Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/562
Title: การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ประกอบการงานหัตถกรรม 10 สาขา ของภาคเหนือตอนบนสู่การค้าชายแดนไทย – จีนตอนใต้
Other Titles: The Development of The Entrepuners of Thai Upper Northern 10 Lines of Handicraft to Thai - South China Boarder Trade
Authors: โสมดี, อัญชลี
Keywords: กลุ่มผู้ประกอบการงานหัตถกรรม 10 สาขา ของภาคเหนือตอนบน
การค้าชายแดนไทย – จีนตอนใต้
Issue Date: 2556
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ประกอบการงานหัตถกรรม 10 สาขาของภาคเหนือตอนบนสู่การค้าชายแดนไทย – จีนตอนใต้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการส่งออก ได้แก่ การบริหารจัดการ แหล่งวัตถุดิบ การผลิต แรงงาน การขนส่ง และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ของผู้ประกอบการงานหัตถกรรมช่าง 10 สาขาในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับการส่งออกสู่การค้าชายแดนไทย – จีนตอนใต้ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และผลกระทบในด้านการส่งออกของผู้ประกอบการงานหัตถกรรมช่าง 10 สาขาในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับการส่งออกสู่การค้าชายแดนไทย – จีนตอนใต้ และเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการส่งออกของผู้ประกอบการงานหัตถกรรมช่าง 10 สาขาของภาคเหนือตอนบนไปสู่ตลาดการค้าชายแดน ไทย – จีนตอนใต้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ประกอบการที่ทำการค้ากับประเทศจีน การลงพื้นที่จริง ของคณะผู้วิจัย และข้อมูลทุติยภูมิ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารในด้านการค้า การบริการ กฎ ระเบียบและข้อมูลทางสถิติ ตลอดจนนโยบายของรัฐในด้านการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการงานช่างหัตถกรรม 10 สาขาของภาคเหนือตอนบน มีทั้งรายเดี่ยวและรายกลุ่ม มีโครงสร้างองค์กรในแนวดิ่ง ส่วนเงินที่ใช้ในการลงทุนมาจากเงินทุนส่วนตัว การจัดการ ด้านการตลาดของหน่วยประกอบการ คือ ผู้กำหนดราคาและเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากความต้องการของลูกค้า การจัดการด้านช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ พ่อค้าคนกลาง งานแสดงสินค้า ตลาดนัด ถนนคนเดินฯ ร้านค้าท้องถิ่น ซึ่งลักษณะการขาย ได้แก่ ขายส่ง ขายปลีก ขายส่งและปลีก หรือรับจ้างผลิต การชำระเงิน ได้แก่ เงินสด ขายฝาก เครดิต การจัดการด้านการส่งเสริมการขาย แบ่งเป็น การรักษาลูกค้าเก่า การแสวงหาลูกค้าใหม่ด้วยวิธีการต่าง ๆ การนำสินค้าไปเสนอขายโดยตรงกับกลุ่มผู้บริโภค การจัดการด้านการผลิตของหน่วยประกอบการงานหัตถกรรม ผู้ประกอบการใช้พื้นที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นสถานที่ผลิตสินค้า ด้านแรงงาน และวัตถุดิบ ผู้ประกอบการจ้างแรงงาน และซื้อวัตถุดิบส่วนใหญ่จากภายในท้องถิ่น และจ้างแรงงานและซื้อวัตถุดิบจากภายนอกท้องถิ่น การจัดการสินค้าคงคลัง ผู้ประกอบการมีการผลิตเพื่อจำหน่ายและเพื่อรองรับการจำหน่ายจากยอดขายล่วงหน้า สำหรับปัญหา อุปสรรค และผลกระทบในด้านการส่งออกของผู้ประกอบการ งานหัตถกรรมช่าง 10 สาขาในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับการส่งออกสู่การค้าชายแดนไทย- จีนตอนใต้ได้แก่ ปัญหาด้านการค้าของไทย ปัญหาด้านนโยบายการค้า และปัญหาด้านการคมนาคมขนส่ง ผู้ประกอบไทยควรปรับตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการส่งออก โดยต้องเรียนรู้ว่าอาเซียนและการร่วมกันเป็นประชาคมอาเซียน ในปีพ.ศ. 2558 คืออะไร จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้อย่างไร ความต้องการของตลาดอาเซียน และพัฒนาสินค้าให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศและเรียนรู้คู่แข่งขันรายใหม่ในเชิงลึกมาก ควรใช้ประโยชน์จากภาษีนำเข้าร้อยละศูนย์และผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับรสนิยมและความต้องการของตลาด
Description: This Study aims to 1) study the export potential; included management, material source, production, labor force, transportation and product design, and etc., of the 10 fields handicraft Entrepreneurs to support the exportation to cross-border, 2) study problems, obstacles, and effects related to the Thailand-southern China cross-border exportations, and 3) develop the target entrepreneur's export potential. This research is a descriptive research, which all data were collected by having field trip, reviewing literature, studying government policy on Thailand-China Trade Issue, and interviewing related people; government officers, and experienced entrepreneurs. This research found that, there were both individual and group entrepreneurs in these 10 field handicraft markets. The businesses were organized vertically, they used their own capital, were price maker. There were a multi-channel marketing for both whole and retail sale such as medium men, exhibition, and so on. They used cash payment. The customer retention was used as a sales support for the business. Producers used their own house as a producing place. They hired local labors and used local raw materials. They used inventory management as a production management for both day sale and pre-order. The problems, obstacles and effects, which related to the Thailand-southern China cross-border exportations were found in the trading operations, policies and transportations. For suggestion, Thai entrepreneurs still need to change and develop their potential in exportation and so forth.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/562
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover662.64 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract488.41 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent674.49 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1604.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter21.51 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3642.3 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4615.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5528.43 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography535.89 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix4.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.