช้วิธีการบรรยายเชิงพรรณนา และการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการศึกษาถึงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง โดยใช้วิธีการออกแบบสอบถามผู้ผลิต จำนวน 37 คน พบว่า ผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 51-60 ปี มากที่สุด มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพหลัก คือ รับจ้างทั่วไป ซึ่งได้แก่ การรับจ้างทอผ้า ระดับรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มทอผ้าบ้านดอนหลวง โดยสินค้าที่ทำการผลิตมีทั้งผ้าทอเป็นผืน และสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าฝ้ายทอมือ ข้อมูลทางด้านการเงินและแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบัน ผู้ผลิตใช้เงินทุนส่วนตัวในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากแหล่งเงินทุน คือ การขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสูง และการขาดความรู้ในการขอกู้ยืมเงิน ผู้ผลิตมีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี สำหรับการจ่ายค่าจ้างแรงงานและค่าวัตถุดิบ โดยแหล่งเงินทุนที่ผู้ผลิตต้องการมากที่สุด คือ แหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินของรัฐบาล ผลการศึกษาเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ แหล่งเงินทุนที่ผู้ผลิตมีความต้องการมากที่สุด คือ หน่วยงานเงินทุนหมุนเวียนของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งในการให้วงเงินสินเชื่อแก่ผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี ซึ่งสมาชิกกลุ่มอาชีพสามารถค้ำประกันวงเงินได้ ซึ่งแหล่งเงินทุนของธนาคารออมสิน สาขาป่าซาง เป็นแหล่งในการให้สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.5 ต่อเดือน ซึ่งผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือค้ำประกันวงเงินกู้ได้ ส่วนแหล่งเงินทุนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดลำพูน เป็นแหล่งในการให้สินเชื่อ OTOP สำหรับผู้ผลิตสินค้า หรือผู้ประกอบการในชุมชนต่าง ๆ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยผู้ผลิตต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้ผลิตหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มาประกอบการขอวงเงิน ผลการวิจัยนี้ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย แต่ข้อจำกัดในการวิจัยเกิดจากการเก็บข้อมูลบางส่วนจากกลุ่มตัวอย่างที่มิใช่เจ้าของกิจการ แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการศึกษามาจากแหล่งเงินทุนจากรัฐบาลเป็นหลัก และข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป ควรเพิ่มกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของกิจการให้มากขึ้น ควรเพิ่มแหล่งเงินทุนในการให้สินเชื่อให้มากขึ้น และควรมีการติดตามความคืบหน้าในการขอวงเงินของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
รายละเอียด: The research of The Financial Demands and Funds to Support Community Enterprise in Cotton Products, Case Study: The Cotton Hands Weaving Groups at Donluang Village Tambon Maerang, Amphur Pasang, Lumphun Province is caused by the problem of lacking in working capital of the cotton hands weaving groups so they can’t expand theirs’ products and can develop theirs’ business sustainable. The purposes of this research are to study the financial demands and funds to support community enterprises in cotton hands weaving groups at Donluang village. This is a quality research by collecting sample groups and using questionnaires to get basic information from cotton hands weaving groups, to study financial demands, to study business problems and to study financial funds to support community enterprises in cotton products. This research also is the center to provide financial information to support community enterprises and the findings could be summarized by description and percentage methods. The findings of basic information of the cotton hands weaving groups at Don Luang Village by getting 37 questionnaires from community enterprises indicated that the cotton hands weaving enterprises were female whose ages were around 51-60 years old, graduated from primary level and their occupations were employed in cotton hands weaving products. Their average salaries were lower than 5,000 baht per month. Most of the cotton hands weaving enterprises were member of Don Luang cotton hands weaving groups. Their products included with cotton hands weaving wood and cotton products made from cotton wood. By that time the cotton hands weaving groups used theirs own funds to support their business. The group’s financial funds problems were lacking collateral to guarantee theirs loan, high interest rate in lending and lacking financial information to get their funds. The cotton hands weaving groups needed more 1 year working capital for labor cost paying and material expenditures. And the most favorable funds were from government financial institutions. The finding of financial funds to support community enterprise showed that the most favorable funds were the working capital sector from Chiangmai Northern Industrial Promotion. This fund could provide loans to cotton hands weaving groups for their group members’ guaranteed by charging 6% interest rate per year. The next fund was The Government Saving Bank, Pasang branch, which could provide loan in the project Bank’s People Loan to the enterprise who had fixed salaries personal guaranted by charging fixed interest rate 0.5% per month. And the last fund was The Small and Medium Enterprises Bank of Thailand, Lumphun Province, which could provide OTOP loan to producers or community enterprises in local communities by charging 7% interest rate per year for OTOP producers who had OTOP certificate. These findings answered the research objectives but the limitations were from getting some sample data from the cotton hands weaving groups who didn’t be the owners. The financial funds that were chosen only from government financial funds. The suggestions for next research are to getting more sample groups who are the owners, more financial funds to support loans to community enterprises and more follow-up for getting loans to the sampling research groups.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/753
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover (ปก)424.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)462.81 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent(สารบัญ)493.24 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)478.91 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)550.39 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)816.5 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)540.18 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)447.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)405.99 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น