Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/692
Title: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมสาขาเครื่องเงินของจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Applied an Edict of The King in Sufficiency Economy to Inherit the Local Knowledge in the Field of Handicrafts in Chiang Mai Province, the Department of Silver Ware
Authors: ฉัตรรุ่งเรือง, ดร. บังอร
Chatrungreung, Dr. Bungon
Keywords: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
เชียงใหม่
เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมสาขาเครื่องเงิน
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ศึกษาบริบทและศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมเครื่องเงินในจังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมเครื่องเงินในจังหวัดเชียงใหม่และเพื่อสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาเครื่องเงินของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นระดับชุมชน ระดับประเทศสู่สากลโดยได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 10 กลุ่ม จาก 4 อำเภอได้แก่ อำเภอหางดง อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง และอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ผลจากการวิจัยพบว่า (1)กลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองคิดเป็นร้อยละ 90 และอาศัยอยู่ในอำเภอสันกำแพงคิดเป็นร้อยละ 10 วัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่มาจากในท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่คิดเป็นร้อยละ 40 จากแหล่งผลิตภายนอกชุมชนคิดเป็นร้อยละ 20 และรับมาจากผู้ว่าจ้างคิดเป็นร้อยละ 10 ส่วนในด้านการจ้างแรงงานมาจากแรงงานภายในครอบครัวคิดเป็นร้อยละ 90 สมาชิกภายในชุมชนคิดเป็นร้อยละ 30 และผู้ประกอบการเองคิดเป็นร้อยละ10 ผู้ประกอบการใช้สถานที่ของกลุ่มเป็นสถานที่ปฏิบัติงานคิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาเป็นการใช้สถานที่บ้านคิดเป็นร้อยละ 30 และสถานที่ผู้ว่าจ้างคิดเป็นร้อยละ 20 รูปแบบของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมคิดเป็นร้อยละ70 ผู้ว่าจ้างออกแบบให้ผลิตโดยคิดเป็นร้อยละ 50 และในการออกแบบลวดลายเอง คิดเป็นร้อยละ 30 ผู้ประกอบการมีการประชาสัมพันธ์และช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านงานแสดงสินค้า คิดเป็นร้อยละ 80 การใช้ร้านค้าของตนเองคิดเป็นร้อยละ 40และผ่านทางตลาดนัดหรือถนนคนเดิน คิดเป็นร้อยละ 30 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 20 และใช้สื่อสิ่งพิมพ์ คิดเป็นร้อยละ 10 สำหรับการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ (SWOTAnalysis)ในการบริหารจัดการธุรกิจหัตถกรรมสาขาเครื่องเงินนั้น พบว่า จุดแข็งของผู้ประกอบการคือ ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านเครื่องเงินมาจากบรรพบุรุษ ด้านราคาผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับท้องตลาด อีกทั้งผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานทางภาครัฐ ส่วนปัญหาที่พบคือขาดบุคคลที่สืบทอดทางด้านการทำเครื่องเงิน ผู้ประกอบการบางรายขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านตราสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ ไม่มีการส่งเสริมการขายและการตลาด อีกทั้งไม่สามารถควบคุมราคาของเม็ดเงินได้ (2)วิเคราะห์ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการอบรมให้ความรู้ด้านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดีสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ท้องถิ่น สร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งต้านทานกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกที่มีอยู่ตลอดเวลา และสร้างค่านิยมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของไทย ส่งผลให้การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมเครื่องเงินของไทยยังคงอยู่สืบต่อไป (3)ด้านการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเผยแพร่ด้วยการจัดนิทรรศการโดยเชิญสล่า หรือพ่อครูแม่ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสาธิตให้ความรู้และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ยังให้ความรู้ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมสัมมนาจากการจัดโดยคณะผู้วิจัยหรือประสานกลุ่มตัวอย่างให้เข้าร่วมอบรมสัมมนากับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนมีการประสานกับศูนย์ส่งเสริมการส่งออก หอการค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการส่งออกเพื่อการจำหน่ายสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยให้ผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายเจรจาด้านการค้าโดยตรงรวมทั้งได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่นป้ายไวนิล สื่อสิ่งพิมพ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เพื่อเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจและเพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมเครื่องเงินในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศสู่สากล
Description: The purpose of this study aims to inherit local wisdom of Silver Ware by utilizing Qualitative Research Method together with Participatory Action Research Method, in which the research’s purposes aim to (1) study the context and potential of local wisdom of Silver Warein Chiang Mai province, (2) analyze the consistency of Self-Sufficiency Economy and local wisdom of Silver Ware in Chiang Mai province, and (3) inherit the local wisdom knowledge of Silver Ware in Chiang Mai province in order to publicize and broadcast in local level, communal level, and international level by performing research from sample groups in 4 districts as follows; Hang Dong District, San Sai district, San Kamphaeng district, and Mueang Chiang Mai district. From the research, it was found that (1) from 10 sample groups, 90 percent of the recipients reside in Muang district and 10 percent is in Sankampaeng district. Most of the materials and equipment’s used (40%) are from local Chiang Mai. 20 percent is from other communities and 10 percent is from employer. Regarding the labour, 90 percent of the labour is the family members. 30 percent is the members within the community and 10 percent is the business owner. A half of business owners use places of their group as the workplaces. 30 percent uses their own houses and 20 percent uses their own places. Product packaging is mostly in traditional styles (70%). 50 percent of the packaging is designed by the employers while 30 percent is the business owners’ designs. For the advertising and sales channels, 80 percent of the business owners advertise and sell through product exhibition. Some (40%) uses their own shops. One third (30%) uses markets or walking street. One fifth uses electronic media and 10 percent uses printed media. According to the analysis based on SWOT (SWOT analysis) in silverware business management, it was found that the strength of the business owner is inheriting the knowledge about silverware from their ancestors. The prices are suitable for the market and products are guaranteed by the government. The problems found for the business owner are lacking of successor, lacking of knowledge in logo or packaging, lacking of support in sales and marketing and no ability of controlling money value. (2) Analysis on concordance of sufficient economy theory and inheriting folk intellectFrom providing knowledge on sufficient economy theory to the sample groups, all sample groups can apply the theory to manage their business well. This creates the growth in locality and the community has the strength which can withstand against the global changes. Creating the social value in using Thai products and service affects in inheriting folk intellect and preserving Thai silverware handicraft. (3) In inheriting folk intellect, the publication is done by exhibition. Sa-La or skilled elder people are invited to teach and show their skills. Products are exhibited for sales. This increases income to the groups. The sample groups can also get knowledge by attending the seminar arranged by the researcher or the researcher can cooperate with the government and individual organization in arranging seminar. The sample groups can apply the knowledge gained in their business properly. There is cooperation with the export center, chamber of commerce and related organization’s in order to export products overseas and let the business owners have the opportunity in bartering and trading directly. There is also organizing advertising media such as vinyl board, printed media and electronic media which can be information databases for anyone who is interested. This is also for inheriting folk intellect and silverware handicraft to locality, country and international level.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/692
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)456.66 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)435.82 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)643.1 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)468.06 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)935.74 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)789.85 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)518.2 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)1.65 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)647.83 kBAdobe PDFView/Open
Chapter7.pdfChapter-7 (บทที่7)471.58 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)477.78 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)778.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.